แนะการใช้ "สมุนไพรไทย"รักษาก่อน-ขณะเป็น-หลังเป็นโควิด-19

แนะการใช้ "สมุนไพรไทย"รักษาก่อน-ขณะเป็น-หลังเป็นโควิด-19

“สมุนไพรไทย” มีหลากหลายชนิดที่สามารถต้านไวรัส และได้นำมาใช้ในการรักษาป้องกันโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็น ฟ้าทะลายโจร กระชาย ขมิ้นชัน ขิง รวมถึงชนิดอื่นๆ จนทำให้ประชาชนสนใจซื้อหาสมุนไพร มารับประทาน เพื่อดูแลตัวเอง

โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โดย สถาบันการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร ประชุมวิชาการออนไลน์ ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การใช้สมุนไพรไทยในสถานการณ์การณ์โควิด -19 ของโรงพยาบาลฯ เพื่อแนะแนวทางการดูแลภาคประชาชนด้วยสมุนไพรที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ และมีการใช้สมุนไพร การแพทย์แผนไทยบูรณาการร่วมกับการรักษามาตรฐานทางการแพทย์ ร่วมกับการพัฒนางานด้านวิชาการการวิจัยควบคู่กันไปด้วย

นพ.ชาติชาย คล้ายสุบรรณ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่าช่วงที่ผ่านมา รับทราบกันดีว่าโควิด-19  ทำให้ประชาชนไทยเจ็บป่วยเป็นจำนวนมาก และเกิดวิกฤตทางเดินสุขภาพ และประชาชนมีความตื่นตัวมากขึ้นในการนำสมุนไพรมาใช้ป้องกัน รักษาโควิด-19 โดยเฉพาะฟ้าทะลายโจร ที่สามารถใช้ได้ก่อนเริ่มมีอาการ และเมื่อมีอาการทันที อย่าง คนไข้กลุ่มสีเขียว ในส่วนของรพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้พัฒนาความรู้ ทักษะใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจร มีการแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ฟ้าทะลายโจรให้แก่ประชาชนได้ไปปลูกที่บ้าน

แนะการใช้ \"สมุนไพรไทย\"รักษาก่อน-ขณะเป็น-หลังเป็นโควิด-19

ทั้งนี้ ขณะนี้ มีชุดข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพรจากการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ  ซึ่งทางรพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ต้องการเผยแพร่ให้ประชาชนและแพทย์แผนไทย นำไปใช้ดูแล รักษาผู้ป่วยโควิด-19 อันนำไปสู่ดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง

อ่านข่าว :‘ขมิ้นชัน’ สมุนไพรไทยระดับ ‘Super Food’ สรรพคุณล้ำค่า เสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยต้าน ‘โควิด 19’

  • ทำความรู้จักภูมิคุ้มกัน ป้องกันโควิด

พทป.พัชญา ขำสะอาด แพทย์แผนไทย โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวถึงแนวทางการดูแลสุขภาพและใช้ยาสมุนไพรเพื่อลดความเสี่ยงการป่วยโรคโควิด-19 ว่าสถานการณ์โควิด-19 ทั้งในไทยและต่างประเทศยังคง

พบผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง ซึ่งในส่วนของประเทศไทย 4 สายพันธุ์ที่ต้องระวัง ได้แก่ สายพันธุ์แกมมา สายพันธุ์อัลฟา สายพันธุ์เดลตา และสายพันธุ์เบตา และที่ระบาดอยู่ในตอนนี้ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์เดลตาที่มีการระบาดเร็ว แพร่เชื้อง่าย และหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้

แนะการใช้ \"สมุนไพรไทย\"รักษาก่อน-ขณะเป็น-หลังเป็นโควิด-19

“การฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นแนวทางในการป้องกันลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายได้เป็นอย่างดี ซึ่งภูมิคุ้มกันเป็นกลไกที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อต่อสู้ กับสิ่งแปลกปลอมและป้องกันการติดเชื้อ โดยระบบภูมิคุ้มกัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ภูมิคุ้มกันโดยกำเนิดด่านแรกที่ช่วยป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย เช่น เม็ดเลือดขาวชนิด เป็นต้น และภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ ทำหน้าที่กำจัดหรือยังยั้งการเติบโตของเชื้อโรคใน ร่างกาย เช่น ไวรัสและแบคทีเรีย รวมถึงสามารถสร้างภูมิที่ได้รับจากภายนอกซึ่งเป็นภูมิที่เราสามารถเสริม ได้จากการกิน ออกกาลังกาย หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง” พทป.พัชญา กล่าว

โดยในส่วนของสมุนไพรนั้น การให้ยาสมุนไพรในการรักษา เพื่อลดความเสี่ยงการป่วยโรคต่างๆ จะมีการเชื่อมโยงกับปกติธาตุ สมุฎฐาน ตรีธาตุ คือ จิตใจ พฤติกรรม มูลเหตุก่อโรค กาลอุตุประเทศ และธาตุวัย ซึ่งหากกลไกทั้งสามอยู่ในภาวะปกติ ทุกคนจะมีสุขภาพดี แต่หากทั้งสามผิดปกติก็จะทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้

 

  • ใช้สมุนไพรป้องกันโรค เสริมภูมิคุ้มกัน

พทป.พัชญา กล่าวต่อว่าการจะมีสุขภาพดี ป้องกันโรคได้ ร่างกายต้องทำงานอย่างเป็นปกติ ซึ่งต้องมีการลดส่วนที่เกิด และเพิ่มส่วนที่ขาด ซึ่งจะแบ่งเป็น อาการทางไฟ อาการทางลม และอาการทางน้ำ เช่น หากคนไข้มีอาการทางไฟกำเริบ จะแสดงอาการเป็นไข้ ร้อนใน แสลงอาการรสร้อน ต้องรับประทานอาหาร สมุนไพรรสดขม เย็น  เป็นต้น

นอกจากนั้นในแต่ละฤดู ก็จะใช้สมุนไพรแตกต่างกัน เช่น ฤดูหนาว เกิดโรค เพื่ออาโปธาตุพิการ คือ สมุฏฐานเสมหะควรใช้ยารสสุขุม หรือรสเปรี้ยว ฤดูร้อน เกิดโรคเพื่อ เตโชธาตุพิการ โรค ปิตตะพิการคือดีพิการ ควรใช้ยารสเย็นและ จืด และฤดูฝน เกิดโรคเพื่อวาโยธาตุพิการ คือ โรควาตะ โรคลมควรใช้ยารสร้อน และรสสุขุม เป็นต้น

แนะการใช้ \"สมุนไพรไทย\"รักษาก่อน-ขณะเป็น-หลังเป็นโควิด-19

ทั้งนี้ โรคโควิด 19 เป็นโรคอุบัติใหม่ที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบเพียงข้อมูลของโรคระบาดที่ระบุไว้ในคัมภีร์ตักศิลา กล่าวถึง โรคระบาดที่ค่อนข้างร้ายแรง คนโบราณกล่าวว่าเหมือนห่าลง คือ เมื่อมีการระบาดแล้วจะทำให้มีผู้คนตายอย่างรวดเร็ว ผู้เป็นโรคเหล่านี้แล้วรักษาให้หายยาก มีโอกาสเสียชีวิตสูงมาก โดยอาการของโรคโควิด19 ในปัจจุบัน อาการที่พบทั่วไป จะมีไข้ ไอแห้ง อ่อนเพลีย

ส่วนอาการที่พบไม่บ่อย จะมีปวดเมื่อยเนื้อตัว เจ็บคอ ท้องเสีย ตาแดง ปวดศีรษะ สูญเสียความสามารถในการดมกลิ่นและรับรส มีผื่นบนผิวหนัง นิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี และหากมีอาการรุนแรง จะหายใจลำบากหรือหายใจถี่ เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก สูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหว ซึ่งโรคโควิด-19 นั้น หรือโรคต่างๆ สามารถใช้สมุนไพรจากการรับประทานเป็นอาหารเพื่อดูแลสุขภาพได้

แนะการใช้ \"สมุนไพรไทย\"รักษาก่อน-ขณะเป็น-หลังเป็นโควิด-19

  • “ฟ้าทะลายโจร”รักษาโควิด ต้องให้เร็ว

ภญ.อาสาฬา เชาว์เจริญ เภสัชกรชำนาญการศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ ด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวถึงการใช้ยาสมุนไพรในการดูแลรักษาเมื่อเป็นโรคโควิด-19 ว่า อย่างที่เราทราบกันดีว่า ฟ้าทะลายโจร ช่วยรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในกลุ่มผู้ที่มีอาการน้อย หรือกลุ่มผู้ป่วยสีเขียวได้ โดยฟ้าทะลายโจรจะเข้าไปยับยั้งการผลิตไวรัสตัวใหม่ คือช่วงที่ไวรัสกําลังประกอบร่างตัวเอง ยับยั้งระยะไวรัสสมบูรณ์ และยับยั้งกระบวนการที่ไวรัสถูกปลดปล่อยออกจากเซลล์โฮสต์ และพร้อมที่จะบุกรุกเซลล์อื่น ๆ

ทั้งนี้ ฟ้าทะลายโจรสามารถจับกับโครงสร้างเชื้อโควิดได้หลายตำแหน่ง ซึ่งเป็นเป้าหมายการออกฤทธิ์ของยาและมีโอกาสลดการดื้อยาในอนาคต ซึ่งจากการเก็บข้อมูลของผู้ป่วยโควิด-19อภัยภูเบศร  2,246ราย (ข้อมูลในระบบตั้งแต่วันที่ 1ม.ค.2563ถึง20ส.ค.2564(20เดือน)) โดยมีการให้ฟ้าทะลายโจร +ฟาวิพิราเวียร์ 881 ราย ฟ้าทะลายโจรเดี่ยว ประมาณ 526 ราย พบว่า การให้ยาฟ้าทะลายโจรต้องให้เร็ว ถึงจะเห็นผลไว ในการลดความรนุแรง ของโรคเนื่องจากมีกลไก ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส โดยสามารถปรับภูมิคุ้มกัน  ต้านอักเสบ บรรเทาอาการไข้ ไอ เจ็บคอได้จริง และกำลังดำเนินการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือทางการแพทย์

แนะการใช้ \"สมุนไพรไทย\"รักษาก่อน-ขณะเป็น-หลังเป็นโควิด-19

  • ข้อควรระวังการใช้ “ฟ้าทะลายโจร”

ภญ.อาสาฬา กล่าวต่อว่า ปัญหาที่พบจากการใช้ยาฟ้าทะลายโจรนั้น ในสถานพยาบาล จะพบว่าผู้ป่วยได้รับยาช้า  ผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบยังสามารถใช้ฟ้าทะลายได้หรือไม่ ผู้ป่วยกลุ่มเฉพาะ เช่น ปัญหาตับ ไต ได้ยาฟาวิพิราเวียร์  การให้ร่วมกับยาต้านไวรัสได้หรือไม่ ให้ยา5 วันแล้ว แต่ยังมีอาการ ไข้ เจ็บคอ รับประทานได้ต่อหรือไม่ ให้ฟ้าทะลายโจรร่วมกับพาราเซตามอล

ขณะที่ในภาคประชาชน จะไม่มียา มียาแต่ไม่ทราบปริมาณแอนโดรกราโฟไลด์ ต้องการใช้ใบสด หรือใบแห้ง กินขนาดยาผิด กินระยะเวลาผิด กินร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ กินป้องกันขนาดเท่ากับรักษา และกินรูปแบบยาผิด เช่น ยาต้ม

ดังนั้น  การใช้ยาฟ้าทะลายโจร ถ้าเป็นผงฟ้าทะลายโจร 400 mg/แคปซูล พบสารแอนโดรกราโฟไลด์ 12-16 mg/แคปซูล ซึ่งมีฤทธิ์แก้ไข้ แก้ไอ แก้เจ็บคอ ต้านเชื้อไวรัส ลดการอักเสบ ปรับภูมิคุ้มกันได้ จึงแนะนำให้กินฟ้าทะลายโจรที่มาสารแอนโดรกราโฟไลด์ 180 mg ต่อวันเป็นเวลา 5 วัน

ผู้ที่ควรได้รับยาฟ้าทะลายโจร คือ 1. ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการเล็กน้อย 2. ผู้มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ ครั่นเนื้อตัว 3.ผู้เสี่ยงสูง สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด และมีกลุ่มผู้ป่วยที่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ คือกลุ่มผู้ป่วยตับอักเสบ ผู้ป่วยไตวายระยะ 4-5 และ ผู้ใช้ยาวาร์ฟารินทั้งนี้ไม่แนะนำให้ใช้กับผู้ที่ตั้งครรภ์และอยู่ระหว่างให้นมบุตร

แนะการใช้ \"สมุนไพรไทย\"รักษาก่อน-ขณะเป็น-หลังเป็นโควิด-19

  • ผลกระทบในอวัยวะต่างๆ หลังป่วยโควิด

พทป.ณัชชา เต็งเติมวงศ์ และพทป.กมลชนก โตสุจริตธรรม แพทย์แผนไทย โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวถึงการใช้ยาสมุนไพรในการฟื้นฟูหลังหายจากโรคโควิด-19 ว่า 1 ใน 5 ของผู้ป่วยโควิด 186,000 ราย ยังคงมีอาการบ่งชี้โรคโควิด-19 ต่อเนื่องถึง 12 สัปดาห์ และผู้ป่วย 9.9% มีอาการ มากกว่า12 สัปดาห์ ผลการศึกษาผู้ป่วยหลังจากหายจากโควิด60วัน - 6เดือน ใน U.S., Europe และจีน พบว่า อาการหลังโควิด ที่พบบ่อยได้แก่ หายใจลําบาก อ่อนเพลีย/กล้ามเนื้อไม่มีกําลัง  ปวดตามข้อ นอนไม่หลับ วิตกวังกล/ซึมเศร้า เจ็บหน้าอก ไอ จมูกไม่ได้กลิ่น/ลิ้นไม่รับรส

สำหรับผลกระทบที่ได้รับหากป่วยโควิด-19 และรักษาหายแล้วในอวัยวะต่างๆ เริ่มตั้งแต่ ปอด  จะหายใจลำบาก ประสิทธิภาพปอดลดลง พบฝ้าที่ปอด พังผืดที่ปอด ขณะที่ระบบทางเดินอาหาร ตับและทางเดินน้ำดี พบว่าการติดเชื้อนานๆ อาจส่งผลต่อระบบ จุลชีพในทางเดินอาหารได้  ส่วนพัฒนาการในเด็ก อาจมีผลต่อการเจริญเติบโต และการทํางานของอวัยวะต่างๆ ผิดปกติ เช่น ระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงระบบประสาทสมอง

ผิวหนัง จะมีผื่นบริเวณผิวหนัง ผมร่วงพบประมาณ 20% ต่อมไร้ท่อ อาจส่งผลให้มีอาการแย่ลงในผู้ป่วยที่มีโรค เช่น  เบาหวาน ไทรอยด์ เป็นต้น  ไต อาจทำให้ไตเสื่อม ภาวะไตวายเฉียบพลัน ค่าการทํางานของไตลดลง พบได้หลังจาก 6 เดือน ระบบไหลเวียน พบภาวการณ์อุดตันของหลอด เลือด ประมาณ 5% รักษาโดยให้ยาต้านเกล็ดเลือด 

ระบบหลอดเลือดหัวใจ มักพบได้ ในระยะยาว เช่น ใจสั่น เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก อาการเรื้อรัง เช่น  myocardial fibrosis, arrhythmias, tachycardia และอาการทางจิตประสาท จะอ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดศีรษะ ปัญหาความจํา ไม่มีสมาธิ และความผิดปกติทางระบบ ประสาทอื่นๆ วิตกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ PTSD 30 - 40%

แนะการใช้ \"สมุนไพรไทย\"รักษาก่อน-ขณะเป็น-หลังเป็นโควิด-19

  • แนะยาสมุนไพรหลังป่วยโควิด-19

ทั้งนี้ สำหรับยาสมุนไพร หลังการติดโรคโควิด-19 มีดังนี้ ตํารับที่ 1 : สารสกัดน้ำโสมอินเดีย ทานครั้งละ 500mg หรือ รูปแบบผง 1-3g ละลายน้ำอุ่น วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 15 วัน - 1 เดือน

ตํารับที่ 2 : Chyawanprash ประกอบด้วย มะขามป้อม ดีปลี รากสามสิบ ชะเอม บอระเพ็ด โสม และอื่นๆ ครั้งละ 10g ละลายน้ำอุ่น/นม วันละ 1 ครั้ง

ตํารับที่ 3 : บอระเพ็ด มะขามป้อม โคกกระสุน เท่าๆ กัน ครั้งละ 3 กรัม วันละ 2 ครั้ง ผสมน้ำผึ้ง เป็น เวลา 1 เดือน

แนะการใช้ \"สมุนไพรไทย\"รักษาก่อน-ขณะเป็น-หลังเป็นโควิด-19