ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 'ฟรีแลนซ์' ต้องรู้! ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามกั๊ก 'ภาษีเงินได้'

ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 'ฟรีแลนซ์' ต้องรู้! ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามกั๊ก 'ภาษีเงินได้'

"ฟรีแลนซ์" ต้องรู้! นอกจากห้ามป่วย ห้ามพัก แล้วยังต้องห้ามกั๊ก "ภาษีเงินได้" พร้อมไขข้อข้องใจเมื่อถูกหัก ณ ที่จ่ายไปแล้ว ยังต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกหรือไม่? และมีวิธีการอย่างไรบ้าง?

เข้าสู่ฤดูกาลเสียภาษีกันแล้ว สำหรับปี 2563 เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ลากยาวต่อเนื่องมาจากปีที่ผ่านมา ทำให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติขยายระยะเวลาการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2563 รวมถึงภาษีเงิน ณ​ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม จากเดิมกำหนดไว้ว่าต้องยื่นผ่านช่องทางออนไลน์ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2564 ขยายเวลาออกไปถึง 30 มิถุนายน 2564 

ซึ่งสำหรับ "ฟรีแลนซ์" หรือกลุ่มอาชีพอิสระ ที่มีรายได้เกิดขึ้นเป็นครั้งเป็นคราว ไม่ได้มีรายได้ประจำ ไม่มีบริษัทหรือนายจ้างที่จะมาบริหารจัดการเงินให้ จำเป็นต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" หรือไม่? หากต้องเสียภาษีต้องคำนวณอย่างไร? แล้วเวลาที่รับเงินจากผู้จ้างงาน จ่ายภาษี  ที่จ่ายไปแล้ว ยังต้องเสียภาษีอยู่อีกหรือไม่? สรุปว่าฟรีแลนซ์ต้องยื่นภาษี 2 รอบจริงไหม "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" จะพาไปไขคำตอบกัน

ะแน่นอนว่าผู้ที่มีเงินได้ทุกคน เป็นหน้าที่ที่ต้องรู้ว่า จะต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยตามกฎหมายผู้ที่มีเงินได้เกิน 10,000 บาทต่อเดือน หรือ 60,000 บาทต่อปี จำเป็นต้องยื่นภาษีทุกคน โดยเงินได้ของฟรีแลนซ์จะเข้าข่าย "เงินได้ประเภทที่ 2" ตามประมวลรัษฎากร หรือ "เงินได้มาตรา 40 (2)" 

หลายคนเกิดคำถามขึ้นมาว่าจะรู้ "ประเภทเงินได้" ไปทำไม จริงๆ เป็นเรื่องจำเป็น เพราะเงินได้แต่ละประเภทสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้แตกต่างกัน โดยประเภทเงินได้แบ่งออกดังนี้

มาตรา 40 (1) เงินได้จากการจ้างแรงงาน ได้แก่ เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ฯลฯ

มาตรา 40 (2) เงินได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน หรือจากการรับทำงานให้นั้นไม่ว่าหน้าที่ หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว ฯลฯ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

มาตรา 40 (3) ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล

มาตรา 40 (4) เงินได้ที่เป็นดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไร เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากัน หรือรับช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน ฯลฯ *ไม่สามารถนำไปหักค่าใช้จ่ายได้

มาตรา 40 (5) เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น เช่น การให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน

มาตรา 40 (6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอิสระอื่น ซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้

มาตรา 40 (7) เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ

มาตรา 40 (8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว

ที่สำคัญเมื่อได้เงินจากการทำงานแล้ว อย่าลืมเก็บเอกสาร "ใบหักภาษี  ที่จ่าย" หรือที่เรียกว่า "ใบ 50 ทวิ" ไว้ด้วยทุกครั้ง เนื่องจากต้องนำเอาข้อมูลในเอกสารนี้ไปยื่นภาษี หากฟรีแลนซ์คนไหนที่ไม่ได้ใบหักภาษี  ที่จ่าย ก็ควรที่จะทวงถามจากผู้ว่าจ้างทุกครั้ง โดยกรณีนี้จะต้องเป็นรายได้ที่เกิน 1,000 บาทขึ้นไป

ซึ่งโดยปกติแล้ว หากรับงานฟรีแลนซ์ ผู้ว่าจ้างส่วนใหญ่จะ หักภาษี  ที่จ่าย ทันที โดยผู้ว่าจ้างจาก 2 รูปแบบ คือ

1. หัก 3% ของเงินที่จ่ายทุกครั้ง

2. คำนวณภาษีจากรายได้สะสมที่ได้รับจากผู้ว่าจ้าง เช่น ผู้ว่าจ้างหักภาษี  ที่จ่าย 3% ซึ่งตรงส่วน 3% นี้เหมือนเป็นการจ่ายภาษีล่วงหน้าไปแล้ว แต่ยังไม่สิ้นสุดกระบวนการเสียภาษี เนื่องจากต้องดูว่า เงินได้อยู่ในลำดับขั้นใดของเงินได้สุทธิ หากคำนวณแล้วภาษีที่ต้องจ่าย มากกว่า 3% ที่โดนหัก  ที่จ่ายไป ฟรีแลนซ์จะต้องจ่ายภาษีเพิ่ม หรือหากน้อยกว่า ก็สามารถขอคืนภาษีได้ด้วย

157838623586

โดยกรอบเวลาการยื่นและจ่ายภาษีมีทั้งช่วงต้นปี ตั้งแต่มกราคม-มีนาคมของปีถัดไป

แต่!! หากฟรีแลนซ์มีรายได้จากเงินได้ประเภท 40(5)-(8) ต้องนำรายได้ส่วนนั้นที่ได้รับในครึ่งปีแรกไปยื่นภาษีตามแบบ ...94 ในช่วงกรกฎาคมกันยายน ของปีนั้นๆ

เมื่อกี้พูดถึงการคำนวณภาษีที่ต้องดูจาก "เงินได้สุทธิ" ไป ขออธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจมากขึ้นว่า เงินได้สุทธิ มาจาก เงินได้พึงประเมิน หรือเรียกง่ายๆ ก็คือรายได้ทั้งหมดที่เรารับตลอดปี หักลบด้วยค่าใช้จ่าย และหักลบด้วยค่าลดหย่อนเพิ่มเติม เช่น มาจากการซื้อกองทุน LTF RMF ประกันสังคม ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ เป็นต้น หรือจะเข้าใจง่ายขึ้นด้วยสมการนี้

เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน

ส่วนเรื่องของค่าใช้จ่ายนั้น สำหรับฟรีแลนซ์จะเป็นรูปแบบ การหักแบบเหมา ซึ่งรูปแบบนี้ไม่ต้องมีเอกสารหลักฐานค่าใช้จ่ายมายืนยัน

สำหรับรายได้ประเภท 40 (2) สามารถหักเหมา 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ประเภท 40 (6) หักเหมาได้ 30% และประเภท 40 (8) สามารถหักเหมาได้ 30-60% แต่ไม่เกิน 600,000 บาท ส่วนของการลดหย่อนนั้นจะมีรูปแบบที่หลากหลาย หรืออ่านเพิ่มเติม คลิกที่นี่ > เตรียมตัวก่อน ‘ยื่นภาษี 2563’ อะไร ‘ลดหย่อนภาษี’ ได้บ้าง?

หลังจากเข้าใจที่มาในแต่ละส่วนแล้ว การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งกรมสรรพากรได้กำหนดเกณฑ์อัตราภาษีตามขั้นเงินได้สุทธิต่อปี ดังนี้

วิธีคำนวณ 'เงินได้สุทธิ' ก่อน 'ยื่นภาษี' ปี62

ส่วนวิธีการคำนวณภาษี ก็คือ นำ เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี (ตามตารางด้านบน)

ทั้งนี้สำหรับยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบบฟอร์ม ...90 สามารถทำได้ 3 รูปแบบ คือ

1.ยื่นแบบกระดาษด้วยตัวเองที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา 

2.ยื่นที่ทำการไปรษณีย์ แต่รูปแบบนี้มีเงื่อนไขว่าต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพเท่านั้น และต้องแนบเช็ค หรือธนาณัติ (ตามจำนวนภาษีที่ต้องจ่าย) เพื่อส่งไปที่กองบริหารการคลังและรายได้ กรมสรรพากร อาคารสรรพากร เลขที่ 90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

3.ยื่นออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร 

สำหรับวิธีการจ่ายเงิน ใครสะดวกจ่ายเงินสดก็ได้ หรือจ่ายด้วยบัตรเครดิตก็มี ทั้งของธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงเทพ รวมถึงสามารถชำระด้วยเช็คและธนาณัติ นอกจากนี้หากภาษีที่ต้องจ่ายตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ทั้งภาษีครึ่งปีและภาษีสิ้นปี ผู้เสียภาษีสามารถผ่อนชำระได้เป็น 3 งวด แต่ถ้าไม่ได้ชำระภายในกำหนด ผู้เสียภาษีหมดสิทธิที่จะชำระภาษีเป็นรายงวด และต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ

157838749838

ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่ต้องจำให้ได้คือ ระยะเวลาในการยื่นและจ่ายภาษีของแต่ปี หากเลยกำหนด หรือไม่ครบถ้วน อาจต้องเสียเพิ่มและเบี้ยปรับตามกฎหมายกำหนด ซึ่งเมื่อเป็นแบบนั้นจริงๆ อาจต้องแบกภาระรายจ่ายหลังเดาะได้แน่ๆ

ที่มา : กรมสรรพากร, iTax, Freelance Bay, wealthmeup