สธ.ยกระดับเฝ้าระวัง พัฒนาแลปตรวจเชื้อไวรัสโคโรน่า

สธ.ยกระดับเฝ้าระวัง พัฒนาแลปตรวจเชื้อไวรัสโคโรน่า

สธ.เผยผู้ติดเชื้อโคโรน่ายังคงที่ ล่าสุดมีผู้ติดเชื้อรักษาหายกลับบ้านแล้ว 1 ราย พร้อมทั้งขยายห้องแลปเพื่อการตรวจไวรัสโคโลนาที่รวดเร็วยิ่งขึ้น

นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.สุวรรชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค.นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต นพ.สมชาย แสงกิจพร รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และนพ.ณรงค์ อภิกุลสณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ ร่วมกันแถลงสถานการณ์ ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ประจำวัน  พบว่า ยังไม่มีจำนวนเพิ่มขึ้นขณะนี้ตัวเลขอยู่ที่ 14 คน กลับบ้านแล้ว 6 คน เฝ้าดูอาการ 8 คน ขณะเดียวกัน มีตัวเลขผู้ต้องสงสัยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคสะสมจำนวน 202 คน ในจำนวนนี้ พบกลุ่มเสี่ยงใกล้ชิดกับชาวจีน เป็นอีกกลุ่มที่ต้องระวัง เช่นไกด์ทัวร์ คนขับรถแท็กซี่ ซึ่งถือว่าเป็นผู้ใกล้ชิดในการสัมผัสเชื้อ ทางกระทรวงสาธารณสุข ได้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใกล้ชิด เข้ามา เข้ามารักษาอาการหากมีอาการไข้ ไอ และจาม เพื่อคัดกรองว่าเป็นผู้สัมผัสเชื้อไวรัสโคโรน่าหรือไม่

กระทรวงสาธารณสุขเตรียมมาตรการการเฝ้าระวัง การติดเชื้อไวรัสโคโรน่าจากคนสู่คนในประเทศไทย เอาไว้ 5 ระดับ คือ ระดับแรกต้องไม่พบผู้ติดเชื้อ ระดับที่ ระดับ 2 เป็นระดับการแพร่ระบาดเฉพาะพื้นที่ ระดับที่ 3 เป็นการแพร่ระบาดเฉพาะจังหวัด ระดับที่ 4 เป็นการแพร่ระบาดระดับข้ามจังหวัด และระดับที่ 5 เป็นการแพร่ระบาด ทั้งประเทศ ซึ่งแต่ละระยะจะมีมาตรการดำเนินการที่ต่างกัน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดทุกระยะ และชะลอจำนวนผู้ป่วยให้ลดลง และป้องกันเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานไม่ให้ติดเชื้อ


กระทรวงสาธารณสุขเตรียมพัฒนาห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ หรือห้องแล็บวินิจฉัยเชื้อโรค เผื่อตรวจสอบเชื้อไวรัสโคโรน่า จากเดิมมีอยู่ 2 แห่ง คือกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 
จะเพิ่มห้องแล็บอีก 14 แห่ง

 

แบ่งเป็นโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ 2 แห่งคือ รพ.ราชวิถี  รพ. จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และในต่างจังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์อุบลราชธานี อุดร ขอนแก่น นครราชสีมา ชลบุรี สุราษฎร์ธานี ตรัง สงขลา ภูเก็ต เพื่อให้รับตรวจวินิจฉัยโรคในท้องถิ่นได้ และลดเวลาความจำเป็นต้องมาส่งตรวจที่ส่วนกลาง สามารถแปลผลได้ภายใน 3 ชั่วโมง เพราะเชื้ออยู่ภายในอากาศสามารถหายไปได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง