'สมุทรสาคร' ยกระดับสกัดโควิด-19 ห้ามรถโดยสาร เข้า-ออก ฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำ-ปรับ

'สมุทรสาคร' ยกระดับสกัดโควิด-19 ห้ามรถโดยสาร เข้า-ออก ฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำ-ปรับ

"สมุทรสาคร" ยกระดับสกัดโควิด-19 ออกคำสั่งห้ามรถโดยสาร เข้า-ออก พื้นที่หากฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ

เมื่อวันที่ 27 ธ.ค.63 สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในจังหวัดสมุทรสาคร ความเคลื่อนไหวล่าสุด นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ในฐานะประธานกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสมุทรสาคร ผู้กํากับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดสมุทรสาคร ลงนามในคําสั่ง เรื่อง ระงับการเดินรถโดยสารประจําทางในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครเป็นการชั่วคราวแล้ว 

ตามที่ได้มีคําสั่งจังหวัดสมุทรสาคร ที่ 3583 /2563 ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เรื่อง มาตรการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ฉบับที่ 22) อีกทั้งสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในจังหวัดสมุทรสาคร พบผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น อย่างรวดเร็วในกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่มาประกอบอาชีพเป็นจํานวนมาก ซึ่งปัจจุบันพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว ซึ่งมีโอกาสในการแพร่กระจายของเชื้อได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกัน และจํากัดวงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 22 (2) และมาตรา 35 (1) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสมุทรสาคร ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสมุทรสาคร ครั้งที่ 53/2563 วันที่ 20 ธันวาคม 2563 และครั้งที่ 59/2563 วันที่ 26 ธันวาคม 2563 จึงมีคําสั่งให้ระงับการเดินรถ ห้ามหยุดและจอดรถโดยสารประจําทาง ดังนี้

1.การเดินรถโดยสารประจําทางในเส้นทางหมวด 2 และหมวด 3 ที่มีต้นทางหรือปลายทางในเขตจังหวัดสมุทรสาคร ห้ามเดินรถเข้าหรือออกจากพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร

2.การเดินรถโดยสารประจําทางในเส้นทางหมวด 2 และหมวด 3 ที่เงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งกําหนดเส้นทางผ่านจังหวัดสมุทรสาคร ห้ามหยุดและจอดเพื่อรับส่งผู้โดยสารในพื้นที่ จังหวัดสมุทรสาคร

กรณีผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งฉบับนี้ มีโทษตามนัยมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และมาตรา 18 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

อนึ่ง ด้วยเหตุที่เป็นกรณีมีความจําเป็นเร่งด่วน เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชนและประโยชน์ สาธารณะ หากปล่อยให้เนิ่นช้าไป จะก่อผลเสียหายร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจ ให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้งตามนัยมาตรา 30 วรรค 2 (1) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หรือจนกว่าจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลง

สั่ง ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2563

160906546159