ในหลวง พระราชินี ทรงประกอบพิธีสมโภช “พระพุทธธรรมกายเทพมงคล”

ในหลวง พระราชินี ทรงประกอบพิธีสมโภช “พระพุทธธรรมกายเทพมงคล”

ในหลวง พระราชินี เสด็จฯ ไปทรงประกอบพิธีสมโภช “พระพุทธธรรมกายเทพมงคล” วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรงเทพมหานคร

ในหลวง พระราชินี ทรงประกอบพิธีสมโภช “พระพุทธธรรมกายเทพมงคล”

วันนี้ (5 ก.พ.66) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปยัง วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เพื่อทรงประกอบพิธีสมโภช พระพุทธธรรมกายเทพมงคล

เวลา 17.25 น. ครั้นเสด็จพระราชดำเนินถึงวัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานอำนวยการจัดงานฝ่ายคฤหัสถ์ นายอินทพร จั่นเอี่ยม รองผู้อำนวยการ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และคณะกรรมการวัดปากน้ำ เฝ้าฯ รับเสด็จ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย ทรงกราบ ประทับพระราชอาสน์ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ประธานอำนวยการจัดงาน ฝ่ายคฤหัสถ์ กราบบังคมทูลรายงานประวัติและความเป็นมาในการจัดสร้างพระพุทธรรมกายเทพมงคล พร้อมทั้งกราบบังคมทูลเชิญเสด็จฯ ไปทรงประกอบพิธีสมโภชพระพุทธธรรมกายเทพมงคล 

ในหลวง พระราชินี ทรงประกอบพิธีสมโภช “พระพุทธธรรมกายเทพมงคล”

ในหลวง พระราชินี ทรงประกอบพิธีสมโภช “พระพุทธธรรมกายเทพมงคล” ในหลวง พระราชินี ทรงประกอบพิธีสมโภช “พระพุทธธรรมกายเทพมงคล”

เจ้าพนักงานพระราชพิธี เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายพระบรมสารีริกธาตุ ทรงสรงพระบรมสารีริกธาตุ แล้วทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุลงในพระกรัณฑ์ แล้วทรงหยิบพระกรัณฑ์บรรจุลงในพระเจดีย์ พระราชทานคืนให้เจ้าพนักงาน พระราชพิธีอัญเชิญไปประดิษฐานในบุษบกหน้าองค์พระพุทธธรรมกายเทพมงคล 

เสด็จออกจากพลับพลาพิธี ไปยังบริเวณหน้าองค์พระพุทธธรรมกายเทพมงคล ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมแผ่นป้ายชื่อพระพุทธธรรมกายเทพมงคล เสด็จฯ ไปยังหน้าบุษบกประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงวางพวงมาลัย ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ทรงกราบ

ในหลวง พระราชินี ทรงประกอบพิธีสมโภช “พระพุทธธรรมกายเทพมงคล”

ในหลวง พระราชินี ทรงประกอบพิธีสมโภช “พระพุทธธรรมกายเทพมงคล”

ในหลวง พระราชินี ทรงประกอบพิธีสมโภช “พระพุทธธรรมกายเทพมงคล” ในหลวง พระราชินี ทรงประกอบพิธีสมโภช “พระพุทธธรรมกายเทพมงคล”

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงวางพวงมาลัย ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ทรงกราบ เสด็จเข้าพลับพลาพิธี ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระสงฆ์ ประทับพระราชอาสน์ ทรงหลั่งทักษิโณทก

นายอินทพร จั่นเอี่ยม รองผู้อำนวยการ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ กราบบังคมทูลเบิกผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินในการสร้างพระพุทธธรรมกายเทพมงคล เข้ารับพระราชทานของที่ระลึก จำนวน 42 ราย พระราชทานของที่ระลึก ตามลำดับ

นายสุธีธ์ มั่งมี ผู้ตรวจราชการกรม กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ผู้แทนคณะกรรมการจัดงานฯ เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายแผ่นศิลาเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และพระนามาภิไธยบนแผ่นศิลา

ทรงลงพระปรมาภิไธย และพระนามาภิไธยบนแผ่นศิลา เสด็จฯ ไปทรงกราบที่หน้าเครื่องนมัสการ ทรงลาพระสงฆ์

พระพรหมโมลี เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ถวายพระพุทธรูป พระพุทธธรรมกายเทพมงคล (จำลอง) ทองคำ หน้าตักกว้าง 9 นิ้ว จำนวน 1 องค์ และถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และถวายพระพุทธรูป “พระพุทธรรมกายเทพมงคล” (จำลอง) เงิน หน้าตักกว้าง 9 นิ้ว จำนวน 1 องค์ แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จออกจากพลับพลาพิธี ไปยังรถยนต์พระที่นั่ง ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

ในหลวง พระราชินี ทรงประกอบพิธีสมโภช “พระพุทธธรรมกายเทพมงคล”

ในหลวง พระราชินี ทรงประกอบพิธีสมโภช “พระพุทธธรรมกายเทพมงคล”

“พระพุทธธรรมกายเทพมงคล” เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ สร้างด้วยเนื้อทองแดงบริสุทธิ์ 99.99% ภายในพระเกตุพระพุทธธรรมกายเทพมงคล บรรจุดอกบัวสัตตบงกช หล่อขึ้นด้วยทองคำน้ำหนักประมาณ 6 กิโลกรัม ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ขณะที่หัวใจหล่อขึ้นด้วยทองคำ น้ำหนักประมาณ 6 กิโลกรัมเช่นกัน นำไปบรรจุบริเวณหน้าอกด้านซ้ายของพระพุทธรูป มีขนาดหน้าตักกว้าง 40 เมตร สูง 69 เมตร พระพักตร์หันไปทางทิศเหนือ ซึ่งสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์  (ช่วง  วรปุญฺโญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ คณะสงฆ์วัดปากน้ำ และคณะศิษยานุศิษย์ มีดำริก่อสร้างขึ้น โดยถือคติแห่งปฏิภาคนิมิต ที่พระมงคลเทพมุนี (สด  จนฺทสโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ รูปที่ 7 อรรถาธิบายไว้ในวิธีการเจริญพุทธวิปัสสนากัมมัฏฐาน และถวายพระนามพระพุทธรูปว่า “พระพุทธธรรมกายเทพมงคล” เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2560 และสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา เพื่อจรรโลง เทิดทูน สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และเพื่อเชิดชูประติมากรรมการสร้างพระพุทธรูปอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย