เมื่อโลกเร่งรักษาโควิด

เมื่อโลกเร่งรักษาโควิด

ในเวลาที่ระบบสาธารณสุขกำลังสั่นคลอนไปทั่วโลก นักวิจัยจำเป็นต้องพึ่งเครือข่ายวิจัยที่ไม่เป็นทางการเพื่อเร่งหายารักษาโควิด

ในโรงพยาบาลซิดนี่ย์ที่แฮเรียต เจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนทำงานอยู่ เตียงฉุกเฉินถูกขนเข้ามาเตรียมในตึกเตียงแล้วเตียงเล่า เพื่อเตรียมรับมือกับเคสที่อาจจะพุ่งพรวดอีกไม่นานนี้

“เราก็ได้แต่พูดว่า มัน (วิธีรักษา)คงจะเกิดขึ้นอีกไม่นานหรือในอาทิตย์หนาล้าเลย แต่มันก็ไม่เกิดขึ้นซักที” แฮเรียตกล่าว

ผู้ป่วยโควิด19ในออสเตรเลียมีถึง 6 พันคนแล้วในวันที่ 6 เมษายน และรพ.ของแฮเรียตก็ทำทุกอย่างที่จะทำได้เพื่อรับมือกับมัน


ทางรพ.ได้ปรับวอร์ดรับเคสโควิดโดยเฉพาะ ทำยูนิต ICU เพิ่ม พร้อมๆ กับทำแผนเตรียมโยกย้ายหมอระดับจูเนียร์หมุนเวียนกันเข้ามาช่วยงาน

“มันยากที่จะบอกว่าเราพร้อมแล้ว และฉันก็หวังว่าเราจะเป็นอย่างนั้น มันเหมือนกับความเงียบก่อนที่พายุจะซัด เราเหมือนกับกำลังรอโดนมันซัดอยู่ เพราะตอนนี้เหมือนเรากำลังอยู่ในช่วงรอๆ แล้วเดี๋ยวมันก็จะโผล่มา แล้วซัดเรา”

การเตรีมการของ รพ.ของแฮเรียตสะท้อนความจริงเกี่ยวกับโรคนี้อย่างหนึ่ง คือความเป็นโรคอุบัติใหม่และไม่ค่อยมีใครรู้จักหรือเข้าใจมันมาก และที่สำคัญคือ ยังไม่มียารักษาที่ได้รับการยืนยันได้ว่ามันช่วยจะช่วยจัดการไวรัสตัวนี้ได้

ในขณะที่บุคลากรทางการแพทย์ต่างพยายามเตรียมตัวรับมือกับโรคนี้กัน ประสบการณ์ของกลุ่มแพทย์หรือพยาบาลที่ต้องเจอมันเป็นกลุ่มแรกๆ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่จะต้องเจอทีหลัง อย่างแฮเรียต

ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ไม่ว่าจะเป็นในจีน อิตาลี หรือเกาหลีใต้ ต่างพยายามหาแนวปฏิบัติในการรักษากันเองจากศูนย์

พวกเขายังได้หาวิธีรักษาต่างๆ แม้จะดูสิ้นหวัง เพื่อที่จะหาอะไรก็ได้ที่จะช่วยได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยารักษาไข้หวัด ยาต้านมาลาเรีย หรือยารักษาโรคไขข้อ

การค้นหาและการค้นพบของพวกเขา ได้ถูกแชร์ออกไปในวงกว้างทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ผ่านแอพพลิเคชั่นอย่าง Whatsapp หรือออนไลน์ฟอรั่มของวงการแพทย์ และช่วยเพิ่มเติมองค์ความรู้ให้กับการรักษาโรคชนิดนี้

มันขยายขอบเขตองค์ความรู้และการค้นหาแนวทางรักษาโรคอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และกวาดรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องเข้าไว้ด้วยกัน ก่อให้เกิดการเปิดกว้างในการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าว และความร่วมมือที่ดูขัดกับการเมือง

“ยังมีอะไรอีกมากที่เรายังไม่รู้เกี่ยวกับไวรัสตัวนี้ และเรากำลังเรียนรู้มันอยู่ทุกวัน” ทอม ไฟรเดน ประธาน และ CEO ของโครงการ Resolve to Save Lives ขององค์กรสาธารณสุขโลก Vital Strategies

“มันมีความแตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญอยู่ ระหว่างการรับมือที่ดี กับการรับมือที่ยอดเยี่ยม สิ่งหลังคือการปรับใช้ข้อมูลได้เรียลไทม์ ข้อมูลคือเคื่องมือต่อกรกับไวรัสของเราที่ดีที่สุด เราจำเป็นต้องดชเรียนรู้ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ให้ไวที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และเราจะสามารถทำอย่างนั้นได้ถ้าเราทำงานร่วมกัน”

นี่แหละ “มัน” เลย

ในวันที่ 20 มีนา นักวิทยาศาตร์ของจีนและสหรัฐฯกว่า 80 คนได้ประชุมแลกเปลี่ยนการต่อสู้กับโควิดผ่านวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์

ตอนนั้น ทางจีน เริ่มบอกเรื่องที่จีนเริ่มควบคุมโรคพอได้บ้างแล้ว ในขณะที่สหรัฐฯ เจอตัวเลขของเคสไต่ระดับขึ้นสูงนับพันๆ

นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปส์กิน ต้องการที่จะรู้ว่าจีนทำได้อย่างไร ก่อนเลิกประชุม นักวิทยาศาสตร์จีนได้อวยพรให้พรรคพวกอเมริกัน หนึ่งในนั้นคือ ชมวล โชแฮม รองศาสตรจารย์คณะแพทยศาสตร์

ในช่วงต้นปี โชแฮมซึ่งทำวิจัยเกี่ยวกับโรคระบาดที่มหาวิทยาลัยยังแบ่งเวลาทำวิจัยกับการให้คำปรึกษในการรักษาอยู่ และก็เหมือนๆกับคนทำงานด้านการระบาดอื่นๆ เขารู้ว่าวันหนึ่งมันจะมีโรคระบาดใหญ่เกิดขึ้น แต่อาจจะเกิดในช่วงชีวิตของเขาหรือไม่ เขาเองก็ไม่รู้แน่

“ในโลกของการแพทย์ คุณมักจะนึกถึงการเตรียมการรับมือในอนาคต แล้วจู่ๆ อนาคตที่ว่าก็ปรากฏอยู่ตรงหน้า มันนี่เลย”

พอเข้าเดือนมีนาคม เมื่อโควิดระบาดหนักในนิวยอร์คและแพร่ไปเมืองอื่นๆอย่างรวดเร็ว ศจ.โชแฮมจึงตัดสินใจโอนเคสให้หมอคนอื่นแล้วลุยเรื่องศึกษาโรคเต็มตัว

การทดลองเล็กๆในจีนพบว่า การให้พลาสม่าจากคนที่หายจากโควิดอาจช่วยคนที่เริ่มมีอาการได้

เป็นที่รู้กันว่ามันคือ การสร้างภูมิคุ้มกันแบบพาสสีฟ วิธีนี้จริงๆใช้มากว่าร้อยปีกับโรคอื่นๆ อาทิ โรคหัด หรือโรคตับอักเสบ


ศจ. โชแฮมและเพื่อนร่วมงานของเขาเริ่มติดต่อนักวิจัยคนอื่นๆในเครือข่ายทั่วสหรัฐฯและทั่วโลกเพื่อทำการทดลองอันนี้

“มันไสตล์รากหญ้ามากๆ เพราะคุณใช้คอนเนคชั่นส่วนตัวที่มีอยู่ในการทำอันนี้ขึ้นมา” ศจ.โชแฮมกล่าว

องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ ได้รัยรับรองผลการทดลองนั้น ในขณะที่ทางจีนเองก็ได้ขยายผลการทดลอง โดยส่งตัวอย่างพลาสม่าไปยังอิตาลี

“แมทีเรียลต่างๆ จากการทดลองต่างหลั่งไหลมา ทั้งตีพิมพ์แล้วหรือยังไม่ได้ตีพิมพ์ก็ตาม หรือยังไม่ได้แปลออกมา ยังเป็นภาษาจีนอยู่ การแลกเปลี่ยนข้อมูลจากการวิจัยในหมู่นักวิทยาศาสตร์ซึ่งเคยช้ามากๆ และมีพิธีรีตองเยอะ กลับสามารถทำได้รวดเร็วยังกับความไวแสง ภายในระยะเวลาแค่สองสามเดือน” ศจ.โชแฮมกล่าว

ในวงการแพทย์ อุปสรรคกีดขวางที่เคยมีลดระดับลง นักวิจัยที่ตีพิมพ์ผลงานกว่าร้อยคนเปิดให้เข้าถึงผลงานวิจัยของตัวเองฟรี ทำให้นักวิจัยคนอื่นๆมีฐานข้อมูลมหาศาล

งานวิจัยที่ยังไม่ได้ผ่านการรีวิวซ้ำ หรือ peer review หรือที่ยังรอกระบวนการอยู่ ต่างหลั่งไหลมา จากทั้งทางจีน เกาหลีใต้ และอิตาลี


“เมื่อดูจากสเกลของการระบาด ผมคิดว่า ทุกคนยิ่งกว่าเต็มใจที่จะแบ่งปันความรู้และเทคโนโลยีที่ตนมีให้กับคนอื่น “จูนาด นาบิ นักวิจัยทางสาธารณสุขของโรงพยาบาลผผุ้หญิง ที่หหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดกล่าว


“สิ่งที่นักวิจัยคิดถึงเป็นสิ่งแรกก็คือประโยชน์ของผู้ป่วย ฉันคิดว่ามันช่วยทำให้พวกเราเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้”

“ข้อมูลเกี่ยวกับโควิดเป็นอะไรที่เข้าถึงได้ง่ายจริงๆ ตอนนี้”เอ็ดเซล มอริส ซาลวาน่า ผู้เชี่ยวชาณโรคระบาด ที่สถาบันสาธารณสุขที่ฟิลิปปินส์กล่าว

“แม้จะมี WHO อยู่ก็จริง แต่วารสารทางการแพทย์เกือบทั้งหมดได้เปิดให้เข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับโควิดได้เกือบหมด ในขณะที่นักวิจัยเองก็แชร์งานวิจัยของตนออกไป แม้จะยังรอ peer review”

ภาระของแพทย์

แต่กระนั้น แม้ข้อมูลเกี่ยวกับโควิดจะมีการแบ่งปันอยู่ในขณะนี้ ถึงที่สุด ก็เป็นแพทย์และพยาบาลที่ให้การรักษานั่นเองที่ จะเป็นคนตัดสินใจว่าจะลองใช้ยาที่ยังไม่ได้รับการรับรองเหล่านี้กับคนไข้ ซึ่งเป็นภาระอย่างหนึ่งในการชั่งน้ำหนัก

ในตอนเหนือของทางอิตาลี นิโคลท ฟอร์นี่ นักระบาดวิทยาซึ่งผ่านช่วงเวลาที่แย่ที่สุดในปลายเดือนกุมภาที่ผ่านมา บอก นิเคอิ อาเซียน รีวิว ว่า หมอที่นั่น ลองใช้ยาต้านมาลาเรียและยาต้านหวัดกับคนไข้ หลังจากอ่านผลการศึกษาในจีน

หมอต้องเป็นคนตัดสินใจในภาวะที่สถานการณ์และข้อมูลเปลี่ยนไปได้ตลอด

“เรามีข้อผูกมัดกับการปรับเปลี่ยนทุกวัน และทุกๆวัน เราต้องปรับแนวปฏิบัติของเราตลอด” ฟอร์นี่กล่าว

นั่นรวมทั้งการเลือกว่าใครควรจะได้เครื่องช่วยหายใจในเวลาที่ระบบสาธารณสุขที่นั่นแทบจะพังทลาย

“ฉันไม่เคยรบในสงคราม แต่นี่มันสงครามชีด และเราก็รู้สึกถูกท่วมทับทวีคูณ”

ยังมีความยุ่งยากมากขึ้นไปอีกสำหรับบรรดาแพทย์คือ ข้อมูลที่มากมายมหาศาล พอๆกับการลือกันไปต่างๆนาๆ และข้อมูลเท็จต่างๆ

หลายครั้งที่การรักษาโดยที่ไม่มีข้อยันยันนี้ถูกขยายไปใหญ่โต หรือคนทั่วไปตัดสินใจใช้ยาเอง

ซาลวาน่าบอกว่า เขาเองก็เพิ่งได้ข่าวที่มีคนตายเพราะลองกินยาต้านมาลาเรียที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯบอกว่าเป็น ตัวพลิกเกม

“ถึงที่สุด ที่เราต้องการคือ การทดลองที่เป็นกิจลักษณะ และมีการควบคุม” ซาลวาน่ากล่าว

ความหวัง

แม้การเข้าถึงและเลือกเฟ้นยานับพันที่กำลังอยู่ระหว่างทดลองในคนเอง เพื่อจะเอามารักษาโควิด 19 จะสามารถทำได้อย่างรวดเร็วในเวลานี้ แต่ เคนเนธ ไคธิน ผู้อำนวยการของ ทัฟ เซนเตอร์ สำหรับการศึกษาค้นคว้าเรื่องยาที่บอสตัน (Tufts Center for the Study of Drug Development) เตือนว่า ยังมีงานอีกมากที่ต้องทำ

ทั้งนี้ เพราะนักวิจัยไม่ได้เพียงแค่มองหาแค่ยามหัศจรรย์ขนานเดียว แต่ยังมองหาทางเลือกในการรักษาที่หลากหลายสำหรับคนไข้ในหลายระยะ และคนไข้ที่มีโรคอื่นแทรกซ้อนอยู่ด้วย

แม้ยาหลายๆตัวกำลังอยู่ในระหว่างทดลอง แต่เปอร์เซนต์ที่จะไม่ได้ผลก็ยังสูงอยู่

“ความเป็นไปได้ที่จะมีตัวยาที่ได้ผลมันน้อย จากการศึกษาของเรา พบว่า มีเพียง 10% ของมันที่จะสามารถวางขายในตลาดได้” เขากล่าว

องค์การนามัยโลก WHO ก็กำลังเร่งทดลองการรักษาโควิดด้วยยาในระดับโลกที่เรียกว่า Solidarity โดยมียา 4 ตำรับ คือ ยารักษาอีโบลา remdesivir ยาต้านมาลาเรีย chloroquine and hydroxychloroquine ยาต้านไวรัส lopinavir and ritonavir กรทอที่วางขายในตลาดว่า Kaletra และ สูตรผสมของ lopinavir, ritonavir และ interferon-beta

ยาเหล่านี้ได้รับเลือกมาทดลองเพราะความเป็นไปได้ที่มันจะช่วยรักษาโควิด ความปลอดภัย และการที่มันมีใช้และผลิตแล้วอย่างแพร่หลาย

ในญี่ปุ่น ก็มีการทดลองใช้ยาต้านหวัด Avigan ในคนอยู่ ซึ่งมันถูกพัฒนาโดย Fujifilm

รัฐบาลญี่ปุ่นรับรองให้ใช้ยานี้อย่างจำกัด อย่างเช่น ใช้กับการระบาดของโรคหวัดที่มีความรุนแรง เพราะมีความกังวลเรื่องผล
ข้างเคียง

ในขณะ เดียวกัน การพัฒนาวัคซีนก็อยู่ในการศึกษาทดลองหลายระยะในเวลานี้

ไคธินกล่าวเตือนถึงการตั้งความหวังเอาไว้มากๆ กับการทดลองเหล่านี้ว่ามันจะให้ผลในเร็ววัน

ไคธินกล่าวว่า การออกมาพูดของผู้นำหรือสื่อ ทำให้เกิดความเชื่ออย่างเป็นบ้าเป็นหลังว่า มันมียารักษา แต่การศึกษาทดลองยาขั้นสุดท้ายในคนเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา และไม่มีทางที่จะทำ ให้เร็วอย่างที่คิดได้

“ผมคิดว่า ในช่วงเวลาที่น่าสิ้นหวังที่เรากำลังเผชิญอยู่นี้ คนมักจะหวังกับยา และหวังว่า มันจะมีทางรักษาถ้าพวกเขาติดเชื้อขึ้นมาจริงๆ

“จากที่กล่าวมา มันคงไม่สามารถที่จะหวังได้ว่า เราจะมียาในหนึ่งปีนี้ มันฟังดูน่ากลัว แต่มั่นคือวามเป็นจริงที่เราต้องเผชิญ” ไคธินกล่าว