‘สุขภาพการเงิน’ เกษตรกรไทย ผจญปัญหาหนี้พุ่ง 47%

‘สุขภาพการเงิน’ เกษตรกรไทย ผจญปัญหาหนี้พุ่ง 47%

ปัญหารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกอาชีพ รวมถึงอาชีพ‘เกษตรกร’ด้วย แต่ภาวะแวดล้อมของรายได้เกษตกรกร มีปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้อย่างสภาพอากาศที่หากแปรปวนหนักก็ทำให้รายได้เกษตรกรดิ่งลงได้

ปัญหารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกอาชีพ รวมถึงอาชีพ‘เกษตรกร’ด้วย แต่ภาวะแวดล้อมของรายได้เกษตกรกร มีปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้อย่างสภาพอากาศที่หากแปรปวนหนักก็ทำให้รายได้เกษตรกรดิ่งลงได้ การตรวจสุขภาพทางการเงินของเกษตรกรไทยอย่างต่อเนื่องและเร่งหาทางแก้ไขเป็นสิ่งจำเป็น 

ระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการ 158108749454  เปิดเผยว่า รายได้เงินสดสุทธิครัวเรือนเกษตร พบว่า ปี 2562 อยู่ที่ 269,449 บาทต่อครัวเรือนต่อปี เพิ่มสูงขึ้น 9.02% จากปีก่อนหน้าขณะที่หนี้สินครัวเรือนเกษตร ปี 2562 อยู่ที่ 221,490 บาทต่อครัวเรือนปีเพิ่มขึ้น47%

โดยหนี้สินส่วนใหญ่ 55 % กู้มาเพื่อการเกษตร และ 45% กู้เพื่อนอกการเกษตร ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของการซื้อทรัพย์สินเช่น บ้าน ที่ดินและทรัพย์สินอื่นๆ นอกการเกษตร และส่วนหนึ่งมาจากการเข้าถึงสินเชื่อที่ง่ายขึ้นเพื่อใช้สำหรับการลงทุนที่ก่อให้เกิดรายได้ของเกษตรกร

 โดยเมื่อหักค่าใช้จ่ายในการบริโภค 182,034 บาทต่อครัวเรือนต่อปี พบว่า ครัวเรือนเกษตรจะยังมีเงินสดคงเหลือ 87,414 บาทต่อครัวเรือนต่อปีหรือเพิ่มขึ้น 21% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าครัวเรือนเกษตรส่วนใหญ่ ยังมีความสามารถในการชำระคืนหนี้สินอยู่

สำหรับปี 2563 สศก. คาดว่าสภาวะการณ์และปัจจัยต่างๆ อาจส่งผลกระทบและท้าทายต่อการพัฒนาภาคการเกษตรของไทยในหลายประเด็น ซึ่งภาครัฐมีมาตรการในการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการรักษาระดับรายได้ของเกษตรกรให้เพียงพอ เช่นโครงการประกันรายได้เกษตรกรใน 5 สินค้าหลักสำคัญ ได้แก่ ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครอบคลุมครัวเรือนเกษตรกรกว่า 6.8 ล้านครัวเรือน การสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน

นอกจากนี้เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เร่งแผนการขับเคลื่อนภาคการเกษตร ปี 2563 ซึ่งขณะนี้ทุกหน่วยงานได้เดินหน้าขับเคลื่อนแล้วทันที ได้แก่ การบริหารจัดการแหล่งน้ำทั้งระบบในช่วงฤดูแล้งที่กำลังจะมาถึง ทั้งส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วลิสง การปฏิบัติการฝนหลวง การจ้างงานในช่วงฤดูแล้ง 41,000 อัตรา และการขุดสระน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน 40,000 บ่อ

สำหรับไทยมีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 46.54% ของพื้นที่ทั้งประเทศ ครัวเรือนเกษตรกรประมาณ 5.91 ล้านครัวเรือน ซึ่งประกอบด้วยเกษตรกรรายย่อยที่ผลิตเพื่อพึ่งพาตนเอง เกษตรกรที่ผลิตเชิงพาณิชย์ และเกษตรกรที่แปรรูปผลิตผลเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม 

"เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดหลักประกันที่มั่นคงด้านอาชีพและรายได้ ความสามารถชำระหนี้สินต่ำ ขาดเกษตรกรรุ่นใหม่ที่จะเข้าสู่ภาคเกษตรอย่างต่อเนื่อง ครัวเรือนเกษตรไม่สามารถพึ่งพาอาหารจากไร่นาได้เพียงพอ ได้รับอาหารที่ไม่ปลอดภัย และยังมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี"

จากการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรายได้ รายจ่าย การออม หนี้สิน ปัจจัยที่กำหนดการตัดสินใจก่อหนี้และความต้องการกู้ของครัวเรือนเกษตร ประกอบด้วย ทรัพย์สิน รายได้เงินสดจากหัตถกรรม เนื้อที่เพาะปลูก อายุ ระดับการศึกษาของหัวหน้า จำนวนสมาชิก สมาชิกที่พึ่งพิงได้ ภูมิภาค การได้รับการอบรมของหัวหน้า และรายได้เงินสดจากเงินโอนของครัวเรือนพบว่าในส่วนของรายได้เงินสดจากหัตถกรรมของครัวเรือน หรือรายได้นอกภาคเกษตร เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของรายได้ของครัวเรือนเกษตร

 ดังนั้นภาครัฐจึงควรพัฒนาและส่งเสริมการผลิตนอกภาคเกษตรให้กับครัวเรือนเกษตรควบคู่ไปกับกิจกรรมการผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะเวลาที่ครัวเรือนเกษตรไม่ได้ทำการผลิตทางการเกษตรเพื่อให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยเน้นการใช้ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นในการประกอบอาชีพเสริม ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเพิ่มการออม และความมั่งคั่งหรือทรัพย์สินสุทธิของครัวเรือนเกษตรไปพร้อมกัน

ด้านการศึกษาและการได้รับการอบรมของหัวหน้าครัวเรือนเกษตร เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนเกษตร ภาครัฐจึงควรส่งเสริมการศึกษาและการฝึกอบรมในชนบทเพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการหารายได้ให้กับครัวเรือนเกษตร รวมทั้งเป็นการเพิ่มความมั่งคั่งหรือทรัพย์สินสุทธิให้กับครัวเรือนด้วย

ในขณะที่ครัวเรือนเกษตรที่เพาะปลูกในเขตชลประทานมีโอกาสที่จะมีรายได้มากกว่าครัวเรือนที่อยู่นอกเขตชลประทาน หรือ ครัวเรือนเกษตรที่มีน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูกจะมีรายได้มากกว่าครัวเรือนที่มีน้ำในการเพาะปลูกไม่เพียงพอ 

ดังนั้นจึงควรพัฒนาแหล่งน้ำ เสริมสร้างระบบบริหารการจัดการแหล่งน้ำ เพื่อให้เกิดการจัดการร่วมกันระหว่างชุมชนกับรัฐในการดูแลรักษาให้เพียงพอกับความต้องการใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้การสนับสนุนในการพัฒนาแหล่งน้ำของชุมชน จะเป็นการเพิ่มรายได้รวมทั้งทรัพย์สินสุทธิให้กับครัวเรือนเกษตรด้วย