"เลขา สมช." แนะปีหน้าจับตาท่าที "อาเซียน" ต่อสถานการณ์รุนเรงในเมียนมา

"เลขา สมช." แนะปีหน้าจับตาท่าที "อาเซียน"  ต่อสถานการณ์รุนเรงในเมียนมา

 เลขาฯ สมช. ระบุ ปีหน้าจับตาความเคลื่อนไหว "อาเซียน" ต่อสถานการณ์รุนแรงเมียนมา  ตั้งเป้าปี 70 ดับไฟใต้เป็นไปในทิศทางที่ดี

30 ธ.ค.2564 พลเอกสุพจน์ มาลานิยม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. กล่าวถึงการทำงานของสมช. ว่า งานของสมช. เป็นระบบการประชาสัมพันธ์ที่รับผิดชอบ เมื่อมารับผิดชอบเรื่องศบค. ซึ่งการประชุม ศปก.ศบค.จะมีการประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์ในวันจันทร์ พุธ และศุกร์ แต่วันอังคาร พฤหัสบดีและเสาร์อาทิตย์ จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันผ่านระบบออนไลน์

 นอกเหนือจากนั้น สมช.ยังคงทำงานปกติรับผิดชอบงานด้านความมั่นคงในทุกมิติ ภัยคุกคามสำคัญ สถานการณ์ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 

ส่วนในปีหน้าปัจจุบันยังต้องมีการจับตาความรุนแรงในประเทศเมียนมาที่ยังมีปัญหาอยู่ โดยในปีหน้าด้านความมั่นคงไม่มีอะไรต้องจับตาเป็นพิเศษ เพียงแต่ต้องจับตาความเคลื่อนไหวในภูมิภาคอาเซียน รวมไปถึงจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

ทั้งการพัฒนาและความชัดเจนในการใช้การเมืองนำการทหาร ซึ่งมียุทธศาสตร์ชาติเป็นตัวชี้วัดเป้าหมายประเมิน โดยในปี 2565 พยายามขับเคลื่อนให้การดำเนินการเป็นไปตามเป้าที่กำหนดไว้

ส่วนวางเป้าให้สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้หมดไปในปี 2570 จะเป็นไปได้หรือไม่นั้น พลเอกสุพจน์ ระบุว่า ปีที่ผ่านมาสถานการณ์ลดลงไปตามเป้า และปีนี้ในปีนี้ไตรมาสแรกสถานการณ์ก็ลดน้อยลง เหตุการณ์ความรุนแรงลดน้อยลงจำนวนมาก พร้อมกับติดตามการทำงานของศ.อบต.ที่ดูแลเรื่องการพัฒนา และกอ.รมน.ภาค 4 ที่ทำงานทั้งการป้องการการก่อเหตุร้ายและพัฒนา ก็มองว่าไปได้ดีในการขับเคลื่อน 

ส่วนการตั้งคณะผู้แทนพิเศษนั้น มีหน้าที่เข้าไปกำกับดูแลแทนรัฐบาล ในระดับนโยบายเข้าไปขับเคลื่อนในมิติของความมั่นคงและการพัฒนา โดยหากดูจากรายชื่อจะมีคุณสมบัติ มีความรู้ความสามารถที่จะลงไปช่วยรัฐบาล และมห้ข้อเสนอแนะให้คำแนะนำ ทั้งกอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ศ.อบต. และผู้แทนพูดคุย

พร้อมยืนยันว่าคณะพูดคุยมาลาปาตานีจะยังเดินหน้าต่อ แม้ว่าอาจเห็นภาพข่าวกลุ่มต่างๆพยายามออกมาแสดงความคิดเห็นคณะพูดคุยก็พยายามเจรจาทุกฝ่ายเพื่อให้นำไปสู่การแก้ไขปัญหาด้วยความเข้าใจ 

ทั้งนี้ทางการมาเลเซียยังคงให้ความร่วมมือและประสานมาอย่างต่อเนื่องในฐานะที่ปรึกษาพิเศษ ในการอำนวยความสะดวกในการเจรจา และขณะนี้เองก็ยังสามารถให้การขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่อง