แรงงานไทยก่อหนี้เพิ่ม  29.56%

แรงงานไทยก่อหนี้เพิ่ม  29.56%

หอการค้าไทย เผยผลสำรวจวันแรงงานมีเงินสะพัดเพียง 1,793ล้านบาท ลดลง 19.7 % ต่ำสุดในรอบ 10 ปี ทำบรรยากาศวันแรงงานไม่คึกคัก  พบแรงงานไทยก่อหนี้เพิ่ม หนี้พุ่ง29.56% เฉลี่ย2แสนบาทต่อครัวเรือน

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยสถานภาพแรงงานไทย : กรณีศึกษาผู้มีรายได้ ต่ำกว่า 15,000 บาท”ว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจากแรงานไทยในกลุ่มอาชีพข้าราชการ รับจ้าง พนักงานเอกชนรัฐวิสาหกิจ และรับจ้างรายวัน จำนวน 1,256 ตัวอย่างระหว่างวันที่ 18-22 เม.ย.2564 พบว่า  มีเงินสะพัดในช่วงวันหยุดแรงงาน 1,793 ล้านบาท ลดลง 19.7 % เป็นการใช้จ่ายต่ำสุดในรอบ 10 ปี ทำให้บรรยากาศในช่วงวันหยุดแรงงานไม่คึกคักจากการประหยัดและสถานการณ์โควิดโดยแรงงานส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ10,000-15,000 บาท โดยสัดส่วน86.2 % ไม่มีเงินออม ทำให้แรงงานถึง 95 % มีภาระหนี้สินจากการกู้ยืมมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ที่อยู่อาศัย และยานพาหนะ โดยเฉลี่ยจำนวนหนี้สินต่อครัวเรือนประมาณ เฉลี่ย2แสนบาทต่อครัวเรือน หรือเพิ่ม29.56% เมื่อเทียบกับุ62 แต่ยังมีสัดส่วนการกู้เงินในระบบสูงกว่านอกระบบ

ทั้งนี้แรงงานไทยเสี่ยงว่างงานสูงสุดในรอบ 5 ปี โดยอัตราการว่างงานเฉลี่ยตอนนี้อยู่ที่ 1.6%ดยขณะนี้ยังมีการประคองการจ้างไว้ ซึ่งหากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดโควิดได้ และสถานการณ์เศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้น ก็มีแนวโน้มที่จะมีการปลดคนงานและจะมีแรงงานกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ออกมาอีก 5-7 แสนคน ที่เสี่ยงจะออกมาแล้วหางานทำไม่ได้  โดยแรงงานส่วนใหญ่กังวล 5 ประเด็นหลัก คือ สถานการณ์เศรษฐกิจ ซึ่งมองว่าอยู่ในระดับแย่ถึงแย่มากในขณะนี้ การแพร่ระบาดของโควิด วัคซีนล่าช้า ปัญหาราคาสินค้าในปัจจุบันและอนาคต

โดยสิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาดูแล มีทั้งการเพิ่มค่าแรงงานขั้นต่ำ การช่วยเหลือแรงงาน การดูแลปัญหาการว่างงาน การดูแลหนี้สินของแรงงาน และปัญหาค่าครองชีพ อย่างไรก็ตามแม้ว่าผลสำรวจแรงงานที่ออกมาถือว่าปีนี้แม้ลูกจ้างยังต้องการค่าจ้างแรงงานเพิ่ม แต่ทุกคนก็เข้าใจนายจ้างมากขึ้น เพราะหากปรับค่าจ้างแรงงานเพิ่มจะกระทบต่อนายจ้างและไม่เป็นผลดีกับลูกจ้างเพราะหากต้องออกจากงานนั้นการหางานในช่วงนี้จะลำบาก