เปิด 10 อันดับการลงทุนในประเทศที่มี ‘ผลตอบแทน’สูงสุด

เปิด 10 อันดับการลงทุนในประเทศที่มี ‘ผลตอบแทน’สูงสุด

เปิด10 อันดับ “การลงทุนในประเทศ” ผลตอบแทนสูงสุดช่วงไตรมาส 1 ปี64 หากไม่นับรวมบิทคอยน์ ผลตอบแทนพุ่ง112% แล้ว หุ้นmai นำโด่ง 38.25% นักวิเคราะห์ แนะ "Stay Invested" รอจังหวะทยอยเพิ่มในสินทรัพย์เสี่ยงที่ย่อตัวลงมาจากความกังวลโควิด-19 ระบาดระลอกใหม่ “โบรก”มองหุ้นไทยสัปดาห์หน้าแกว่งตัว1,510-1,575จุด

ภาพการฟื้นตัวเศรษฐกิจทั่วโลกรวมถึงเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี2563 ได้ช่วยขับเคลื่อนภาพของการลงทุนในประเทศหลายสินทรัพย์ปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะหุ้นไทย

จากการรวบรวมข้อมูลล่าสุดจากธนาคารกรุงไทย พบว่าการลงทุนในต่างประเทศที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด 10 อันดับแรก ไตรมาส 1 ปี2564 ดังนี้

1. บิทคอยน์(Bitcoin in THB) ผลตอบแทน 112%

2.หุ้นขนาดเล็ก (ดัชนี MAI) ผลตอบแทน 38.25%

3.หุ้นขนาดกลาง (ดัชนี SSET) ผลตอบแทน 28.59%

4.หุ้นไทย (ดัชนี SET) ผลตอบแทน 10.47%

5.กองทุนรวมอสังหาฯ (Property Fund & REITs) ผลตอบแทน 0.98%

  1. 6.พันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น อายุ 1 - 3 ปี(ST TH Bond) ผลตอบแทน -0.14%

7.ตราสารหนี้เอกชน Investment Grade (Corp Bond) ผลตอบแทน -0.57%

8.ค่าเงินบาท(Thai Baht) ผลตอบแทน -4.01%

9.พันธบัตรรัฐบาลระยะยาว อายุ 7 - 10 ปี (LT TH Bond)  ผลตอบแทน -4.03%

10.ราคาทองคำ(Gold in THB) ผลตอบแทน -6.35%

161873030735

นายพูน พานิชพิบูลย์  นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงินธนาคารกรุงไทย  กล่าวว่า สินทรัพย์ลงทุนในประเทศช่วงไตรมาส1 ที่ผ่านมานี้  หากไม่รวมสินทรัพย์ดิจิตอลเคอเรนซี่ อย่าง บิทคอยน์ ที่ให้ผลตอบแทนสูงถึง 112% (ในรูปเงินบาท

หุ้นไทย ก็ยังสามารถให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจ โดยดัชนี SET Index ให้ผลตอบแทนรวมราว 10.5% ซึ่งดีกว่า สินทรัพย์อื่นๆ อาทิ กองทุนรวมอสังหาฯ (ดัชนี SETPREIT) ก็ให้ผลตอบแทนเพียง 1%

ขณะที่ ตราสารหนี้ ก็พบกับสภาวะยิลด์ขาขึ้น กดดันให้ ผลตอบแทนของตราสารหนี้ ไม่ว่าจะเป็น ตราสารหนี้ภาครัฐหรือ ตราสารหนี้เอกชน ก็ต่างให้ผลตอบแทนที่ย่ำแย่ โดยเฉพาะ พันธบัตรรัฐบาลระยะยาว (อายุ 7-10ปี) ที่เผชิญแรงเทขายจากการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยิลด์ 10ปี ทำให้ ตราสารดังกล่าวให้ผลตอบแทน ติดลบกว่า 4%

ทั้งนี้ หากพิจารณา ธีมการลงทุนของนักลงทุนทั่วโลกในช่วงไตรมาส 1 ที่ผ่านมา ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใดที่จะเห็น หุ้นไทย สามารถปรับตัวขึ้นได้ดี เมื่อเทียบกับหลายตลาด

เนื่องจาก ธีมการลงทุนในช่วงที่ผ่านมา คือ การเน้นลงทุนหุ้นในกลุ่ม Value Cyclical ที่ได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อาทิ หุ้นในกลุ่มการเงิน กลุ่มธุรกิจพลังงาน เป็นต้น ซึ่งภาพดังกล่าว สอดคล้องกับ ตลาดหุ้นไทย ที่ธุรกิจส่วนใหญ่ คือพลังงานและธนาคาร

แต่อย่างไรก็ตามภาพการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่ได้ช่วยขับเคลื่อนตลาดหุ้นไทยในช่วงไตรมาส 1 ที่ผ่านมานี้ เริ่มมีความไม่แน่นอนมากขึ้น หลังจากที่มีการระบาดของ โควิด-19 ระลอกใหม่ที่มีความรุนแรงมากกว่ารอบก่อนๆ ทำให้ในระยะสั้น1-2 เดือนข้างหน้า แนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจอาจถูกกดดันจากปัญหาการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ทำให้ ในช่วงระยะสั้นนี้ ตลาดหุ้นไทยก็มีโอกาสที่จะแกว่งตัวในกรอบ (Sideways) มากกว่าที่จะกลับไปเป็นขาขึ้นที่ชัดเจน

สำหรับนักลงทุนมองภาพการลงทุนระยะยาว แนะนำว่า ก็ควรที่จะ "Stay Invested" และสามารถรอจังหวะทยอยเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงที่ย่อตัวลงมาจากความกังวลปัญหาการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ เพราะสุดท้ายแล้วหากเศรษฐกิจฟื้นตัวดีขึ้น ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนก็จะมีแนวโน้มดีขึ้นตาม และทำให้ราคาของหุ้นหรือสินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวขึ้น เพื่อสะท้อนภาพดังกล่าวในที่สุด

และอย่าลืมว่า ถึงแม้ว่าภาพอนาคตอาจจะดูสดใส แต่สิ่งที่เราคาดการณ์ไว้ อาจผิดไปทั้งหมดได้ หากสถานการณ์การระบาดในไทยรุนแรงกว่าคาด และ การแจกจ่ายวัคซีนก็ขาดประสิทธิภาพ ทำให้จากที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวสดใส ก็อาจจะกลายมาเป็นภาพเศรษฐกิจซบเซา ทำให้ การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในไทยไม่น่าสนใจ หรือ ให้ผลตอบแทนน้อยกว่า การลงทุนในต่างประเทศ (Underperformed) ได้ ซึ่งนักลงทุนก็ต้องติดตามสถานการณ์การระบาดและการแจกจ่ายวัคซีน เพื่อที่จะได้ปรับพอร์ตการลงทุนได้ทันสถานการณ์

สำหรับสัปดาห์หน้านี้ (19-23 เม..2564 ) บริษัทหลักทรัพย์(บล.)กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่1,510- 1,530 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,560 - 1,575 จุด ตามลำดับ

โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ผลประกอบการงวดไตรมาส 1/64 ของบจ.ไทย โดยเฉพาะกลุ่มธนาคาร สถานการณ์โควิด 19 ในประเทศ รวมถึงประเด็นเกี่ยวกับวัคซีนต้านโควิด 19 ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ยอดขายบ้านใหม่และบ้านมือสองเดือนมี.. รวมถึงดัชนี PMI ภาคการผลิตและการบริการ(เบื้องต้น) เดือนเม..ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ การประชุม ECB ดัชนี PMI ภาคการผลิตและการบริการ (เบื้องต้น) เดือนเม.. ของญี่ปุ่นและยูโรโซน และการกำหนดอัตราดอกเบี้ย LPR เดือนเม.. ของจีน