กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดอาคารสถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดอาคารสถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี

กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารสถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครบ 70 พรรษา อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดอาคารสถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี

เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 เวลา 15.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารสถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครบ 70 พรรษา ณ หมู่ที่ 6 ตำบลกุดสระ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เลขาธิการสภากาชาดไทย คณะกรรมการ และผู้บริหารสภากาชาดไทย รับเสด็จ

ในการนี้ พระราชทานพระราชวโรกาสให้ ผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย เฝ้าทูลละอองพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายสูจิบัตร และหนังสือประวัติสถานีกาชาดที่ 9 

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดอาคารสถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี

ต่อมา เลขาธิการสภากาชาดไทย กราบบังคมทูลรายงานและเบิกผู้มีจิตศรัทธา เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาททูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย จำนวน 20 ราย และผู้มีอุปการคุณเข้ารับพระราชทานของที่ระลึก จำนวน 2 ราย 

จากนั้น ทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมป้าย “สถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครบ 70 พรรษา” และทรงปลูกต้นพะยูง จำนวน 1 ต้น

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดอาคารสถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดอาคารสถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี

ต่อมา กระทรวงมหาดไทย อนุมัติให้สภากาชาดไทยใช้ที่สาธารณประโยชน์หนองแด ตำบลกุดสระ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ริมถนนสายอุดรธานี-หนองคาย ริมทางรถไฟ ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 4 กิโลเมตร จำนวน 50 ไร่ เพื่อจัดสร้างสถานีกาชาด 9 อุดรธานี 

คณะกรรมการพัฒนาสถานีกาชาด สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย จึงมีมติให้ก่อสร้างสถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี ขึ้นมาใหม่ เพื่ออำนวยประโยชน์ต่อประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เป็นคลังพัสดุช่วยเหลือผู้ประสบภัย และศูนย์โลจิสติกส์เชื่อมต่อการลำเลียงขนส่งกับศูนย์อื่นในภูมิภาค และเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2548 

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดอาคารสถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดอาคารสถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดอาคารสถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี

ต่อมา เสด็จพระราชดำเนินไปยังอาคารรักษาพยาบาลและที่ทำการ พระราชทานพระราชวโรกาสให้พระครูสถิตวโรกาส (สุวิทย์ ฐิตธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดธาตุสว่างโนนยาง จังหวัดอุดรธานี ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปยังคลังสัมภาระผู้ประสบภัยและอาคารดูแลผู้สูงอายุ เพื่อทอดพระเนตรนิทรรศการด้านการบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยและนิทรรศการด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินกลับไปยังอาคารรักษาพยาบาลและที่ทำการ ทรงทอดพระเนตรนิทรรศการประวัติความเป็นมาของสถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครบ 70 พรรษา และทรงลงพระนามาภิไธยในแผ่นศิลา จากนั้นประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จกลับ

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดอาคารสถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดอาคารสถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี

สถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ครบ 70 พรรษา เปิดทำการครั้งแรกโดยใช้ชื่อว่า สถานีอนามัยที่ 9 จังหวัดอุดรธานี สืบเนื่องจากมหาอำมาตย์โท พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร์ (ศุข ดิษยบุตร์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร ได้เรี่ยไรทุนจากข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน สร้างโอสถศาลา ณ ที่ดินแผนกอนามัยจังหวัด ค่าก่อสร้างเป็นเงิน 29,283 บาท 11 สตางค์ ใช้ระยะเวลาดำเนินการนานถึง 12 ปี การก่อสร้างจึงแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2472 แต่ขาดเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขที่ให้การช่วยเหลือประชาชนในยามป่วยไข้ อำมาตย์ตรี พระยาตรังคภูมาภิบาล (เจิม ปันยารชุน) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร คนสุดท้าย จึงได้ปรารภต่อ พันเอก นายแพทย์ หม่อมเจ้าวัลภากรณ์ วรวรรณ ผู้อำนวยการกองอนามัยสภากาชาดว่า

“ที่จังหวัดอุดรยังขาดเจ้าหน้าที่ทำการช่วยเหลือประชาชนในยามป่วยไข้ ถ้าสภากาชาดสยามไปจัดตั้งสถานีอนามัยขึ้นก็จะเป็นบุญคุณแก่ชาวจังหวัดอุดรอย่างยิ่ง”

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดอาคารสถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดอาคารสถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี

ปี พ.ศ.2498 เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีกาชาดที่ 9 จังหวัดอุดรธานี เพื่อไม่ให้ชื่อซ้ำซ้อนกับสถานีอนามัยของกระทรวงสาธารณสุข โดยอาคารสถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี เป็นอาคารเก่า อายุกว่าร้อยปี สร้างขึ้น พร้อมกับการสร้างเมืองอุดรธานี เป็นตึกทรงปั้นหยา 2 ชั้น กว้าง 8 เมตร 25 เซนติเมตร ยาว 19 เมตร 25 เซนติเมตร ก่ออิฐฉาบปูน วัสดุพื้นหลักเป็นไม้เนื้อแข็ง และในปี พ.ศ.2517 มีคำสั่งสภากาชาดไทย ที่ 131/4905 ให้ยุบสถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี

เนื่องจากตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับที่ทำการอนามัยจังหวัด และในเวลานั้น จังหวัดอุดรธานีมีโรงพยาบาลประจำจังหวักและสถานีอนามัยสำหรับให้บริการประชาชนอยู่แล้ว ประกอบกับตัวอาคารชำรุดทรุดโทรมมาก ในปี พ.ศ. 2537 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ทรงมีพระราชประสงค์ให้สภากาชาดไทยฟื้นฟูสถานีกาชาดที่ 9 จังหวัดอุดรธานี ขึ้นมาใหม่ เพื่อประโยชน์ในการดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชน และเป็นศูนย์ปฏิบัติการภัยพิบัติในการบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และจังหวัดชายแดนริมฝั่งแม่น้ำโขงรวมไปถึงช่วยเหลือประชาชนในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดอาคารสถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดอาคารสถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดอาคารสถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดอาคารสถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดอาคารสถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี