ค่าฝุ่นวันนี้พุ่ง! 4 กลุ่มเสี่ยงงดกิจกรรมกลางแจ้ง ลดผลกระทบPM2.5

ค่าฝุ่นวันนี้พุ่ง! 4 กลุ่มเสี่ยงงดกิจกรรมกลางแจ้ง ลดผลกระทบPM2.5

ค่าฝุ่น PM2.5พุ่ง กรมควบคุมโรค แนะ 4 กลุ่มเสี่ยงงดกิจกรรมกลางแจ้ง หวั่นกระทบสุขภาพรุนแรงกว่าคนทั่วไป  หนุนคนกรุง “work From home”ลfการสัญจรลดฝุ่น ยกช่วงทำงานที่บ้านป้องกันโควิด-19 ฝุ่นPM2.5 หายเกลี้ยง

    เมื่อวันที่  15 ธ.ค.2563 ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) กล่าวถึงสถานการณ์ฝุ่นPM2.5ว่า สถานการณ์ฝุ่นPM2.5เกินค่ามาตรฐานในพื้นที่กรุงเทพฯปีนี้ถือว่ามาเร็วกว่าปีก่อนที่เกิดในเดือนมกราคม แต่ก็ในช่วงเวลาไม่ห่างกันมาก ซึ่งกรมมีการเฝ้าระวังใน 3 ส่วน ได้แก่ 1.สภาวะแวดล้อม ติดตามสถานการณ์PM2.5ตามค่ามาตรฐานต่างๆ 2.การเกิดโรคในคน 4 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว แน่นหน้าอก  2.กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล แสบจมูกและลำคอ  3.กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ เช่น อาการคันตามร่างกาย มีผื่นแดงตามร่างกาย
         และ 4.กลุ่มโรคตาอักเสบ เช่น อาการแสบหรือคันตา น้ำตาไหล และตาแดง หากสงสัยหรือมีอาการผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว และ3.คนกลุ่มเสี่ยง คือ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์   ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหืด ภูมิแพ้ จึงควรงดกิจกรรมกลางแจ้งเพราะหากได้รับมลพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็กเข้าสู่ร่างกาย อาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยหรือมีผลกระทบต่อสุขภาพที่รุนแรงมากกว่าประชาชนทั่วไป
160801300943

     ต่อข้อถามค่าฝุ่นPM2.5ที่สูงขึ้นจะโอกาสการแพร่กระจายของโควิด-19สูงหรือไม่ นพ.โอภาส กล่าวว่า ฝุ่นทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในส่วนภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ เช่น เซลล์เยื่อจมูกอ่อนแอลง ทำให้ติดเชื้อง่ายขึ้น แต่ปัจจัยทางสังคม คือ เมื่อมีฝุ่นมากคนก็จะไม่ออกจากบ้าน หรือลดการทำกิจกรรมลง ก็ทำให้ความเสี่ยงในการรับเชื้อและทำให้ติดโควิด-19ลดลงด้วย  ยกเว้นว่า หากรับเชื้อโควิดและรับฝุ่น PM2.5 เมื่อเข้าไปในปอดจะยิ่งทำให้อาการแย่ลงได้ อย่างไรก็ตาม หากรับฝุ่นที่เข้าไปทำลายปอด และรับเชื้อก่อโรคโควิด-19ที่ทำลายปอดเช่นกัน ก็จะทำให้ปอดแย่ลงได้ง่าย

    ผู้สื่อข่าวถามว่า ควรจะมีการส่งเสริมการทำงานที่บ้าน(Work From Home)เพื่อลดค่าฝุ่นPM2.5ในบางช่วงเวลาหรือไม่ นพ.โอภาส กล่าวว่า เชื่อว่าสถานการณ์จะอยู่ไม่นาน ซึ่งการลดฝุ่นควันขึ้นอยู่กับทุกคนร่วมกัน เช่น ลดการใช้ยายพาหนะส่วนตัว มาใช้รถโดยบสารสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้าแทน ส่วนการทำงานที่บ้านนั้นมีข้อดี คือ ลดการเดินทางและประสิทธิภาพการทำงานก็ไม่ได้ลดลง แต่อาจจะมีบางงานที่ไม่สามารถทำงานที่บ้านได้ เช่น เจ้าหน้าที่ในสถานพยาบาล แต่หากเป็นงานที่สามารถทำงานที่บ้านได้ ไม่ทำให้ประสิทธิภาพงานลดลงก็เป็นมาตรการที่น่าส่งเสริม โดยพิจารณาเป็นระยะๆที่มีค่าฝุ่นสูงมาก ทั้งนี้ ในช่วงการรณรงค์ทำงานที่บ้านเพื่อป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19นั้น ผลในส่วนของPM2.5พบว่าหายเกลี้ยงไม่มีเลย อย่างไรก็ตาม การที่ค่าPM2.5สูงในพื้นที่มีหลายปัจจัย อาทิ สภาพอากาศ และต้นตอที่ทำให้เกิด ซึ่งมีในส่วนของยานพาหนะด้วย
160800694078
       นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า ค่า PM2.5 ในแต่ละจุดแต่ละเวลามีความแตกต่างกัน ทำให้ผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนจึงขึ้นอยู่กับหลายองค์ประกอบ คือ 1.ตำแหน่งที่อยู่อาศัยหรือตำแหน่งที่ทำกิจกรรม  2.ช่วงเวลาและระยะเวลาที่สัมผัส  3.ชนิดของกิจกรรมที่ทำในพื้นที่ที่มีค่า PM2.5 สูง เช่น การออกกำลังกายกลางแจ้ง ทำงานกลางแจ้ง จะมีความเสี่ยงที่จะได้รับ PM2.5 มากกว่ากลุ่มคนที่ออกกำลังกายในที่ร่ม หรือทำงานในอาคาร  4.ปัจจัยเฉพาะบุคคล โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง

     ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนลดการเพิ่มปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ เช่น ลดการใช้รถยนต์และรถที่มีควันดำ ลดการเผาขยะ หรือเผาในที่โล่งแจ้ง รวมถึงดูแลทำความสะอาดบ้าน ให้ปลอดฝุ่น โดยการใช้ผ้าชุบน้ำเช็ด และปิดประตู หน้าต่างให้มิดชิด ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรออกนอกบ้านหรือทำกิจกรรม    นอกบ้าน เช่น ออกกำลังกายหรือทำงานกลางแจ้ง โดยเฉพาะบริเวณหรือเส้นทางที่มีฝุ่นหนาแน่น หากจำเป็นควรป้องกันการสัมผัสฝุ่นให้น้อยที่สุด โดยการสวมหน้ากากป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก และที่สำคัญควรสวมใส่หน้ากากอย่างถูกวิธี นอกจากนี้ผู้ที่เดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ ควรป้องกันตนเองโดยการสวมหน้ากาก แว่นตา เสื้อแขนยาว เพื่อป้องกันฝุ่น เพราะฝุ่นจะทำให้เกิดการระคายเคืองตาและผิวหนังได้ สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422