ปภ. เผยสถานการณ์อุทกภัย 28 จังหวัด ได้รับผลกระทบกว่า 12,277 ครัวเรือน

ปภ. เผยสถานการณ์อุทกภัย 28 จังหวัด ได้รับผลกระทบกว่า 12,277 ครัวเรือน

ปภ.รายงานเกิดสถานการณ์อุทกภัยรวม 28 จังหวัด ได้รับผลกระทบกว่า 12,277 ครัวเรือน สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย แต่บางพื้นที่ยังมีน้ำท่วมขัง ประสานพื้นที่ให้ความช่วยเหลือ

เมื่อวันที่ 16 ก.ย.64 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานในช่วงวันที่ 7 - 16 ก.ย. 64 เกิดอุทกภัยใน 28 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำพูน ลำปาง ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ เลย ชัยภูมิ นครราชสีมา อุบลราชธานี ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด ลพบุรี
พระนครศรีอยุธยา นครนายก สมุทรปราการ ระนอง กระบี่ และตรัง รวม 106 อำเภอ 249 ตำบล 847 หมู่บ้าน 2 เขตเทศบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ 12,277  ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 1 ราย สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 21 จังหวัด ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ใน  7 จังหวัด ไม่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต สูญหาย 1 ราย  ภาพรวมหลายพื้นที่เริ่มคลี่คลายแล้วแต่ยังมีน้ำท่วมขัง ในพื้นที่ลุ่มต่ำ  ซึ่ง ปภ.ได้ร่วมกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่สำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือประชาชนต่อไป

ปภ. เผยสถานการณ์อุทกภัย 28 จังหวัด ได้รับผลกระทบกว่า 12,277 ครัวเรือน

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานจากอิทธิพลร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุม ทะเลอันดามันและภาคใต้ฝั่งตะวันตก ทำให้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามันตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น และจากอิทธิพลพายุ "โกนเซิน" ตั้งแต่วันที่ 7 ก.ย. 64 - ปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก และดินสไลด์ ในพื้นที่ 28  จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำพูน ลำปาง ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ เลย ชัยภูมิ นครราชสีมา อุบลราชธานี ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา นครนายก สมุทรปราการ ระนอง กระบี่ และตรัง รวม 106 อำเภอ 249 ตำบล 847 หมู่บ้าน 2 เขตเทศบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ 12,277  ครัวเรือน เสียชีวิตจากน้ำพัดพา 1 ราย  

ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ใน 7 จังหวัด รวม 29 อำเภอ 80 ตำบล/เทศบาลตำบล ได้แก่

- พิษณุโลก น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพรหมพิราม อำเภอวังทอง และอำเภอเนินมะปราง รวม 10 ตำบล ประชาชนได้รับผลกระทบ 234 ครัวเรือน

- กำแพงเพชร น้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพรานกระต่าย และอำเภอลานกระบือ รวม 3 ตำบล ประชาชนได้รับผลกระทบ 48 ครัวเรือน

- พิจิตร ท่วมขังในพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่  อำเภอเมือง อำเภอวังทรายพูน อำเภอวชิรบารมี อำเภอสามง่าม อำเภอทับคล้อ อำเภอโพทะเล อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอดงเจริญ อำเภอสากเหล็ก และอำเภอบึงนาราง รวม 35 ตำบล 190 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 688 ครัวเรือน

- ปราจีนบุรี ท่วมขังในพื้นที่ 2  อำเภอ ได้แก่ อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอศรีมหาโพธิ รวม 6 ตำบล ประชาชนได้รับผลกระทบ 890 ครัวเรือน ปัจจุบันระดับน้ำลดลง

- เพชรบูรณ์ เกิดน้ำไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก อำเภอน้ำหนาว รวม 16 ตำบล  ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,545 ครัวเรือน ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ อ.หล่มสัก ปัจจุบันระดับน้ำลดลง

- พระนครศรีอยุธยา เกิดน้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอผักไห่ อำเภอเสนา และอำเภอบาลบาล รวม 7 ตำบล ประชาชนได้รับผลกระทบ 602 ครัวเรือน ปัจจุบันระดับน้ำยังเพิ่มขึ้น

- นครราชสีมา ท่วมขังในพื้นที่ 7  อำเภอ ได้แก่ อำเภอด่านขุนทด อำเภอสูงเนิน อำเภอโนนสูง อำเภอปักธงชัย อำเภอโนนไทย อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอพิมาย และอำเภอโชคชัย รวม 13 ตำบล / เทศบาลตำบล ประชาชนได้รับผลกระทบ 499 ครัวเรือน  ปัจจุบันระดับน้ำลดลง

ภาพรวมสถานการณ์ปัจจุบันหลายพื้นที่เริ่มคลี่คลาย แต่บางพื้นที่ยังมีน้ำท่วมขัง ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยสำรวจและประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง ฯ