เปิดแถลงการณ์คัดค้านปิดสถานีรถไฟกรุงเทพ "หัวลำโพง"

เปิดแถลงการณ์คัดค้านปิดสถานีรถไฟกรุงเทพ "หัวลำโพง"

สหภาพรถไฟ ออกแถลงการณ์คัดค้านการปิด สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือ "หัวลำโพง" ภายหลังจากที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า วันที่ 23 ธันวาคม 2564 นี้ รฟท.จะหยุดให้บริการเดินรถไฟเข้าหัวลำโพง

สหภาพรถไฟ ออกแถลงการณ์คัดค้านการปิด สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือ "หัวลำโพง" ที่เปิดให้บริการมาอย่างยาวนานกว่า 105 ปี ภายหลังจากที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า วันที่ 23 ธันวาคม 2564 นี้ รฟท.จะหยุดให้บริการเดินรถไฟเข้าหัวลำโพง จะให้บริการสถานีสุดท้ายที่สถานีกลางบางซื่อ ตามที่นำเสนอข่าวไปก่อนหน้านี้ 

 

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

- "สถานีรถไฟหัวลำโพง" แม้จะอาลัย แต่ยังไม่อำลา

- 23 ธันวา บอกลาหัวลำโพง รฟท.ทยอยโยกใช้“สถานีกลางบางซื่อ”

 

โดยแถลงการณ์คัดค้านการปิด สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือ "หัวลำโพง" โดยนายสราวุธ สราญวงศ์ รักษาการประธนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท ) ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง "ขอคัดค้านนโยบายการหยุดให้บริการรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) และหยุดขบวนการทำลายประวัติศาสตร์ของการรถไฟฯ" โดยมีเนื้อหาระบุว่า

 

กิจการรถไฟไทย หรือ "กรมรถไฟหลวง" ได้ก่อกำเนิดขึ้นนับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 "พระปิยมหาราช" ซึ่งเกิดขึ้นจากสายพระเนตรอันยาวไกลของพระองค์ท่าน โดยมีประกาศพระบรมราชโองการสร้างทางรถไฟสยามตั้งแต่ กรุงเทพฯ ถึงเมืองนครราชสีมาลงวันที่ 1 มีนาคม ร.ศ.109 ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช 2433 ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคมทางรถไฟ เพื่อให้เกิดความเจริญแก่บ้านเมืองเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นหน่วยงานเพียงหน่วยงานเดียว ที่พระองค์ท่านทรงเสด็จมากระทำพระฤกษ์ แซะดิน ตอกหมุด ตรึงรางรถไฟ ด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2434 ซึ่งทรงมีพระราชดำรัสว่า

 

"เรารู้สำนึกแน่อยู่ว่าธรรมดาความเจริญรุ่งเรืองของประชาชนย่อมอาศัยถนนหนทางไปมากันเป็นใหญ่เป็นสำคัญ ได้เร็วขึ้นเพียงใด ก็เป็นการขยายชุมชนให้ไพศาลยิ่งขึ้นเพียงนั้นเราจึงได้อุตส่าห์คิดจะทำทางรถไฟให้สมกำลังบ้านเมือง"

 

 

ต่อมาเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2439 พระองค์ทรงเสด็จมาในพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟปฐมฤกษ์จากสถานีกรุงเทพ ถึง สถานีอยุธยา คือการเดินรถไฟสายแรกเพื่อให้กิจการรถไฟฯจารึกไว้ในประวัติศาสตร์แผ่นดินสยาม เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการเป็นสัญลักษณ์แห่งการนำพาสยามสู่ยุคแห่งการพัฒนาประเทศ เพื่อสร้างความเจริญเท่าเทียมนานาอารยประเทศ อันนำมาซึ่งความภาคภูมิใจของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง ที่ทำให้ประเทศรอดพ้นจากการถูกยึดครองจากชาติมหาอำนาจตะวันตกในยุคล่าอาณานิคม

 

สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เริ่มก่อสร้างในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ.2453 ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดใช้บริการอย่างเป็นทางการโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯทรงกระทำพิธีกดปุ่มสัญญาณไฟฟ้าให้รถไฟขบวนแรกเดินเข้าสู่สถานีหัวลำโพง เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2459 สถานีหัวลำโพงจึงเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญยิ่งในการเดินทางของประชาชนด้วยขบวนรถไฟ เป็นสถานีจุดเริ่มต้นและปลายทางในการเดินทาง เป็นแลนด์มาร์คที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทยที่อยู่เคียงคู่กันโดยไม่สามารถแยกออกจากกันได้ และเป็นสัญลักษณ์แห่งพระอัจฉริยะภาพที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทาน "กิจการรถไฟหลวง" ให้กับพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าได้ใช้ประโยชน์อย่างถ้วนหน้า สร้างความเจริญและโอกาสให้กับประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน

 

ตามที่ปรากฎเป็นข่าวเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ได้เปิดเผยต่อสื่อมวลชนหลังจากเป็นประธานการประชุมติดตามนโยบายแนวทางการพัฒนาพื้นที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) และแนวทางการพัฒนาตลอดแนวเส้นทางรถไฟบางซื่อ - หัวลำโพง ด้วย Application "Zoom" ว่าหลังจากที่ได้มีการเปิดใช้งานสถานีกลางบางชื่อเต็มระบบเพื่อเป็นศูนย์กลาง

 

ประโยชน์ หารายได้ให้แก่การรถไฟฯได้ทั้งในกรุงเทพ และ ต่างจังหวัด คำถามคือ ทำไมไม่ทำ มีผู้มีอิทธิพลมากบารมีกี่รายที่หาประโยชน์เข้ากระเป๋าพวกพ้องของตนเอง และเห็นว่า การดำเนินการดังกล่าวอาจทำให้มีการทุจริตคอรัปชั่นตามมาได้

 

หรือว่า การปิดสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) จะเป็นขบวนการทำลายคุณค่าทางประวัติศาสตร์ การด้อยค่าความสำคัญโดยทำให้ภาพของการเป็นกิจการแห่งรถไฟสยามเลือนหายไป หากไม่มีขบวนรถไฟเข้ามาแล้วจะเรียกว่าเป็นสถานีรถไฟได้อย่างไรกันคงจะเหลือเพียงความเป็นหน่วยงานที่มีแต่หนี้สิน โดยที่ไม่กล่าวถึงเหตุผลที่มาของหนี้สินเหล่านั้น ว่ามาได้อย่างไร ใครต้องรับผิดชอบ??

 

พร้อมกับการยกเหตุผล (ข้ออ้างลอยๆ ขึ้นมาประกอบในการจะเอาที่ดินใจกลางเมืองจำนวน 120 ไร่ ที่ทรงมีพระบรมราชโองการพระราชทานไว้เพื่อใช้ในกิจการดำเนินธุรกิจอันเกี่ยวกับการขนส่งของการรถไฟฯ ไปยกให้นายทุนเอกชนเช่าเพื่อหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยไม่คำนึงถึงประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ความเจริญและความอยู่ดีกินดีของคนในชาติมามากกว่า 120 ปีซึ่งประเมินค่ามิได้ คนที่คิดทำลาย คิดดีแล้วหรือ มันสมควรแล้วหรือ

 

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟฯ ขอคัดค้านไม่เห็นด้วยกับนโยบายการหยุดให้บริการรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) และขอแจ้งให้พี่น้องสมาชิก สร.รพท. คนรถไฟทุกท่าน รวมทั้งพี่น้องประชาชนผู้ที่รักความเป็นธรรม ในสังคมได้รับทราบ และได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นร่วมกันออกมาคัดค้านนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมที่ให้การรถไฟฯหยุดให้บริการรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ซึ่งเป็นขบวนการทำลายประวัติศาสตร์ของการรถไฟ ฯ เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์พระราชปณิธาน ของสมเด็จพระปิยมหาราชที่มีมาอย่างยาวนาน และทรงพระราชทาน "กิจการรถไฟ" ไว้เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน

 

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย

 

18 พฤศจิกายน 2564

 

เปิดแถลงการณ์คัดค้านปิดสถานีรถไฟกรุงเทพ "หัวลำโพง"

 

เปิดแถลงการณ์คัดค้านปิดสถานีรถไฟกรุงเทพ "หัวลำโพง"