‘ทีคิวเอ็ม’ เปิด6กลุยุทธ์ สู่ผู้นำ'ดิจิทัลโบรกเกอร์ประกัน'

‘ทีคิวเอ็ม’ เปิด6กลุยุทธ์ สู่ผู้นำ'ดิจิทัลโบรกเกอร์ประกัน'

“ทีคิวเอ็ม” ประกาศแผนขึ้นแท่น “ผู้นำ"ดิจิทัลโบรกเกอร์ประกันในภูมิภาค ตั้งเป้า5ปีข้างหน้า เบี้ยประกันแตะ5 หมื่นล้านบาท โต30%ต่อปี ชู “6กลยุทธ์” ขยายธุรกิจ จ่อควบรวมและซื้อกิจการในต่างประเทศ ขยายตลาด CLMV

นายอัญชลิน พรรณนิภา ประธาน บริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TQM เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้าหมายขึ้นเป็นผู้นำด้านดิจิทัลโบรกเกอร์ประกันภัยในภูมิภาค คาดเบี้ยรับประกันภัยเติบโตสู่ 50,000ล้านบาท ภายใน5ปีข้างหน้า (ปี2564-2568) หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ30% ขณะที่ในปี 2563 ตั้งเป้าหมายมีเบี้ยประกันภัยที่ 15,000 ล้านบาท เติบโต 17.2% จากปีก่อนอยู่ที่ 12,795 ล้านบาท

โดยดำเนินการภายใต้ 6 กลยุทธ์ คือ 1. การเติบโตทุกช่องทางทุกแพลตฟอร์ม2. การสร้างความสัมพันธ์กับพันธมิตรทางธุรกิจที่มีฐานลูกค้าจำนวนมาก เช่น กลุ่มแบงก์ 3 .การควบรวมและซื้อกิจการกลุ่มโบรกเกอร์ประกัน ในรูปแบบร่วมทุนกับพาร์ทเนอร์ท้องถิ่นแต่ละประเทศ 4. การขยายตลาดโบรกเกอร์ประกันในต่างประเทศ โดยได้เริ่มสำรวจตลาดและความเป็นไปได้ในประเทศเพื่อนบ้าน อย่างCLMV ซึ่งเริ่มมีการชักชวนบ้างแล้ว 5. การเพิ่มยอดขายด้วยการขายพ่วงหรือ Cross-selling  และ6. ใช้ดิจิทัลมาสนับสนุนและขับเคลื่อนองค์กร ด้วยงบลงทุน200ล้านบาท

158280622980

“  มั่นใจว่าจะทำให้เติบโตได้ถึง30%ต่อปีในอีก5ปีข้างหน้า จากช่วง5ปีก่อนหน้านี้เติบโตเฉลี่ย10%ต่อปี  ขณะที่ตลาดประกันภัยในไทยยังมีแนวโน้มเติบโตได้ ปัจจุบันมีมูลค่ากว่า 9.6 แสนล้านบาท ปีนี้คาดว่ายังไม่หดตัวถึง5% ขณะที่บริษัทมีส่วนแบ่งในตลาดเพียง5%ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก จากกการควบรวมหรือซื้อกิจการ รวมถึงการใช้ดิจิทัลเข้ามาสนับสนุน”

เขากกล่าวว่า แม้ว่าขณะนี้มีวิกฤติการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่หรือโควิด-19  ปัญหาภัยแล้ง กระทบเศรษฐกิจไทยในปีนี้ 2  แต่บริษัทมีตลาดหลัก90% เป็นตลาดประกันวินาศภัย เช่น ประกันภัยรถยนต์ ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ประกันภัยบ้าน ประกันกลุ่มองค์กร ซึ่งผู้บริโภคจำเป็นต้องใช้ทุกสถานการณ์ จึงคาดว่ายังสามารถเติมโตได้ตามเป้าหมาย  และในเดือนม.ค.ที่ผ่านมาบริษัทยังเติบโตได้ดีกว่าอุตสาหกรรม และมีสัดส่วนลูกค้าเดิม60% ลูกค้าใหม่40% 

อีกทั้ง หลังจากร่วมกับบริษัทกรุงเทพประกันภัย ออกประกันคุ้มครองไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่หรือโควิด-19 ผลตอบรับดีมาก จากลูกค้ารายย่อยทั่วไปและกลุ่มองค์กรที่ซื้อให้กับพนักงาน และบุคลากร เพื่อสร้างความคุ้มครองเพิ่มเติม  พบว่าในช่องทางดิจิทัลมียอดขายเพิ่มขึ้นจากหลักร้อยกรมธรรม์กระโดดขึ้นมาเป็นหลักพันกรมธรรม์ในปัจจุบัน

ในด้านความเสี่ยงจากการเคลมสินไหมนั้น บริษัทเป็นเพียงคนกลาง ทำให้ความเสี่ยงต่ำ ต้นทุนของบริาัทจะอยู่ที่ระบบบริการจัดหารมากกว่า ซึ่งสามารถบริหารจัดการได้  อีกทั้งในปีนี้เตรียมออกผลิตภัณฑ์ประกันใหม่ๆอีกกว่า10แบบตามแต่ละกลุ่มเป้าหมาย

สำหรับภาพการดำเนินงานปี2562 มีรายได้รวม2,783.8ล้านบาท เพิ่มขึ้น10.2%   ภายใต้การบริหารจัดการทำงานและควบคุมค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้บริษัทมีกำไรเพิ่มสูงขึ้น โดยกำไรขั้นต้นอยู่ที่ 1,297.7ล้านบาท เพิ่มขึ้น 83.9ล้านบาท คิดเป็น6.9% ขณะที่กำไรสุทธิอยู่ที่ 507.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 103ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้น 25.5% ขณะที่คณะกรรมการบริษัทมีมติเมื่อวันที่27ก.พ.2563 อนุมัติจ่ายปันผล1.10บาทต่อหุ้น ซึ่งกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นได้รับสิทธิ (XD) วันที่16 มี.ค.2563 และจ่ายเงินปันผลในวันที่14พ.ค.2563