ปภ.อัพเดต “น้ำท่วม” 8 พ.ย. “น้ำป่าไหลหลาก” 3 จว.ใต้ยังจม ประสานช่วยเหลือแล้ว

ปภ.อัพเดต “น้ำท่วม” 8 พ.ย. “น้ำป่าไหลหลาก” 3 จว.ใต้ยังจม ประสานช่วยเหลือแล้ว

“ปภ.” อัพเดต “น้ำท่วม” 8 พ.ย. มรสุมทำ “น้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก” 5 จว.ใต้ ยังจมอยู่ 3 แห่ง “สุราษฎร์ฯ-นครศรีฯ-พัทลุง” ส่วน 3 “พายุใหญ่” ยังจมอีก 10 จังหวัด กระทบ 76,620 ครัวเรือน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2564 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงาน รายงานมีสถานการณ์อุทกภัย และน้ำป่าไหลหลาก รวม 13 จังหวัด โดยมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ตั้งแต่วันที่ 6 -  8 พ.ย. 2564 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 5 จังหวัด (สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ ตรัง และพัทลุง) ยังคงมีสถานการณ์ 3 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง รวม 3 อำเภอ 3 ตำบล 7 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 96 ครัวเรือน 

ขณะที่อิทธิพลพายุเตี้ยนหมู่ พายุไลออนร็อก พายุคมปาซุ และร่องมรสุมพาดผ่านภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน ตั้งแต่วันที่ 23 ก.ย. – 8 พ.ย. 2564 ทำให้น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 10 จังหวัด (หนองบัวลำภู มหาสารคาม อุบลราชธานี นครราชสีมา ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนครปฐม) รวม 32 อำเภอ 288 ตำบล 1,677 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 76,620 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 23 ราย ภาพรวมสถานการณ์คลี่คลายในหลายพื้นที่แล้ว ระดับน้ำลดลง แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ ซึ่ง ปภ.ได้ร่วมกับจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่สำรวจความเสียหาย เร่งระบายน้ำและให้การช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่อง

ปภ.อัพเดต “น้ำท่วม” 8 พ.ย. “น้ำป่าไหลหลาก” 3 จว.ใต้ยังจม ประสานช่วยเหลือแล้ว

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานสถานการณ์อุทกภัยจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ตั้งแต่วันที่ 6 – 8 พ.ย. 2564 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ ตรัง และพัทลุง ยังคงมีสถานการณ์ 3 จังหวัด รวม 3 อำเภอ 3 ตำบล 7 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 96 ครัวเรือน ไม่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ภาพรวมสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย ดังนี้

1.สุราษฎร์ธานี ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอพระแสง รวม 1 ตำบล 2 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 

2.นครศรีธรรมราช ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอบางขัน รวม 1 ตำบล 4 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 50 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 

3.พัทลุง ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอควนขนุน รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 40 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

ปภ.อัพเดต “น้ำท่วม” 8 พ.ย. “น้ำป่าไหลหลาก” 3 จว.ใต้ยังจม ประสานช่วยเหลือแล้ว

ขณะที่อิทธิพลพายุเตี้ยนหมู่ พายุไลออนร็อก พายุคมปาซุ และร่องมรสุมพาดผ่านภาคตะวันออกและภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 23 ก.ย. – 8 พ.ย. 2564 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ หนองบัวลำภู มหาสารคาม อุบลราชธานี นครราชสีมา ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนครปฐม รวม 32 อำเภอ 288 ตำบล 1,677 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 76,620 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 23 ราย (ลพบุรี 11 ราย เพชรบูรณ์ 2 ราย ชัยนาท 2 ราย นครสวรรค์ 3 ราย สิงห์บุรี 3 ราย สุพรรณบุรี 2 ราย) 

แยกเป็น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด รวม 9 อำเภอ 37 ตำบล 212 หมู่บ้าน 1 เขตเทศบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,531 ครัวเรือน ได้แก่ 

1.หนองบัวลำภู ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโนนสัง และอำเภอศรีบุญเรือง รวม 7 ตำบล 16 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 254 ครัวเรือน 

2.มหาสารคาม ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอกันทรวิชัย และอำเภอเมืองมหาสารคาม รวม 12 ตำบล 41 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,627 ครัวเรือน 

3.อุบลราชธานี ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอวารินชำราบ รวม 4 ตำบล 26 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 577 ครัวเรือน 

4.นครราชสีมา ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโนนสูง และอำเภอพิมาย 14 ตำบล 129 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,073 ครัวเรือน

ปภ.อัพเดต “น้ำท่วม” 8 พ.ย. “น้ำป่าไหลหลาก” 3 จว.ใต้ยังจม ประสานช่วยเหลือแล้ว

ภาคกลาง 6 จังหวัด รวม 23 อำเภอ 251 ตำบล 1,465 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 72,089 ครัวเรือน ได้แก่ 

5.ลพบุรี ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านหมี่ และอำเภอเมืองลพบุรี รวม 6 ตำบล 21 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 830 ครัวเรือน 

6.สุพรรณบุรี ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางปลาม้า และอำเภอสองพี่น้อง รวม 20 ตำบล 58 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,011 ครัวเรือน 

7.อ่างทอง ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอไชโย อำเภอป่าโมก และอำเภอวิเศษชัยชาญ รวม 36 ตำบล 166 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,453 ครัวเรือน 

8.พระนครศรีอยุธยา ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอผักไห่ อำเภอเสนา อำเภอบางบาล อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน และอำเภอลาดบัวหลวง รวม 106 ตำบล 380 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 49,385 ครัวเรือน 

9.ปทุมธานี ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอสามโคก และอำเภอหนองเสือ รวม 22 ตำบล 65 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,501 ครัวเรือน 

10.นครปฐม ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางเลน อำเภอนครชัยศรี อำเภอสามพราน อำเภอกำแพงแสน และอำเภอดอนตูม รวม 61 ตำบล 475 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,909 ครัวเรือน 

ภาพรวมสถานการณ์คลี่คลายในหลายพื้นที่แล้ว ระดับน้ำลดลง แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ สำหรับการแก้ไขปัญหาและให้การช่วยเหลือประชาชน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระดมสรรพกำลังในการระบายน้ำออกจากพื้นที่ และดูแลให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยจัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจและประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง ฯ ทั้งนี้ ประชาชนสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง