พลังเมกะเทรนด์ ‘พลังงานสะอาด’ วัฏจักร S-curve เติบโตอีกหลายทศวรรษ

พลังเมกะเทรนด์ ‘พลังงานสะอาด’ วัฏจักร S-curve เติบโตอีกหลายทศวรรษ

ปัญหาโลกร้อนกำลังคุกคามการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วโลกหนักหน่วงขึ้นทุกวัน สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงรุนแรงไปจากสภาวะปกติตามฤดูกาล หรือที่เรียกกันว่า ‘Climate Change’ ส่งผลกระทบเห็นได้ชัดเจนขึ้นทุกปี

นายตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO และผู้ร่วมก่อตั้ง  บลจ. จิตตะ เวลธ์ (Jitta Wealth) เปิดเผยว่า   ล่าสุด Greenpeace ได้ทำการศึกษา 7 เมืองใหญ่ในเอเชีย พบว่า ภาวะโลกรวนจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่กรุงเทพฯ ที่อยู่ในระดับต่ำกว่าทะเล มีความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำทะเลหนุนและน้ำท่วม ซึ่งสร้างความเสียหายต่อประชาชนและเศรษฐกิจสูงกว่า 512,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และมีการมองอนาคตว่า ไทยจะเหลือเพียงฤดูร้อนและฤดูฝน


แม้แต่ญี่ปุ่นก็เกิดภาวะโลกรวน นักท่องเที่ยวผิดหวังกับการเดินทางหวังไปเที่ยวชมซากุระบานในฤดูร้อน เพราะดอกซากุระบานเร็วกว่าช่วงเวลาปกติของฤดูกาล บางเมืองก็บานเร็วเกินไป บางเมืองก็บานช้า ทำให้คาดการณ์ได้ยากขึ้น หรือแม้แต่ประเทศทางตะวันตกก็มีการคาดการณ์จะเกิดฤดูร้อนยาวถึง 6 เดือน

พลังเมกะเทรนด์ ‘พลังงานสะอาด’ วัฏจักร S-curve เติบโตอีกหลายทศวรรษ
 

Climate Change

เป็นผลที่เกิดจากการใช้พลังงานฟอสซิลมายาวนานหลายศตวรรษ ไม่ว่าจะเป็นถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ สั่งสมจะเกิดมลภาวะเป็นพิษ สิ่งแวดล้อมในทุกมุมโลกถูกทำลาย เมื่ออุณหภูมิโลกสูงขึ้น ทำให้เกิดความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ และยังก่อให้เกิดภัยธรรมชาติภัยพิบัติต่างๆ ที่รุนแรงมากขึ้นทุกปี และนี่คือความสำคัญของเมกะเทรนด์ ‘พลังงานสะอาด’

ทางออกลดโลกร้อน สู่เมกะเทรนด์ ‘พลังงานสะอาด’
ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลแต่ละประเทศหันมาให้ความสำคัญต่อการแก้ปัญหา Climate Change กันมากขึ้น โดยหันมาสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) หรือพลังงานทดแทน ถือเป็นกุญแจสำคัญ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมของโลกให้เติบโตอย่างยั่งยืนได้

นายตราวุทธิ์ กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้นำทั่วโลกให้ความสำคัญกับการประชุม COP26 (The 26th UN Climate Change Conference of the Parties) ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร  ที่ปิดฉากไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยผู้นำจาก 200 ประเทศได้บรรลุข้อตกลงในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกรวน และผลักดันให้ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล โดยเฉพาะพลังงานถ่านหินที่สร้างมลพิษสูงมาก

ในการประชุม COP 26 มีตั้งเป้าหมายในการจำกัดอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส จากอุณหภูมิในช่วงก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม ภายในปี 2593 เพราะหากระดับอุณหภูมิของโลกเกินกว่าระดับนี้ จะเกิดภาวะโลกรวนจนไม่สามารถที่จะรับมือได้ จากสถานการณ์ปี 2563 ที่ผ่านมา หลายประเทศทั่วโลกก็เริ่มเผชิญกับภัยธรรมชาติที่รุนแรง ซึ่งเป็นผลจากที่อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นสูงระดับ 1.2 องศาเซลเซียส

นอกจากนี้ ได้มีการเสนอให้ทุกประเทศตั้งเป้าหมายระยะสั้นภายในปี 2573 สำหรับการลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้อย่างน้อย 45% เมื่อเทียบกับระดับในปี 2548 มากกว่าการมุ่งเน้นเป้าหมายระยะยาวที่ต้องการไปสู่ Net Zero ในปี 2593

อย่างไรก็ตาม องค์กร Climate Action Tracker (CAT) ประเมินว่า แม้ทุกประเทศจะดำเนินการตามเป้าหมายระยะสั้นในปี 2573 ได้  ระดับก๊าซเรือนกระจกในปีนั้นก็จะยังเพิ่มสูงขึ้นมากเป็น 2 เท่าจากระดับที่ต้องการ และจะทำให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นถึง 2.4 องศาเซลเซียสภายในปี 2643  ซึ่งสูงกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ที่ตั้งเป้าหมายไว้

ในขณะที่ Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) คาดว่า อุณหภูมิโลกจะเพิ่มถึง 1.5 องศาเซลเซียสภายในช่วงต้นทศวรรษ 2573 จะส่งผลต่อการละลายของธารน้ำแข็งและระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งจะกระทบโดยตรงต่อประเทศในที่ลุ่มต่ำและประเทศแถบชายฝั่งทะเล

ทั่วโลกจับตามองหลังการประชุม COP26 

แต่ละประเทศจะมุ่งมั่นดำเนินการไปสู่เป้าหมาย Net Zero มากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะจีนและสหรัฐฯ  ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด ซึ่งทั้งคู่ก็ได้ร่วมประกาศเจตนารมณ์ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายนแล้ว และมีความชัดเจนจัดทำเกณฑ์มาตรฐานและกระบวนการในการซื้อขายคาร์บอนระหว่างประเทศ  (Paris Agreement Rulebook) ของ UN และดำเนินมาตรการ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) ของสหภาพยุโรป ที่บังคับให้ผู้ส่งสินค้าไปยังสหภาพยุโรป จะต้องมีการจัดทำ Carbon Footprint และการจ่ายค่าธรรมเนียมคาร์บอน (Carbon Price) สำหรับอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จำนวนมากอย่าง เหล็ก ซีเมนต์ ปุ๋ย อลูมิเนียม และการผลิตพลังงานไฟฟ้า ซึ่งจะเริ่มบังคับใช้ในปี 2566 นี้

จากวิกฤตก๊าซเรือนกระจก นำมาสู่เป้าหมายลดการใช้พลังงานฟอสซิล ส่งผลให้บทบาทของ ‘พลังงานสะอาด’ กำลังก่อตัวใหญ่ขึ้นมาแทนที่ เนื่องจากไม่สร้างมลพิษกับธรรมชาติ และยังสามารถใช้หมุนเวียนได้อย่างไม่มีวันหมด ผู้คนเริ่มตระหนักและเห็นประโยชน์ของการใช้พลังงานสะอาดมากยิ่งขึ้น และยิ่งปัจจุบัน การพัฒนาเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย ทำให้มีต้นทุนถูกลง ผู้ใช้สามารถเข้าถึงราคาได้


เส้นทางการเติบโตของพลังงานสะอาด ที่อยู่ในวัฏจักร S-curve กำลังขยับขึ้นจากจุดเริ่มต้นเมื่อ 10 ปีก่อนที่มีการพัฒนาพลังงานสะอาด แต่ต้นทุนยังสูงอยู่ จึงทำให้เกิดยาก ถึงวันนี้ด้วยตัวแปรรอบด้าน ทำให้พลังงานสะอาดเข้าสู่ระยะที่ 2 ที่เป็นขาขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการผลักดันของรัฐบาลแต่ละประเทศ ซึ่งบางประเทศได้เริ่มปรับเปลี่ยนโครงสร้างพลังงานจากฟอสซิส ไปสู่การใช้พลังงานสะอาดในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น

ภาพรวมการเติบโตของอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในปี 2561 ทั่วโลกได้นำพลังงานสะอาดมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า 6,586 เทระวัตต์ จาก 5 ประเภทที่มาจากธรรมชาติ ได้แก่ น้ำ ลม แสงอาทิตย์ ชีวภาพ และใต้พิภพ 

ส่องการเคลื่อนไหวของประเทศต่างๆ ทุกมุมโลก

นายตราวุทธิ์  กล่าวว่า เราต้องยอมรับว่าจีนได้เดินหน้าเรื่อง ‘พลังงานสะอาด’ อย่างจริงจังมาก่อนใคร ปัจจุบันถือเป็นประเทศที่มีบทบาทในพลังงานสะอาดมากที่สุด  หลังจากที่ Xi Jinping ประธานาธิบดีจีนได้แสดงจุดยืนในการรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยเป้าหมายในการลดการปล่อยคาร์บอนกว่า 65% และทดแทนการใช้พลังงานปกติเป็นพลังงานสะอาด

จีนจึงได้จัดสรรงบประมาณสูงถึง 360,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเกี่ยวกับพลังงานสะอาดมาตั้งแต่ปี 2517 และมีเป้าหมายที่จะนำพาประเทศ ลดการใช้พลังงานฟอสซิล เพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดทั่วประเทศให้ได้ถึง 35% ภายในปี 2573

ด้วยจำนวนประชากรกว่า 1,400 ล้านคน และศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด ทำให้จีนกลายมาเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันจีนมีศักยภาพเพียงพอต่อการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดมากกว่าสหรัฐฯ ที่เป็นมหาอำนาจเบอร์ 1 เสียอี

โดยปัจจุบัน จีนครองสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมากที่สุดในโลก นับแค่ปี 2563 คิดเป็นสัดส่วน 49.22% จากกำลังผลิตรวม 173.3 กิกะวัตต์ทั่วโลก 

นอกจากนี้จีนยังพัฒนาโครงการพื้นที่อาคารสีเขียว เน้นสถาปัตยกรรมอนุรักษ์พลังงาน จึงเป็นเหตุผลที่ว่า พลังงานสะอาดกลายมาเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นเมกะเทรนด์ และทำให้จีนเป็นที่สนใจจากนักลงทุนทั่วโลก 

Joe Biden ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้นำประเทศกลับเข้าร่วมข้อตกลง Paris Agreement ภายใต้ United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC) เพื่อที่จะจัดการกับปัญหาก๊าซเรือนกระจกอีกครั้ง หลังจากที่อดีตประธานาธิบดี Donald Trump ได้ประกาศถอนตัวออกจากข้อตกลงนี้ 

นโยบายของ Joe Biden มีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด เพื่อใช้ทดแทนพลังงานฟอสซิล และมีเป้าหมายที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ภายในปี 2593 

ด้านสหภาพยุโรป มีแผนจะสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดผ่านกฎหมายต่างๆ อย่างจริงจังมากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน อย่าง เยอรมนีมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง และจะใช้พลังงานสะอาด เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า 100% ในปี 2593

แถบเอเชีย อย่างอินเดีย วางเป้าหมายใช้พลังงานสะอาด ให้มีสัดส่วนมากถึง 450 กิกะวัตต์ ภายในปี 2573 เพื่อครอบคลุมกับการใช้งานในหลายพื้นที่ของประเทศ ส่วนไทย อยู่ระหว่างร่างแผนพลังงานชาติ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เร่งขยายโครงการด้านพลังงานสะอาดให้มีสัดส่วนมากกว่า 50% ในปี 2573

เงินลงทุนไหลสู่ S-curve ของ ‘พลังงานสะอาด’

การเคลื่อนไหวของประเทศต่างๆ ทั่วทุกมุมโลก พาเหรดสู่ถนน ‘พลังงานสะอาด’ มีแผนเป้าหมายระยะสั้นจนถึงระยะยาว รวมทั้งรัฐบาลพร้อมใช้งบประมาณสนับสนุนความช่วยเหลือแก่ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้สัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดค่อยๆ ปรับสูงขึ้น แทนที่พลังงานฟอสซิลที่นอกจากสร้างมลพิษแล้วยังกำลังจะหมดลงไปอีกด้วย

ปี 64เงินไหลเข้าธุรกิจพลังงานสะอาด

โตมากกว่า 2 เท่าจากปีกอน

ขณะที่เงินลงทุนหลั่งไหลเข้าสู่ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยช่วงปี 2560-2561 มีเม็ดเงินลงทุนเพิ่มถึง 2 เท่า และอีก 2 ปีถัดมา (2562-2563) ก็เพิ่มอีกปีละ 1 เท่าตัว แม้แต่ BlackRock บริษัทจัดการสินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก บอกว่า ปี 2564 เม็ดเงินลงทุนไหลเข้าธุรกิจพลังงานสะอาดเติบโตมากกว่า 2 เท่าจากปีที่แล้ว

นักลงทุนทั่วโลก ล้วนมองเห็นภาพพลังงานสะอาดที่อยู่ในวัฏจักร S-curve ที่เป็นระยะที่สอง มีผู้เล่นรายใหม่ๆ สนใจเข้ามาและพร้อมแข่งขันทางธุรกิจ จะยิ่งทำให้ราคาถูกลง มีผู้ใช้จำนวนมากโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมการผลิต ประกอบกับภาครัฐให้ความช่วยเหลือธุรกิจเหล่านี้ไม่ว่าจะในรูปเงินสนับสนุน ลดหย่อนภาษี กฎหมายที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ จึงทำให้ผลประกอบการเริ่มมีกำไร เมื่อธุรกิจเติบโตเต็มตัวเป็นการก้าวเข้าสู่ระยะที่ 3 ของ S-curve นั่นคือ ธุรกิจมีกำไรเบ่งบาน จะส่งผลต่อผลตอบแทนที่ดีตามมาในอนาคต

หากคุณสนใจลงทุนในเมกะเทรนด์ ‘พลังงานสะอาด’ ที่ปัจจุบันยังมีโอกาสเติบโตสูงในอีกหลายทศวรรษ ไม่ได้เป็นความนิยมแค่ชั่วครั้งชั่วคราว แต่ยังกังวลว่า จะลงทุนหุ้นบริษัทในเมกะเทรนด์นี้ได้โดยตรงหรือไม่

ในหลายสิบบริษัท กระจายไปทุกหลายๆ กลุ่มอุตสาหกรรม เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พทางเลือกการลงทุนใน ETF (Exchange Traded Fund) จะทำให้คุณได้กระจายความเสี่ยงลังงานลม การบำบัดน้ำเสีย การกำจัดกากของเสีย อาคารประหยัดพลังงาน และยานยนต์ไฟฟ้า

จีนเป็นประเทศที่มีอัตราการใช้พลังงานสะอาดสูงที่สุดในโลก จึงเป็นโอกาสการลงทุนที่ดีผ่าน KraneShares MSCI China Clean Technology Index ETF (KGRN) เป็น Passive Fund ลงทุนตามดัชนี MSCI China IMI Environment 10/40 Index ผลตอบแทนรวมนับตั้งแต่จัดตั้ง (12 ตุลาคม 2560 - 31 ตุลาคม 2564) อยู่ที่ 111.03%

แต่ถ้าคุณอยากลงทุนในเมกะเทรนด์ ‘พลังงานสะอาด’ ไปทั่วโลก มีอีก ETF ที่น่าสนใจ คือ iShares Global Clean Energy ETF (ICLN) เป็น Passive Fund ลงทุนตามดัชนี S&P Global Clean Energy Index ผลตอบแทนรวมนับตั้งแต่จัดตั้ง (24 มิถุนายน 2551 -  31 ตุลาคม 2564) อยู่ที่ -34.37% แต่ผลตอบแทนรวมย้อนหลัง 10 ปี อยู่ที่ 227.32%

"ธีมธุรกิจ ‘พลังงานสะอาด’ จะเติบโตเป็น S-curve หรือเป็น Structural Trend ผลประกอบการของบริษัทยังไม่นิ่งในช่วงแรก แต่เมื่อบริษัทเหล่านี้ ขายสินค้าและบริการได้มากขึ้นทั่วโลก รายได้ กำไร และกระแสเงินสดเพิ่มขึ้น การเติบโตในระยะต่อไป จะมาแบบก้าวกระโดด"