เอ็กซิมแบงก์ หนุนสินเชื่อผู้ซื้อเฟรนไชส์บุกตลาดCLMV

เอ็กซิมแบงก์ หนุนสินเชื่อผู้ซื้อเฟรนไชส์บุกตลาดCLMV

“เอ็กซิมแบงก์” หนุนสินเชื่อเพื่อสนับสนุนผู้ซื้อเฟรนสไชส์/เชนไทย บุกตลาด CLMV ตั้งเป้าสินเชื่อ800ล้านบาท จำนวน 200รายในปีแรก

นายพิศิษฐ์ เสรีวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ เอ็กซิมแบงก์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันตลาดCLMV มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างดีส่งผลให้ประชากรมีรายได้ต่อหัวต่อปีและกำลังซื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งนี้ในช่วง5ปีข้างหน้าเศรษฐกิจCLMV จะขยายตัวเฉลี่ยกว่า6%ต่อปีสูงกว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกเกือบเท่าตัวกำลังซื้อประชากรในCLMV จะเพิ่มขึ้นอีก30% ในปี2566 ขณะที่การผลิตสินค้าและบริการภายในประเทศยังไม่เพียงพอต่อความต้องการทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ

ขณะเดียวกันปัจจุบันแฟรนไชส์ไทยมีความแข็งแกร่งมากมูลค่า280,000ล้านบาทมีจำนวน584 กิจการและมีสาขากว่า100,000สาขาทั่วประเทศ  รวมทั้งแฟรนส์ไชส์ไทยในต่างประเทศมีจำนวน49แบรนด์ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่มรองลงมาเป็นการศึกษาและนวดสปาโดย80%ของแฟรนไชส์ไทยขยายสู่ตลาดCLMV เป็นผลจากความได้เปรียบของไทยที่มีความคล้ายคลึงทางสังคมและวัฒนธรรมทำให้ผู้ประกอบการไทยสามารถพัฒนาธุรกิจตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในแถบนี้ได้ดี

ดังนั้นจากโอกาสทางธุรกิจแฟรนไชส์ไทยที่ยังขยายตัวได้อีกมากในตลาดต่างประเทศล่าสุดธนาคารจึงได้พัฒนาบริการใหม่สินเชื่อเพื่อสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์ไทย/เชนไทย(Loan for Thai Franchise/Thai Chain Buyers) เป็นวงเงินสินเชื่อระยะยาวที่มีระยะเวลากู้ยืมไม่เกินระยะเวลาของสัญญาซื้อขายแฟรนไชส์/เชนอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสกุลดอลลาร์เท่ากับLIBOR+3.50% ต่อปีหรือสกุลบาทเท่ากับPrime Rate ต่อปี(ปัจจุบันอยู่ที่6.125%ต่อปี) หลักประกันพิจารณาตามความเหมาะสม  อีกทั้งสำนักงานผู้แทนธนาคารในCLMV ร่วมกับภาครัฐและเอกชนภายใต้ทีมไทยแลนด์จะช่วยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยขยายธุรกิจในCLMV

ธนาคารวางเป้าหมายภายในปีแรกเตรียมวงเงินสินเชื่อไว้ที่800 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนทุนแก่ผู้ประกอบการไทยและต่างประเทศจำนวน200 รายที่ต้องการซื้อแฟรนไชส์ไทยไปเปิดให้บริการในต่างประเทศหรือว่าจ้างเชนไทยในการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศโดยจะต้องผ่านเกณฑ์การพิจารณาจากผู้ขายแฟรนไชส์(เจ้าของเชน) และมีผลประกอบการดี  คาดว่าในช่วงแรกสนับสนุนผู้ประกอบการจะปล่อยสินเชื่อได้ประมาณ50รายจากปัจจุบันมีผู้ประกอบการประมาณ10รายที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของธนาคารร่วมกับเจ้าของแฟรนไชส์แล้ว

นอกจากนี้ยังมองว่าการสนับสนุนวงเงินสินเชื่อดังกล่าวจะช่วยสร้างมูลค่าการค้าได้ถึง10เท่าของมูลค่าธุรกิจเฟรนไชส์และยังช่วยสร้างการจ้างงานและการขยายตัวของตลาดวัตถุดิบต่างๆด้วย

เราเห็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยซึ่งการศึกษายุทธ์ศาสตร์ของธนาคารใหม่มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรภาครัฐสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยมากขึ้นที่มีแนวโน้มเป็นผู้ประกอบการแข่งแกร่งในอนาคตสามารถขยายไปCLMV อินเดียแอฟริกาลาตินอเมริกาอีกทั้งธนาคารยังจะมีการพัฒนาสินเชื่อสำหรับแฟรนไชส์แต่ละประเภทธุรกิจเพื่อสนับสนุนการขายให้คล่องตัวขึ้นต่อไปได้

นายพิศิษฐ์ กล่าวด้วยว่า ในการขยายตลาดแฟรนไชส์ผู้ประกอบการต้องการพัฒนาธุรกิจและบริการภายใต้แบรนด์ไทยให้ตอบสนองความต้องการใหม่จากไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปในตลาดต่างๆได้คือสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและนักธุรกิจรุ่นใหม่ทั้งที่เป็นคนท้องถิ่นและชาวต่างชาติที่เข้าไปทำงานในCLMV รวมถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติซึ่งคาดหวังบริการที่ดีและได้มาตรฐานศึกษาโอกาสและกฎระเบียบที่แตกต่างกันไปในแต่ละตลาดดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบตั้งแต่ขั้นตอนการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าการคัดเลือกผู้ซื้อเฟรนไชส์ที่น่าเชื่อถือและมีความตั้งใจจริงในการทำธุรกิจรวมทั้งมีความเข้าใจในระบบแฟรนไชส์ขณะเดียวกันต้องบริหารซัพพายเชนของตนเองให้แข็งแกร่งสามารถบริการจัดการต้นทุนด้านวัตถุดิบบรรจุภัณฑ์การแปรรูปสินค้าและลอจิสติกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ