'ขายของออนไลน์' มียอดขายเท่าไร ถึงต้อง 'ยื่นภาษี' ?

'ขายของออนไลน์' มียอดขายเท่าไร ถึงต้อง 'ยื่นภาษี' ?

ทำความเข้าใจก่อน "ยื่นภาษี" สำหรับผู้ที่ "ขายของออนไลน์" ต้องมียอดขายเท่าไรถึงต้อง "ยื่นภาษี" และต้อง "เสียภาษี" อย่างไรบ้าง?

เวลาของการ "ยื่นภาษี" กลับมาอีกครั้ง "ปีภาษี 63" เริ่มเปิดให้ "ยื่นภาษีปี 63" ได้ตั้งแต่ 1 ม.ค.-31 มี.ค. 64 สำหรับการยื่นเอกสารที่กรมสรรพากร และยื่นภาษีผ่านช่องทางออนไลน์ได้ถึง 30 มิ.ย. 64

เมื่อพูดถึง การยื่นภาษี หลายนึกถึงแต่มนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ประจำ ทว่าในความเป็นจริงแล้วคนที่ทำอิชีพอิสระอย่างกลุ่มผู้ที่ "ขายของออนไลน์" ก็มีหน้าที่ยื่นภาษีเช่นกัน แต่คำถามที่ตามมาคือแล้วขายของออนไลน์ยอดขายเท่าไร ถึงต้อง "ยื่นภาษี" หรือ "เสียภาษี"

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" พาไปไขข้อสงสัยสำหรับ ผู้ที่กำลังขายของออนไลน์ หรือทำธุรกิจส่วนบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัท ว่าต้องยื่นภาษีหรือไม่ แล้วควรเตรียมตัวอย่างไร หากต้องการจัดการเรื่องภาษีให้ถูกต้อง

 

  •  "ขายของออนไลน์" ยอดขายเท่าไร ถึงต้อง "ยื่นภาษี" 

ปัญหาที่หลายคนเจอ คืออยากยื่นภาษีให้ถูกต้องแต่ไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ ต้องเสียภาษีเมื่อไร และต้องเตรียมการยื่นภาษีอย่างไร

(ผู้ที่ขายของออนไลน์ที่กำลังกล่าวถึงนี้ หมายถึง "คนขายของออนไลน์" ที่เป็นบุคคลธรรม ไม่ได้จดทะเบียนบริษัทเท่านั้น)

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า คนที่จะต้อง "ยื่นภาษี" คือคนที่มี "รายได้" หรือ "เงินได้" ตามที่กำหนด สำหรับบุคคลธรรมดาที่ต้องยื่นภาษีเมื่อมีรายได้มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน หรือ 120,000 บาท/ปี 

แต่ในกรณีบุคคลธรรมดา (ไม่เปิดขายในฐานะของบริษัท ห้างหุ้นส่วน) ที่มีรายได้จากการขายของออนไลน์ จะต้องยื่นภาษีเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ ม.40 (8) โดยยื่นแบบ ...90, 94 เมื่อมีได้รายเกิน 60,000 บาท (กรณีโสด) หรือมีรายได้เกิน 120,000 บาท (กรณีสมรส) ซึ่งในกรณีที่ทำทั้งงานประจำ และขายของออนไลน์ก็จะต้องยื่นภาษีทั้ง 2 แบบ หากรายได้ถึงตามเกณฑ์ข้างต้น

 

  •  ขายของออนไลน์ "คำนวณภาษี" ยังไง? 

การขายของออนไลน์ที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน) ยังถือว่าเป็นบุคคลธรรมดาที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะมีวิธีการคำนวณ 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1 (เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี ตามอัตราขั้นบันได

161580600582

การหักค่าใช้จ่ายในวิธีแรกสามารถทำได้ 2 แบบ คือ 

  • หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาๆ ได้ 60% ของรายได้
  • หักตามจริง ถ้าใช้วิธีจะต้องทำ "บัญชีรายรับรายจ่าย" และ "เก็บหลักฐาน" ไว้ใหครบถ้วนเพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ
วิธีที่ 2 : เงินได้ x 0.5%
 
โดยจะใช้วิธีที่ 2 เมื่อเรามีรายได้เกิน 1 ล้านบาทต่อปี แล้วนำไปเปรียบเทียบกับวิธีแรก เพื่อเสียภาษีตามวิธีที่คำนวณได้คุ้มกว่า
 
  •  "ขายของออนไลน์" ต้องยื่นภาษีแบบไหน ยื่นเมื่อไรบ้าง ? 

ผู้ขายของออนไลน์ที่เป็นบุคคลธรรมดาไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลก็ต้องยื่นภาษี ถูกจัดอยู่ในเงินได้ประเภทที่ 8 คือเงินได้จากการขายของ ซึ่งจะต้องยื่นภาษี 2 รอบ

รอบแรก: สิ้นปี ยื่นช่วงเดือน ..- มี.. (แบบ ... 90) จะเป็นการยื่นสรุปทั้งปีที่ผ่านมา

รอบสอง: กลางปี ยื่นช่วงเดือน ..-.. (แบบ ... 94) เป็นการยื่นสรุปรายได้ในช่วงครึ่งปีแรก (ม.ค.-มิ.ย.) โดยสามารถใช้ค่าลดหย่อนได้ครึ่งหนึ่ง เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 จะเหลือ 30,000

ส่วนผู้ขายของออนไลน์ อาจต้องจ่าย "ภาษีมูลค่าเพิ่ม" ด้วย ในกรณีที่มีรายได้ (ก่อนหักค่าใช้จ่าย) เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT โดยเสียภาษีอยู่ที่ 7% ของรายได้ ที่สำคัญคือจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน หลังจากมียอดขายเกิน 1.8 ล้านบาท (พืชผลทางการเกษตร สัตว์ ตำราเรียน ส่วนใหญ่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)

หากมีภาษีมูลค่าเพิ่มผู้ประกอบการก็ต้องยื่นภาษีทุกๆ เดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป และมีหน้าที่ต้องออก "ใบกำกับภาษี" ให้กับผู้มาใช้บริการด้วย

 
  •  ขายของออนไลน์ ต้องรู้จัก "ภาษีอีเพย์เมนต์" 
ส่วนกรณีที่มีการซื้อขายหรือไม่ก็ตาม แต่มีการรับโอนเงินถี่ๆ ข้อมูลในบัญชีนั้นๆ จะถูกส่งให้สรรพากรตรวจสอบตาม "ภาษีอีเพย์เมนต์" ได้มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค. 62 โดยกำหนดให้ ทางสถาบันการเงินต้องส่งข้อมูลการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของร้านค้าให้กับทางสรรพากรตรวจสอบ เมื่อเข้าเกณฑ์เงื่อนไขดังต่อไปนี้

1. มีการฝากหรือรับโอนเงินเข้าทุกบัญชี 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป ไม่ว่ายอดฝากต่อครั้ง หรือยอดรวมทั้งหมดจะเป็นกี่บาทก็ตาม

2. มีการฝากหรือรับโอนเงินเข้าทุกบัญชีรวมกัน 400 ครั้งต่อปีขึ้นไป และมียอดเงินรวมกันทั้งหมดตั้งแต่ 2 ล้านบาทต่อปีขึ้นไป

ซึ่งการนับจำนวนครั้งและจำนวนเงิน นับตั้งแต่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค. ของทุกปี 

โดยผู้ที่ส่งข้อมูลจำนวนเงินและจำนวนครั้งในการโอนตามเกณฑ์นี้ให้กับสรรพากร คือ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์

โดย ข้อมูลที่ต้องรายงานแก่สรรพากร คือ 

1. ชื่อเจ้าของบัญชี

2. เลขประจำตัวประชาชน

3. จำนวนครั้งที่ฝากหรือรับโอน (ยอดรวม)

4. จำนวนเงินที่ฝากหรือรับโอน (ยอดรวม)

ทั้งนี้การตรวจสอบจะยังไม่ถือว่าเงินในบัญชีที่เข้าเกณฑ์เป็นรายได้ทั้งหมด จะต้องมีการวิเคราะห์กับข้อมูลอื่นๆ เพื่อพิสูจน์ก่อนว่าเป็นรายได้ประเภทใด หากตรวจสอบพบว่าเป็นรายได้จริง 

 

   

  •  ขายของออนไลน์ เตรียมตัวจัดการภาษียังไงดี 

ขั้นตอนที่ 1 จดบันทึกรายการซื้อ-ขายสินค้า เพื่อนำมาใช้ในการทำบัญชีรายรับรายจ่ายรายวัน ทำให้ไม่ลืม ไม่สับสน ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถบริหารจัดการเรื่องเงินได้ง่ายกว่าการทำย้อนหลังมากๆ 

ขั้นตอนที่ 2 เก็บหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการค้า ธุรกรรมทางการเงิน จะช่วยให้เราสามารถตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาเมื่อสรรพากรเข้ามาขอตรวจสอบอีกด้วย โดยเฉพาะในกรณีที่ตรวจสอบพบว่าความถี่และจำนวนเงินโอนเข้าบัญชีเข้าเกณฑ์ภาษีอีเพย์เมนต์ ตามที่ได้กล่าวถึงในข้างต้น

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาและติดตามข่าวสารทางด้านการเงินและเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภาษีอย่างต่อเนื่อง เพราะเงื่อนไขในแต่ละปี มีอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ การอัพเดทอยู่เสมอจะช่วยให้จัดการภาษีได้ถูกต้องตามเงื่อนไข จัดการการเงินของตัวเองได้อย่างเหมาะสม และไม่มีปัญหาย้อนหลัง 

 

ที่มา: Krungsri Guru กรมสรรพากร