จับสถิติ "โควิด" ฝั่งธนบุรี สแกน 7 เขตติดเชื้อสูงสุด

จับสถิติ "โควิด" ฝั่งธนบุรี สแกน 7 เขตติดเชื้อสูงสุด

สถิติตัวเลขผู้ติดเชื้อ "โควิด" ในฝั่งธนบุรี ยังอยู่ในภาวะเฝ้าระวังจากทิศทางตัวเลขผู้ติดเชื้อติด 10 อันดับสูงสุดที่ยังมีมากกว่ากว่า "ฝั่งพระนคร"

ถึงแม้ตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วประเทศตั้งแต่ปลายเดือน ส.ค. จะลดลงต่อเนื่องจากระดับ 1.8 หมื่นคนลงมาต่ำสุดที่ 1.4 หมื่นคนช่วงต้นเดือน ก.ย. ก่อนที่ยอดผู้ติดเชื้อจะกลับมาสูงอีกครั้งที่ 1.6 หมื่นคนเมื่อวันที่ 9 ก.ย.ที่ผ่านมา

แต่สถานการณ์แพร่ระบาดในพื้นที่กรุงเทพฯ ยังอยู่ในภาวะลดลงแบบ "ทรงตัว" โดยตั้งแต่ปลายเดือน ส.ค.เคยมีตัวเลขผู้ติดเชื้อประมาณ 4.1 พันคน จากนั้น "กราฟผู้ติดเชื้อ" ยังไม่ลดลงตามที่คาดการณ์ไว้ โดยยังมีผู้ติดเชื้อขึ้นลงระหว่าง 3.4-3.9 พันรายในช่วงต้นเดือน ก.ย. และมียอดสูงสุดวันที่ 7 ก.ย.อยู่ที่ 3,997 ราย

โดยเฉพาะตัวเลขผู้ติดเชื้อ "รายเขต" พบว่าเขตพื้นที่ "ฝั่งธนบุรี" มียอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 สูงกว่า "ฝั่งพระนคร" อย่างชัดเจน "กรุงเทพธุรกิจ" ได้ตรวจสอบสถิติหน่วยงาน กทม.ตั้งแต่วันที่ 26 ส.ค.-10 ก.ย. มีพื้นที่เขต 10 อันดับแรกพบผู้ติดเชื้อสูงสุด ดังนี้

1.หลักสี่ จำนวน 2,375 ราย 

2.จอมทอง จำนวน 2,114 ราย 

3.บางแค จำนวน 1,8,46 ราย 

4.ธนบุรี จำนวน 1,575 ราย 

5.บางกอกน้อย จำนวน 1,561 ราย 

6.ลาดกระบัง จำนวน 1,408 ราย 

7.บางขุนเทียน จำนวน 1,364 ราย 

8.ภาษีเจริญ จำนวน 1,359 ราย 

9.หนองแขม จำนวน 1,323 ราย 

10.บางซื่อ จำนวน 1,271 ราย 

จะเห็นได้ว่า 10 อันดับแรกพบผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ "ฝั่งธนบุรี" มากถึง 7 เขต ได้แก่ เขตจอมทอง บางแค ธนบุรี บางกอกน้อย หนองแขม ภาษีเจริญ และบางขุนเทียน

จับสถิติ \"โควิด\" ฝั่งธนบุรี สแกน 7 เขตติดเชื้อสูงสุด

ไม่ใช่แค่นั้น แต่ตัวเลขจำนวนผู้ป่วยในกรุงเทพฯ ตามแถลง "ศบค." ประจำวันที่ 10 ก.ย. อยู่ที่ 3,495 ราย โดยเขตที่พบผู้ป่วยมากที่สุด ได้แก่ 1.ห้วยขวาง 204 ราย 2.จอมทอง 136 ราย 3.บางขุนเทียน 110 ราย 4.บางกอกน้อย 94 ราย 5.ภาษีเจริญ 85 ราย 6.สายไหม 85 ราย 7.บางแค 79 ราย 8.บางพลัด 75 ราย 9.หลักสี่ 68 ราย และ 10.ธนบุรี 67 ราย

จับสถิติ \"โควิด\" ฝั่งธนบุรี สแกน 7 เขตติดเชื้อสูงสุด

สำหรับตัวเลขที่ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่พุ่งสูงส่วนหนึ่งมาจากการเดินหน้าตรวจหาเชื้อของ กทม.ด้วยวิธี ATK และ RT-PCR โดยมีสถิติตั้งแต่วันที่ 17 พ.ค.-9 ก.ย.พบว่า ในพื้นที่เขต "กรุงธนเหนือ" มีผู้รับการตรวจ ATK จำนวน 39,056 ราย และ RT-PCR จำนวน 85,781 ราย ส่วน "กรุงธนใต้" มีผู้รับการตรวจ ATK จำนวน 32,214 ราย และ RT-PCR จำนวน 104,215 ราย 

จับสถิติ \"โควิด\" ฝั่งธนบุรี สแกน 7 เขตติดเชื้อสูงสุด ภารกิจลุยตรวจโควิด "กรุงธนเหนือ-กรุงธนใต้" ครั้งนี้ยิ่งพบว่า พื้นที่ "ฝั่งธนฯ" มีผลการตรวจ ATK และ RT-PCR มากที่สุดกว่าอีก 4 กลุ่มเขต กทม. (กรุงเทพกลาง กรุงเทพเหนือ กรุงเทพใต้ และกรุงเทพตะวันออก) โดยสามารถคิดเป็นการตรวจ ATK อยู่ที่ประมาณ 41.5 % จากยอดตรวจ 6 กลุ่มเขตทั้งหมด 168,819 ราย และการตรวจ RT-PCR อยู่ที่ประมาณ 43.5 % จากยอดตรวจ 6 กลุ่มเขตทั้งหมด 434,529 ราย

จับสถิติ \"โควิด\" ฝั่งธนบุรี สแกน 7 เขตติดเชื้อสูงสุด

ขณะเดียวกันหากพิจารณาจากปัจจัยทางกายภาพพบว่า "ฝั่งธนบุรี" ซึ่งมีพื้นที่ 450.119 ตารางกิโลเมตร(15 เขต) ถึงแม้จะมีพื้นที่น้อยกว่า "ฝั่งพระนคร" แต่เมื่อเปรียบเทียบกับ "ความหนาแน่นของประชากร" กลับมีสถิติจาก "กรมการปกครอง" กระทรวงมหาดไทย(ข้อมูล 31 ธ.ค.2563) มีข้อมูลน่าสนใจ ดังนี้ 

ในจำนวน 10 เขตที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดนั้น ในพื้นที่ "ฝั่งธนบุรี" มีจำนวน 4 เขตที่พบความหนาแน่นของประชากรสูงสุดติด 10 อันดับแรก ตั้งแต่ เขตธนบุรี คลองสาน บางกอกใหญ่ และบางกอกน้อย โดยเฉพาะ "ธนบุรี-บางกอกน้อย" ยังเป็นเขตที่พบผู้ติดเชื้อมากที่สุดเป็นอันดับ 5 และ 6 จากยอดผู้ติดเชื้อสูงสุดที่บันทึกไว้ตั้งแต่วันที่ 26 ส.ค.-10 ก.ย.64

สำหรับการหยุดการแพร่ระบาดทั่วกรุงเทพฯ หน่วยงาน กทม.ยังเร่งเดินหน้าฉีดวัคซีนให้มากที่สุด โดยมีความคืบหน้า ยอดจำนวนผู้ที่ได้รับ "วัคซีนโควิด" แต่ไม่ได้แยกสถิติการฉีดระหว่าง "ฝั่งธนบุรี-ฝั่งพระนคร" มีตัวเลขการฉีดล่าสุด 10 ก.ย.64 เพิ่มขึ้น 63,688 โดส สะสมแล้ว 10,057,386 แบ่งเป็น 

เข็มที่ 1 จำนวน 7,298,754 ราย 

เข็มที่ 2 จำนวน 2,576,785 ราย 

เข็มที่ 3 จำนวน 181,847 ราย

ทั้งหมดเป็นสถิติตัวเลขผู้ติดเชื้อ "โควิด" ในฝั่งธนบุรี ซึ่งยังอยู่ในภาวะเฝ้าระวังจากปัจจัยทางกายภาพในพื้นที่ และทิศทางตัวเลขผู้ติดเชื้อติด 10 อันดับมากกว่ากว่าฝั่งพระนคร ยังคงเป็นสถานการณ์ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด.

จับสถิติ \"โควิด\" ฝั่งธนบุรี สแกน 7 เขตติดเชื้อสูงสุด จับสถิติ \"โควิด\" ฝั่งธนบุรี สแกน 7 เขตติดเชื้อสูงสุด