เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้ วอนรัฐช่วยเหลือ หลังน้ำท่วมเสียหายนับ 100 ล้าน

เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้ วอนรัฐช่วยเหลือ หลังน้ำท่วมเสียหายนับ 100 ล้าน

เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้อำเภอสามพราน วอนหน่วยงานภาครัฐเข้ามาดูแล ช่วยเหลือ หลังได้รับผลกระทบต่อเนื่อง ตั้งแต่น้ำแล้ง น้ำเค็ม โควิด และน้ำท่วม ไม่มีเงินทุนเหลือสำหรับปลูกใหม่แล้ว

วันที่ 16 พ.ย.64 ผู้สื่อข่าวรับแจ้ง กล้วยไม้เน่าตายเป็นจำนวนมาก ในพื้นที่ตำบลดงเกด อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จึงเดินทางไปตรวจสอบ พบกับนายบัณฑิต จรดล เจ้าของสวนกล้วยไม้ เล่าให้ฟังว่า ในตำบลดงเกต มีเกษตรกรปลูกกล้วยไม้จำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้ส่งออก ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมทั้งหมด จนถึงวันนี้ ยังไม่มีหน่วยงานราชการเข้ามาดูแลเลย แม้แต่ อบต.ในพื้นที่ มีเพียงกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่เข้ามาช่วยดูดน้ำและแนะนำให้เขียนคำร้อง รายงานความเสียหายไปที่เกษตรอำเภอ 

ในส่วนตัว ปลูกกล้วยไม้ประมาณ 11 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้ตัดดอก หลากหลายสายพันธ์ มีตั้งแต่อายุ 3 ปี ขึ้นไปถึงกว่า 10 ปี เวลานี้ เน่าตายเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะกลุ่มที่ถูกน้ำท่วมยอด จะสังเกตเห็นมีเชื้อราขึ้นเต็มต้น และจะทยอยเน่าตายไปเรื่อยๆ ส่วนต้นสูงๆ อายุ 10 ปีขึ้น บางต้นเริ่มมีใบเหลืองและร่วง หากโชคดีก็รอด แต่หากโชคไม่ดี ก็จะค่อยๆเน่าในลำต้น และตายไปในที่สุด จึงอยากให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาดูแล จะช่วยเหลืออะไรได้บ้าง แค่พื้นที่ตำบลดงเกด มีหลายสวน รวมๆกัน ความเสียหายน่าจะถึง 100 ล้านบาท 

 

นายบัณฑิตฯ เล่าต่อว่า น้ำเข้าท่วมเช้า เย็นก็สูบออก วันรุ่งขึ้นก็ท่วมอีก เย็นก็สูบออก ทำแบบนี้ทุกวัน ก็ไม่เข้าใจ ทำไมกล้วยไม้ถึงตายได้ ปี 54 ก็ทำแบบนี้ ก็ไม่มีปัญหา ปีนี้ อาจจะมีปัญหาที่น้ำด้วยหรือเปล่า ไม่แน่ใจ หลังจากนี้ ก็จะต้องรื้อทิ้งทั้งหมด ของที่จะสามารถเก็บไว้ใช้ได้อีก มีแค่เชือกที่ขึงเป็นแนว และลวดสีๆ ที่ใช้สำหรับรัดต้นกล้วยไม้ ส่วนแสลนที่ปูพื้น จะต้องรื้อทิ้งทั้งหมด เพราะหากนำมาใช้ต่อ เชื้อราเดิม อาจจะส่งผลกระทบกับต้นกล้วยไม้ใหม่ได้ วันนี้ รอเจ้าหน้าที่มาตรวจและเก็บหลักฐาน แต่หากไม่เข้ามา ก็อาจจะต้องรื้อทิ้งก่อน เพราะเชื้อรา อาจเป็นอันตรายกับสุขภาพ

ส่วนเรื่องการปลูกใหม่ อาจจะต้องรอก่อน เพราะช่วงนี้เศรษฐกิจไม่ดี ดอกกล้วยไม้ขายไม่ได้ราคา เงินลงทุนก็ไม่เหลือแล้ว อาจจะต้องพักไปยาวๆ เพราะการปลูกกล้วยไม้ จะต้องซ้อต้นใหม่ เฉลี่ยประมาณ 20 บาท เลี้ยงประมาณ 1 ปี กว่าจะเริ่มออกดอก และต้องเลี้ยงไปอีก 3 เดือนกว่าจะเก็บดอกขาย ชุดแรกก็ส่งออกไม่ได้ เพราะดอกยังไม่เต็มที่ ต้องรอชุดที่ 2 จึงจะส่งออกได้ เฉลี่ยประมาณ 1 ปีครึ่ง 

 

เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้ ได้รับผลกระทบต่อเนื่อง ตั้งแต่น้ำแล้ง น้ำเค็ม (น้ำทะเลหนุน) โควิด และก็น้ำท่วม  น้ำเค็ม เกษตรกรก็ต้องซื้อน้ำจืดมารดต้นไม้  น้ำเค็ม ก็ต้องหาน้ำจืดมาใช้ โตวิด ก็ส่งออกไม่ได้ ดอกก้านยาว จากราคา 6 บาท บริษัทที่ส่งออก ขอลดราคาเหลือ 3 บาท ดอกก้านสั้นจาก 4 บาท ขอลดเหลือ 2 บาท นอกจากไม่ได้ราคาแล้ว วันนี้ยังเจอน้ำท่วมอีก