แนะ4 วัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันครอบครัวมีสุข

แนะ4 วัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันครอบครัวมีสุข

ม.มหิดล เผยระดับคะแนน “ครอบครัวมีสุข” ปี 2562 เฉลี่ยเท่ากับ 68.7 เดินหน้าขับเคลื่อนสร้าง “นักสร้างเสริมครอบครัวมีสุข” ในองค์กร ขณะที่สสส.กระตุ้นสร้างคุ้มกันให้ครอบครัวไทย ฉีดวัคซีนเข้มแข็ง-อบอุ่น-สงบสุข-พอเพียง พร้อมเผชิญทุกปัญหา

ผลการสำรวจครอบครัวมีสุขของคนทำงานองค์กรในปี 2562 ระหว่างเดือนมกราคม ถึง เมษายน 2562 จำนวนทั้งสิ้น12,565 คน พบว่า ดัชนีครอบครัวมีสุขของคนทำงานองค์กร คือ 68.7 โดยแบ่งเป็น ความอบอุ่นมีค่า 72.2 ความสงบสุขมีค่า  76.7 ความเข้มแข็งมีค่า  60.0 และความพอเพียงมีค่า 64.9

โดยผลการสำรวจดังกล่าว เป็นการดำเนินการภายใต้โครงการการสร้างเสริมครอบครัวอบอุ่นและมีสุขเพื่อคนทำงานองค์กรปี 2561-2564 โดยขับเคลื่อนครอบครัวอบอุ่นไปสู่ครอบครัวมีสุขสนับสนุนองค์กรภาคี 122 องค์กรทั่วประเทศให้สามารถสร้างเสริมครอบครัวมีสุขคนทางานองค์กรอย่างต่อเนื่อง

ภายใต้แนวคิดครอบครัวมีสุขโดย 4 องค์ประกอบนำไปสู่ครอบครัวมีสุขได้แก่ ความอบอุ่น มีความผูกพันเข้าใจ ความพร้อมในการปรับตัว 2.ความสงบสุข หมายถึงไร้ความรุนแรง 3.ความเข้มแข็งมีภูมิคุ้มกัน พึ่งพาตนเองได้และ4.ความพอเพียง พอประมาณ มีความรับผิดชอบต่อสังคม จัดทำโดยมหาวิทยาลัยมหิดล และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)

สำหรับการสร้างภูมิคุ้มกันครอบครัวมีสุขด้วย 4 วัคซีน ได้แก่ วัคซีนเข้มแข็ง วัคซีนอบอุ่น วัคซีนสงบสุข และวัคซีนพอเพียง เป็นการสร้างครอบครัวสุขภาวะให้เป็นพื้นฐานแห่งความสุขของคนในชาติ หนุนเสริมทุกภาคส่วนในการสร้างครอบครัวอบอุ่นและครอบครัวมีสุข เพื่อเกิดเป็นต้นแบบ ขยายฐานอย่างต่อเนื่อง

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.กล่าวในงานในงาน "25 องค์กรต้นแบบครอบครัวมีสุขประจำปี 2563  Happy Family Award 2020ว่า องค์กรต้นแบบครอบครัวมีสุข ซึ่งเป็นเรื่องของการดูแลคนในองค์กรให้มีความสุขทั้งกาย ใจ สังคม และปัญญา ซึ่งเป็นเรื่องหลักของสสส.ในการส่งเสริม  ดังนั้น การสร้างความสุขให้แก่ครอบครัวไทย มี 24 ล้านครอบครัวโดยประมาณ  สิ่งแรกที่ต้องทำให้ได้ คือ การเข้าถึงครอบครัวและส่งเสริมให้มีการสร้างสุข โดยในโครงการองค์กรต้นแบบความสุข ซึ่ง สสส.สนับสนุนม.มหิดลของต้องผ่านองค์กรเพื่อสร้างครอบครัวความสุขรอบด้าน   อันนำไปสู่การสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี

"เรื่องครอบครัวอบอุ่น  ครอบครัวที่สะท้อนการมีความสุข สามารถทำได้ผ่านชุมชน ในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนมีสุข  แต่ในยุคอุตสาหกรรมต้องยอมรับว่าทำลายครอบครัวดั่งเดิมจากครอบครัวใหญ่ เป็นครอบครัวเดี่ยว ซึ่งในศตวรรษที่21 การพัฒนามิติครอบครัวให้ยั่งยืน ต้องเข้าใจการทำงานของคนรุ่นใหม่ เพราะพวกเขาไม่ได้เติบโตมาเพียงต้องการสวัสดิภาพ หรือความปลอดภัย ค่าครองชีพ แรงขั้นต่ำ ที่จะได้รับเท่านั้น แต่เขาต้องการความสุข และชีวิตที่ดีในการทำงานร่วมด้วย ซึ่งเมื่อพูดHappy Family ต้องทำให้ชีวิตที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของการตื่น ใช้เวลาไปกับการทำงานในองค์กร เป็นมิติแห่งความสุข ตื่นมาแล้วอยากทำงาน อยากไปองค์กร"ดร.สุปรีดา กล่าว

สถานการณ์แนวโน้มครอบครัวไทยยุคใหม่มีหลายเรื่องที่น่ากังวล ด้วยลักษณะของครอบครัวหลักของสังคมไทยส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยวมีสมาชิกในครอบครัว 2-3 คน ซึ่งครอบครัวที่มีสมาชิก 1-2 คน มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นสูงมาก ขณะเดียวกันครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และส่วนใหญ่เป็นครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยวมากกว่า 1 ใน 3 ของครอบครัวที่มีเด็กเจเนอเรชั่นซี-อัลฟ่า (Generation Z-Alpha) ซึ่งมีอายุระหว่าง 3-14 ปี มีแนวโน้มที่ไม่ได้อยู่พร้อมหน้าพ่อแม่ลูก และเกิดครอบครัวแหว่งกลางเพิ่มขึ้น หรือ ครอบครัวที่มีรุ่นปู่ย่าตายายอาศัยอยู่กับรุ่นหลานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเท่าตัว

ที่น่าห่วงที่สุดคือ ในปี 2560 มีผู้สูงอายุ ร้อยละ 41.5 จากประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด 11.3 ล้านคน อาศัยอยู่ในครอบครัวเปราะบาง ที่ผู้สูงอายุต้องพึ่งพาตนเองหรือดูแลคนในครอบครัว ในจำนวนนี้ ร้อยละ 50.2 ผู้สูงอายุอาศัยอยู่กับคู่สมรสตามลำพัง และร้อยละ 26.1 ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพังคนเดียวอยู่ตามลำพังมีแนวโน้มสูงขึ้น

วิกฤติทางสังคมที่ครอบครัวไทยต้องเผชิญเพราะผลกระทบจากโควิด-19 พบว่า ด้านเศรษฐกิจและการเงินมีครอบครัวไทยเพียงร้อยละ 23.4 เท่านั้น ที่ไม่มีปัญหาด้านการเงิน แต่อีกร้อยละ 76.6 ต้องเผชิญกับปัญหาด้านการเงินและเศรษฐกิจในระดับที่แตกต่างกันไป ด้านสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัว พบว่า มีครอบครัวไทยร้อยละ 5.8 ที่เมื่อมีความหงุดหงิดและโมโหแทบไม่สามารถควบคุมการใช้อารมณ์กับคนในครอบครัวได้เลย ทำให้ร้อยละ 0.9 มีการใช้ความรุนแรงทางร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว ทั้งความขัดแย้งทางความคิด มุมมองทางการเมืองที่ไม่ตรงกัน ช่องว่างระหว่างวัย

"ครอบครัวในศควรรษต่อไป ต้องเป็นครอบครัวเข้มแข็ง ทุกคนต้องมีความสุขทั้งที่บ้าน ที่ทำงานและชุมชน เพราะต่อให้อนาคตทุกคนจะมีความเป็นปัจเจกชุมมากขึ้น แต่ทุกคนก็สามารถทำงานได้ในสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปโดยมีทักษะทั้งด้านวิชาชีพของตนเอง และมีทักษะสังคม ตวรราต่อไปต้องสร้างความเข้มแข็วของครอบครัวทั้งในครอบครัว ที่ทำงาน  และชุมชน จะเป็นสังคมแบบปัจเจกชนประชาชนวัยแรงงาน นอกจากทักษะพื้นฐานและต้องมีทักษะสังคม การทำงานร่วมกัน  องค์กรต้องมีนโยบายที่เป็นมิตร ช่วยเสริมสร้างให้คนในองค์กรมีความสุข" ดร.สุปรีดา กล่าว