ยึดหลักความจริง! "จุรินทร์"ดันแก้ พ.ร.บ.เลือกตั้ง-ให้ ส.ส.โหวต กม.รัฐบาล

ยึดหลักความจริง! "จุรินทร์"ดันแก้ พ.ร.บ.เลือกตั้ง-ให้ ส.ส.โหวต กม.รัฐบาล

"จุรินทร์" ดันแก้กฎหมายเลือกตั้ง ชี้ ไทม์ไลน์ 180 วัน ต้องยึดหลักความเป็นจริง เผย ปชป. เตรียมเสนอร่างหลัง รธน.บังคับใช้ หนุนแก้ ไพรมารีโหวต ไม่ตอบโจทย์พรรคการเมืองเข้มแข็ง กำชับ ส.ส. ยกมือโหวต กม. ยึด วิปรัฐบาล ย้ำประโยชน์ ปชช.

เมื่อวันที่ 16  ต.ค. 2564 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัติย์ กล่าวถึงการแก้กฎหมายเลือกตั้ง ที่ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมายระบุกรอบไว้ 180 วัน ว่า ต้องยึดตามหลักความเป็นจริง เพราะ รัฐธรรมนูญกำหนดให้การเสนอกฎหมาย ทั้งกฎหมายเลือกตั้ง หรือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เสนอได้ 2 ทาง คือ คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ หรือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เสนอ โดยร่างที่คณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้เสนอเริ่มนับหนึ่งที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้ยกร่าง และนำเข้าสู่ ครม. ส่วนของ ส.ส.นั้น พรรคประชาธิปัตย์ได้มีการยกร่างแล้วและจะนำเสนอหลังรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ 

อ่านข่าว : ปชป.ติวเข้ม! ว่าที่ผู้สมัคร “ส.ก.”พร้อมรับศึกเลือกตั้ง กทม.เต็มที่

ยึดหลักความจริง! \"จุรินทร์\"ดันแก้ พ.ร.บ.เลือกตั้ง-ให้ ส.ส.โหวต กม.รัฐบาล

ทั้งนี้มีประเด็นหลักที่สำคัญ เช่น ระบบการคัดเลือกผู้สมัครขั้นต้น หรือ ไพรมารีโหวต ที่ทำให้ขบวนการยาวยืด โดยไม่ตอบสนอง ให้พรรคการเมืองเข้มแข็งขึ้น รวมถึงการบังคับว่าเขตเลือกตั้งไหนจะส่งผู้สมัคร ต้องมีตัวแทนจังหวัดซึ่งมองว่าเกินความจำเป็น เพราะกรรมการบริหารพรรคสามารถพิจารณาได้อยู่แล้วว่าเขตไหนจะส่งหรือไม่อย่างไร เพราะหลายพรรคการเมืองมีสาขาพรรคกระจายอยู่ทุกภาคทั่วประเทศ  รวมถึงประเด็นที่มีการกำหนดว่าใครจะเป็นสมาชิกพรรคการเมืองต้องเสียค่าสมาชิก ซึ่งมองว่า เป็นการสร้างภาระให้กับผู้ที่อยากเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยไม่จำเป็น ดังนั้นจึงควรปลดล็อกออกไปเพื่อสนับสนุนให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็ง ตามระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพราะหากพรรคการเมืองไม่เข้มแข็งสุดท้ายประชาธิปไตยก็ไม่เกิด 

ยึดหลักความจริง! \"จุรินทร์\"ดันแก้ พ.ร.บ.เลือกตั้ง-ให้ ส.ส.โหวต กม.รัฐบาล

ส่วนหลายพรรคการเมืองใหญ่ ที่เห็นพ้องไปในทิศทางเดียวกัน นั้น เบื้องต้นอย่างไรก็มีการพูดคุย เมื่อถึงเวลาจะต้องหารือกันใน คณะกรรมการประสานงาน หรือ วิป พรรค ไม่เฉพาะพรรคร่วมรัฐบาลแต่รวมถึงพรรคฝ่ายค้านและ วิปวุฒิสภาด้วย 

สำหรับการเปิดประชุมสภาในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ จะมีกฎหมายเข้าที่ประชุมหลายฉบับ พรรคประชาธิปัตย์ มีความชัดเจนในการทำหน้าที่ในรัฐสภา เพราะผู้แทนราษฏรมีความรับผิดชอบ และพรรคเองก็กำชับตลอดว่า นอกจากการเน้นย้ำเรื่องการลงพื้นที่การทำหน้าที่ผู้แทนในสภาถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ส่วนการพิจารณาตัดสินใตนั้น ก็ให้ วิปรัฐบาลเป็นผู้พิจารณา ก่อนนำเข้าสู่มติพรรคต่อไป แต่ที่สำคัญที่ต้องให้การสนับสนุนคือกฎหมายที่พรรครัฐบาลเป็นผู้เสนอ ไม่เช่นนั้นจะกระทบเสถียรภาพทางการเมือง / สนับสนุนกฎหมายที่พรรคเป็นผู้เสนอ รวมถึงกฎหมายที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศ และประชาชน 

นายจุรินทร์ ยังกล่าวถึง การเตรียมอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ ว่า เป็นขั้นตอนตามระบบประชาธิปไตยที่สามารถทำได้ซึ่งตนเองก็สนับสนุน ให้มีการตรวจสอบ อะไรที่ยังไม่เข้าใจ ก็จะเป็นช่องทางที่รัฐบาลได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน