สกพอ.เร่งบัณฑิตอาสา สร้างบิ๊กดาต้าหนุนอีอีซี

สกพอ.เร่งบัณฑิตอาสา  สร้างบิ๊กดาต้าหนุนอีอีซี

สกพอ.–กรมพัฒนาชุมชน ปั้น “บันฑิตอาสา” ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเชิงลึกในอีอีซี ทำบิ๊กดาต้า พร้อมทำโครงการพัฒนาให้ตรงกับความต้องการของชุมชน

นายณยศ คุรุกิจโกศล รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกิจการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน(พช.) และมหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมมือกันจัดทำโครงการ “บันฑิตอาสา” โดยเปิดโอกาสให้บัณฑิตในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) 3 จังหวัด (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง) เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง นำความรู้ใหม่ไปผสมผสานกับวิถีดั้งเดิมในการพัฒนาพื้นที่และชุมชน

160440720412

 

"โครงการนี้มีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคชุมชนให้การสนับสนุน โดยหัวใจของโครงการบัณฑิตอาสา คือ สร้างความเชื่อมโยงระหว่างคนรุ่นใหม่กับการพัฒนาพื้นที่ โดยนำผู้สำเร็จการศึกษาใหม่มาฝึกอบรมและลงพื้นที่เป็นตัวเชื่อมในการพัฒนาร่วมกับชาวบ้าน นำความรู้เชิงวิชาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัยไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาพื้นที่ร่วมกับวิถีชุมชน”

 

สำหรับบัณฑิตอาสาจะลงพื้นที่พบปะพูดคุยกับชาวบ้านในชุมชน เพื่อสำรวจข้อมูลเชิงลึกในทุกมิติ และผลกระทบที่อาจเกิดจากการพัฒนาโครงการอีอีซี เพื่อนำข้อมูลกลับมาวางแผน แก้ไขปัญหา หรือพัฒนาให้ตรงตามความต้องการและบริบทของชุมชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาชุมชนที่ดีและยั่งยืน สร้างเครือข่ายพันธมิตรในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่อีอีซี

 

สำหรับบัณฑิตอาสารุ่นแรก 27 คน ได้ผ่านการอบรมอย่างเข้มข้น โดยมีพัฒนากรประจำตำบลเป็นมีพี่เลี้ยง ในการจัดเก็บข้อมูลระดับหมู่บ้าน การรวบรวมปัญหาพื้นฐานต่างๆ นำข้อมูลมาวิเคราะห์และประมวลผล การจัดเวทีระดับหมู่บ้าน เพื่อนำไปขัดทำข้อเสนองานวิจัยส่งมอบให้ สกพอ.ไปประกอบการทำนโยบายพัฒนาชุมชนอีอีซี และแก้ปัญหาท้องถิ่นอีอีซี

 

นอกจากนี้ ข้อมูลที่ได้จากโครงการจะนำมาจัดทำ Big Data ของภาคตะวันออกแบบครอบคลุม 100% เพราะเป็นข้อมูลที่มาจากตัวชุมชนเอง ซึ่งนำไปใช้วิเคราะห์ให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกันจะพัฒนาบัณฑิตเหล่านี้ให้ทำงานร่วมกับบัณฑิตอาสารุ่นต่อไปพัฒนาเขาขึ้นมาเป็นผู้นำ หรือมีบทบาทในพัฒนาพื้นที่อย่างเป็นระบบ โดยเป้าหมายรุ่นต่อไปอยู่ที่ 93 คน มาจาก 30 อำเภอ อำเภอละ 3 คน ส่วนอีก 3 คนมาจากตัวแทนกลุ่มสายงานระดับจังหวัด (วุฒิปริญญาโท) จังหวัดละ 1 คน

นางสาวสุวรรณา อินตัน พัฒนากรอำเภอบ้านบึง สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านบึง จ.ชลบุรี กล่าวว่า การฝึกอบรมบัณฑิตอาสา กรมการพัฒนาชุมชน พยายามดึงศักยภาพของบัณฑิตแต่ละคนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน เพื่อให้เขาไปช่วยจุดประกายช่วยให้ชุมชนมองเห็นปัญหาและสามารถแก้ปัญหาด้วยตัวเองได้ และเพิ่มโอกาสต่างๆ เช่น อาจจะใช้ความถนัดของเขามาชวนคิดชวนทำ ให้ชุมชนได้เกิดการชวนคิดชวน

 

“กรมฯ มีพี่เลี้ยงช่วยพวกเขาสร้างความสัมพันธ์กับคนในชุมชน ควรจะใช้คำพูดแบบไหน ควรจะเข้าหาแบบไหน เพราะว่าเขาจะต้องเก็บข้อมูลประมาณ 80 ครัวเรือน ซึ่งข้อมูลครัวเรือนจะเยอะพอสมควร นอกจากสำรวจข้อมูลแล้ว ก็จะมีการจัดเวทีประชาคมด้วย เป็นลักษณะของการสอบถามปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน เพื่อจะเอาข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์และเสนอโครงการ ซึ่งเมื่อถึงเวลาสิ้นสุดโครงการ บัณฑิตอาสาแต่ละคนจะต้องเสนอแผนการแก้ไขปัญหาที่พวกเขาพบเจอในชุมชน คนละ 1 โครงการ”