GISTDA เทียบ 2 ช่วงเวลา มวลน้ำมา "บางบาล”

GISTDA เทียบ 2 ช่วงเวลา มวลน้ำมา "บางบาล”

GISTDA เผยแพร่ข้อมูลภาพจากดาวเทียมติดตามสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลาง ล่าสุด มวลน้ำจากคลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ไหลเข้าท่วมพื้นที่ชุมชนที่อยู่อาศัย และพื้นที่เกษตรกรรมกว่า 15,000 ไร่

ภาพจากดาวเทียม Pléiades (เปลยาด) เปรียบเทียบให้เห็นพื้นที่เดียวกัน ทั้งก่อนและระหว่างเกิดน้ำท่วม ณ บริเวณคลองบางบาล ในเขตอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าภาพขวามือไหลเข้าท่วมพื้นที่ชุมชนที่อยู่อาศัย และพื้นที่เกษตรกรรมเป็นวงกว้าง
    พื้นที่น้ำท่วมครอบคลุม 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงวัดจุฬามณีและคลองบางบาล ในเขตอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งไหลเข้าท่วมพื้นที่ชุมชนที่อยู่อาศัย และพื้นที่เกษตรกรรมเป็นวงกว้าง ปัจจุบันอำเภอบางบาล ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมแล้วมากกว่า 15,000 ไร่

ข้อมูลภาพจากดาวเทียมเหล่านี้ GISTDA จะส่งต่อให้กับหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบและที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้สนับสนุนการบริหารจัดการตามภารกิจ ทั้งด้านการวางแผน การติดตาม การประเมินสถานการณ์ และการฟื้นฟูความเสียหายต่อไป

GISTDA เทียบ 2 ช่วงเวลา มวลน้ำมา \"บางบาล”
    ทั้งนี้ “ข้อมูลจากดาวเทียม Pléiades นี้ได้รับการสนับสนุนจาก The international charter space and major disasters, UNESCAP, United Nations Satellite Centre (UNOSAT), CNES และ AIRBUS ภายใต้ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีอวกาศกับภารกิจภัยพิบัติที่ GISTDA เข้าร่วม”
    อ้างอิงจาก Preliminary satellite-derived flood assessment in Central and Northeastern Part of Thailand โดย UNOSAT รายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://unitar.org/maps/map/3375

GISTDA ใช้ภาพจากดาวเทียม CBERS-4 (ซีเบอร์ส-4) ติดตามพื้นที่น้ำท่วมบริเวณ 2 จังหวัดภาคกลาง ได้แก่จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมรวมแล้วกว่า 3 แสนไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มต่ำ และบริเวณริมแม่น้ำสายหลัก สายรอง

GISTDA เทียบ 2 ช่วงเวลา มวลน้ำมา \"บางบาล”

โดยมวลน้ำเหล่านี้จะถูกผันเข้าทุ่งรับน้ำในเขตภาคกลางตอนล่าง และบางส่วนจะไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อออกอ่าวไทยต่อไป ดังนั้น ขอให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงโดยเฉพาะริมฝั่งแม่น้ำ ลำน้ำ และคลอง ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
    ดาวเทียม CBERS-4 เป็นดาวเทียมสำรวจระยะไกล โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการดาวเทียมทรัพยากรโลกจีน-บราซิลระหว่าง the Chinese Center for Resources Satellite Data and Application และ Brazilian National Institute for Space Research