ชําแหละ ‘รัฐประหารเมียนมา’ เหตุ ‘ทหาร’ ตัดวงจรประชาธิปไตย

ชําแหละ ‘รัฐประหารเมียนมา’ เหตุ ‘ทหาร’ ตัดวงจรประชาธิปไตย

อาจารย์ธรรมศาสตร์ ระบุ ต้นเหตุรัฐประหารเกิดจากความนิยมของทหารลดลง กองทัพจําเป็นต้องตัดวงจรประชาธิปไตย หวั่นกระทบ “กระบวนการสันติภาพ” แนวตะเข็บชายแดน การค้า-สัญญา กับเอกชนไทย

ผศ.ดร.ดุลยภาค ปรีชารัชช รองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และการเมืองการปกครองของเมียนมา เปิดเผยว่า เหตุการณ์รัฐประหารในเมียนมาเกิดขึ้นจาก 2 ปัจจัย ได้แก่ 1. ปัจจัยสะสม กล่าวคือเมียนมามีการ ปกครองด้วยระบอบทหารมายาวนาน ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยแต่ก็ยังควบคุมโดยกองทัพ เพียงแต่ในระยะหลังๆ ฝั่งพลเรือนมีอํานาจมากขึ้นจนกองทัพเริ่มไม่สามารถควบคุมภูมิทัศน์การเมืองได้ถนัด มือนัก

2. ปัจจัยกระตุ้น ซึ่งเป็นผลพวงจากการที่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ได้รับความ นิยมอย่างล้นหลามจากประชาชน จนทําให้พรรคสหสามัคคีและการพัฒนา (USPD) ที่หนุนโดยกองทัพไม่ สามารถสู้ได้ โดยเฉพาะในการเลือกตั้งช่วงเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา นั่นทําให้กองทัพจําเป็นต้องตัดวงจร ไม่ให้พรรคฝ่ายประชาธิปไตยสามารถสยายปีกได้ต่อไป ด้วยการสร้างรัฐทหารชั่วคราว จับกุมผู้นํา และ ประกาศสภาวะฉุกเฉิน

การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยนั้นก็ถูกเปลี่ยนโดยชนชั้นนําทหาร เพราะฉะนั้นจึงไม่มีทาง ที่จะเป็นประชาธิปไตยเต็มใบได้ในเร็วพลัน สิ่งที่รัฐบาลทหารต้องการคือการมีประชาธิปไตยครึ่งใบ ซึ่ง รัฐธรรมนูญปี 2551 ของเมียนมาก็ยังมีตัวแทนจากกองทัพซึ่งก็เป็นกลุ่มที่มีอภิสิทธิ์เข้าไปถ่วงดุลกับรัฐบาลพล เรือนผศ.ดร.ดุลยภาค กล่าว

ผศ.ดร.ดุลยภาค กล่าวต่อว่า ฝ่ายกองทัพระบุถึงเหตุผลในการทํารัฐประหารครั้งนี้ว่าการเลือกตั้งที่ จัดตั้งภายใต้รัฐบาล NLD มีความไม่ชอบมาพากล ไม่โปร่งใส เกิดสถานการณ์การสู้รบ รวมถึงการระบาดของ โควิด-19 ที่ส่งผลให้บางพื้นที่ไม่สามาถจัดการเลือกตั้งได้ อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวมองว่าเป็นเหตุผลที่ไม่มีน้ําหนัก มากถึงขนาดต้องทําการรัฐประหาร

ผศ.ดร.ดุลยภาค กล่าวว่า สิ่งที่พิเศษอย่างหนึ่งในการทํารัฐประหารครั้งนี้คือกองทัพทหารเมียนมา พยายามทําให้รูปแบบการรัฐประหารอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยยกมาตรา 417 ในรัฐธรรมนูญที่เขียนโดยกองทัพ ระบุว่าประธานาธิบดีสามารถประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และสามารถถ่ายโอนอํานาจให้กับกองทัพ ได้ ส่งผลให้อํานาจนิติบัญญัติ อํานาจบริหาร และอํานาจตุลาการ ถูกแทนที่โดยโครงสร้างของกองทัพซึ่งก็ไม่ได้ ขัดตามหลักกฎหมาย

ผมตั้งข้อสังเกตได้ว่าในมาตรา 417 ได้พูดถึงการประกาศสภาวะฉุกเฉินว่าต้องเกิดอันตรายต่อ อธิปไตยแห่งรัฐ เช่นมีการรุกรานจากกองกําลังต่างชาติ เกิดสงครามกลางเมือง หรือมีเหตุการณ์รุนแรง แต่ที่ ผ่านมาในประเทศเมียนมาก็ไม่ได้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้น กระนั้นผศ.ดร.ดุลยภาค กล่าว

ผศ.ดร.ดุลยภาค กล่าวอีกว่า ในเรื่องของความรุนแรงของสถานการณ์นั้น เนื่องจากเริ่มมีกลุ่ม ประชาชนที่ไม่พอใจที่ทําให้ระบอบประชาธิปไตยเดินถอยหลัง ส่วนตัวมองว่าฝ่ายที่ยึดอํานาจในครั้งนี้เตรียม การณ์รับมือไว้แล้วว่าจะต้องถูกกดดันจากนานาชาติ และมีการเคลื่อนขบวนของประชาชน ซึ่งกองทัพเมียนมา เองมีความช่ำชองในการตั้งรับการประท้วง และรู้จักยุทธ์ศาสตร์ในเมืองเนปิดอว์ซึ่งเป็นจุดที่มีการยึดอํานาจ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่ประชาชนจะออกมาประท้วง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะรูปแบบของถนนขนาดใหญ่ และ สถานที่ราชการที่ตั้งห่างกันพอสมควร ภูมิทัศน์เหล่านั้นค่อนข้างเอื้อให้กับกลุ่มกองทัพมากกว่าในการส่งรถถัง ไปในภูมิทัศน์ที่กว้างกว่าเพื่อล้อมกรอบประชาชน

ผศ.ดร.ดุลยภาค กล่าวถึงผลกระทบจากการทํารัฐประหารต่อประเทศไทยว่า ส่วนตัวมองถึงเรื่องของ กระบวนการสันติภาพ กับกระบวนการติดอาวุธของกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งก็มีไม่น้อยตามตะเข็บชายแดนไทยเมียนมา การรัฐประหารอาจทําให้กระบวนการเหล่านี้สะดุดลงเนื่องจากกองทัพเข้ามายึดอํานาจ แต่ก็มีเรื่อง ของการปิด-เปิดด่านการค้าชายแดน ซึ่งมีผลต่อการขนส่งสินค้าและบริการ นอกจากกนี้อาจจะต้องดูถึงสัญญา ต่างๆ ที่ภาคธุรกิจและเอกชนไทยเข้าไปติดต่อเมื่อเปลี่ยนรัฐบาลแบบฉับพลันซึ่งก็เป็นเรื่องที่ต้องจับตาดูต่อไป อีกสักระยะหนึ่ง

สําหรับโรคระบาดโควิด-19 ทางกองทัพไทยก็ได้มีการตรึงกําลังมากขึ้นเพื่อป้องการหลบหนีเข้าเมือง ซึ่งผู้ติดเชื้อในเมียนมาก็มีตัวเลขที่ค่อนข้างสูง รวมไปถึงผู้ลี้ภัย นักกิจกรรมทางการเมืองที่อาจจะลอบเข้ามาได้ ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่ได้มีรายงานเป็นที่แน่ชัด ในอนาคตด็ต้องจับตาดูว่าสถานการณ์ว่าจะเป็นอย่างไร