'ส.อ.ท.' ขอวัคซีนรัฐ 1.5 ล้านโดสเร่งฉีดในโนโรงงาน ป้องกันโควิดในภาคการผลิต

'ส.อ.ท.' ขอวัคซีนรัฐ 1.5 ล้านโดสเร่งฉีดในโนโรงงาน ป้องกันโควิดในภาคการผลิต

"ส.อ.ท." เผย ถก "อนุทิน” ไฟเขียวแผนป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ในภาคอุตสาหกรรม ทำบับเบิลแอนด์ซีในโรงงงานอุตสหกรรม พร้อมชงจัดตั้ง รพ.สนามในโรงงานแบบ Community Isolation  

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)  เปิดเผยว่า ส.อ.ท.ได้เตรียมแนวทางการป้องกันและรับมือการระบาดของโควิด-19 ในภาคอุตสาหกรรม โดยเมื่อวันที่ 29 ก.ค.ที่ผ่านมา ส.อ.ท.ได้ประชุมหารือกับนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบ 3แนวทางในการป้องกันและรับมือการระบาดของโควิด  ประกอบด้วย 1.การจัดอบรมวิธีการใช้ชุดตรวจโควิด   แบบเร่งด่วน ATK อย่างถูกต้อง โดยให้ตรวจอย่างน้อย 20% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด 2. การจัดอบรมการควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ในสถานประกอบการด้วยการทำ Bubble and seal โดยไม่ต้องปิดโรงงานสำหรับสถานประกอบการที่มีพนักงานตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป ส่วนสถานประกอบการที่มีพนักงานน้อยกว่า 200 คน แนะนำให้ใช้มาตรฐาน Thai Stop Covid ของกระทรวงอุตสาหกรรม

 3.การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในสถานประกอบการรูปแบบ Community Isolation รับรองโดยสาธารณสุขจังหวัดและดูแลโดยโรงพยาบาลในสังกัดประกันสังคม ซึ่งสถานประกอบการแต่ละแห่งจะต้องมี Heathy Leader อย่างน้อย 2 คน นอกจากนี้ จะมีการนำระบบแจ้งเตือนผู้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ (Exposure Notification Express: ENX) ที่พัฒนาขึ้นโดย Google และ Apple มาใช้เพื่อช่วยป้องกันการแพร่ระบาดลดการติดเชื้อและ     การเสียชีวิต ซึ่ง ส.อ.ท. เสนอตัวเป็นผู้ดูแลระบบและประสานงาน โดยจะนำร่องเพื่อใช้งานในภาคอุตสาหกรรมก่อน

นายสุพันธุ์ กล่าวว่า  ในส่วนของการฉีดวัคซีนในภาคโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศกว่า 6,000 แห่ง ซึ่งมีการฉีดวัคซีนตามมาตรา 33 ของประกันสังคมประมาณ 7-8 แสนคน  รวมทั้งบริษัทที่ได้มีการจัดซื้อวัคซีนทางเลือกกับทางสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์แล้ว 1,362 บริษัท ฉีดพนักงานไปแล้ว 379,732 คน  โดยภาพรวมฉีดได้ไม่ถึง 10 % ซึ่งตนได้ขอวัคซีนเพิ่มจากนายอนุทินอีก 1.5 ล้านโดสเพื่อฉีดให้กับภาคอุตสาหกรรม ขณะเดียวกันส.อ.ท.กำลังสำรวจความต้องการวัคซีนจากสมากชิกสอท.ว่ามีจำนวนเท่าไร เพื่อประสานขอซื้อวัคซีนทางเลือกเพิ่มจากสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งคาดว่าวัคซีนทางเลือกจะเข้ามาอีกในเดือน ส.ค.นี้

“ขณะนี้ตัวเลขการติดเชื้อในโรงงานขนาดใหญ่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ จำเป็นต้องเร่งดำเนินการ เพื่อควบคุมไมได้ขยายเป็นวงกว้างเพราะหากโรงานถูกสั่งปิดก็จะส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชน นอกจากนี้ยังขอให้โรงงาน  ห้บริการตรวจหาเชื้อ ด้วยพีซีอาร์ (PCR) และแอนทิเจน เทสต์ คิต (Antigen Test Kit) ซึ่งภาคเอกชนต้องการแอนทิเจน เทสต์ คิตจำนวนมากเพื่อตรวจให้กับพนักงานของตนเอง  แต่ก็ต้องยอมรับว่า บางบริษัทไม่สามารถที่จะมีเงินจ่ายในส่วนนี้ได้หมดก็อยากให้รัฐบาลช่วยเหลือแม้ว่า สอท.จะมีการกองทุนช่วยเหลือก็ตาม”