ADBขายบิ๊กล็อตหุ้นBGRIM ให้กองทุนสถาบันในประเทศ-ต่างประเทศ

ADBขายบิ๊กล็อตหุ้นBGRIM  ให้กองทุนสถาบันในประเทศ-ต่างประเทศ

 “นพเดช” แจง เอดีบี โยนบิ๊กล็อตหุ้น “บีกริม”  53.6 ล้านหุ้น มูลค่า 2.71 พันล้านบาท ให้กองทุนสถาบันในประเทศ-ต่างประเทศ เหตุ จากจำเป็นต้องปรับพอร์ต  แย้ม ปีนี้มีแผนซื้อกิจการโรงไฟฟ้าเพิ่มราว1 พันเมกะวัตต์  มั่นใจอิบิดามาร์จินปีนี้แตะ 29% จากเดิม26%

วานนี้(20 ม.ค.)พบรายการซื้อขายบนกระดานรายใหญ่ (Big Lot)หุ้นบริษัทบี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)หรือBGRIM รวมจำนวน 8 รายการ รวม 52.29 ล้านหุ้น ราคาเฉลี่ย 52 บาท มูลค่า รวม 2,719.35 ล้านบาท แบ่งเป็น บนกระดานหลัก จำนวน 5 รายการ 53.36 ล้านหุ้น มูลค่า 1,838.88 ล้านบาท บนกระดานต่างประเทศ 3 รายการ จำนวน 16.93 ล้านหุ้น มูลค่า 880.46 ล้านบาท

นายนพเดช กรรณสูต ประธานเจ้าหน้าที่บริการการเงินและบัญชี บริษัทบี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)หรือBGRIM เปิดเผยว่า บิ๊กล็อตที่เกิดขึ้นเป็นการขายของ ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ให้กับกองทุนในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจาก ADB มีความเป็นต้องปรับพอร์ต เพื่อสามารถมีวงเงินในการสนับสนุนสินเชื่อให้กับกลุ่มของ BGRIM ซึ่งกองทุนที่เข้ามาซื้อนั้นเป็นกองทุนที่ถือหุ้นของ BGRIM อยู่แล้ว ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จากมีความเชื่อมั่นการดำเนินธุรกิจของบริษัทในระยะยาว เช่น บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)กสิกรไทย ,บลจ.ทิสโก้,บลจ.กรุงศรี ,บล.ไทยพาณิชย์, บลจ.ภัทรฯลฯ

 “เดิมADB ถือหุ้น  BGRIM จำนวน 2.01%  แต่ที่ต้องขายบิ๊กล็อตออกมานั้น เพราะ มีความจำเป็นต้องบริหารพอร์ต ”

สำหรับผลการดำเนินงานปีนี้มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าอิบิด้ามาร์จินเพิ่มขึ้นเป็น 28-29% จากที่ผ่านมาอยู่ที่ประมาณ 26% เนื่องจาก รับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าที่จะจ่ายไฟฟ้า เพิ่มอีก ประมาณ 51 เมกะวัตต์ คือ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่กัมพูชา และโรงไฟฟ้าพลังงานลมอีก 16 เมกะวัตต์ ,โซลาร์รูฟท็อปอีกกว่า20 เมกะวัตต์ และการเข้าซื้อกิจการโรงไฟฟ้าในช่วงครึ่งปีหลัง 2564

รวมถึงรายได้การขายไฟแก่ลูกค้าเดิมในภาคอุตสาหกรรมฟื้นตัว ทำให้มีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น เช่นกลุ่ม ยานยนต์ฯลฯและมีลูกค้าใหม่ที่มีความต้องการใช้ไฟเพิ่มอีก 70 เมกะวัตต์ ขณะที่ต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ รวมถึงประสิทธิภาพการบริหารโรงไฟฟ้าที่ดีขึ้น ฯลฯ

ในปีนี้บริษัทตั้งงบลงทุน 50,000 ล้านบาท แบ่งเป็น ลงทุนในการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก(SPP)รวม7 แห่ง ซึ่งแหล่งเงินทุนก็จะมาจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน การขอสินเชื่อโครงการ

นอกจากนี้บริษัทมีแผนที่จะออกหุ้นกู้เพิ่มอีก 3-5 พันล้านบาท ในปีนี้ เพื่อเตรียมไหว้ในการลงทุนเพิ่ม เพราะ บริษัทมีแผนที่จะเข้าซื้อกิจการโรงไฟฟ้าเพิ่มอีกราว1 พันเมกะวัตต์โดยอยู่ระหว่างการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ