ไข่ไก่ราคาพุ่งฟองละ 4 บาท สวนทางกับรายได้ที่ค่าแรงขั้นต่ำ 240 บาท

ราคาไข่ไก่ ปรับขึ้นฟองละ 4 บาท ขณะที่ค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 240 บาทตามสถานประกอบการ ร้านค้าบางแห่ง ทำให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยต่างสะท้อนว่าสินค้าเกือบทุกประเภทต่างปรับราคาขึ้นมีแต่ค่าแรงที่ยังไม่ปรับขึ้นดูเหมือนจะเป็นการซ้ำเติมประชาชนกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำแบบนี้

เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2566 ที่ร้านเบตงไข่ไก่ ในเขตเทศบาลเมืองเบตง อ.เบตง จ.ยะลา หลังราคาไข่ไก่ปรับขึ้นราคาอยู่ที่ฟองละ4 เพิ่มขึ้น 10 สตางค์กว่า ต่อฟอง เรื่องนี้ถือว่าเป็นการซ้ำเติมประชาชนหรือเปล่า เพราะในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำแบบนี้ ยังต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้นอีก จากการสำรวจตามร้านขายไข่ไก่บรรดา พ่อค้า แม่ค้า ต่างบ่นเป็นเสียงเดียวกันถึงราคาไข่ไก่ที่พุ่งสูงมากเกินไป จนทำให้จำหน่ายไข่ไก่ได้น้อยกว่าช่วงที่ผ่านมา

ส่วนประชาชน บอกว่า ถึงราคาไข่ไก่จะปรับราคาก็ต้องจำใจซื้อ เนื่องจากไข่ไก่เป็นอาหารหลักที่มีความจำเป็นต้องมีติดบ้าน จากที่เคยซื้อยกแผง ก็หันมาซื้อครั้งละ 5 ฟอง เพื่อประคับประคองให้อยู่รอดถึงสิ้นเดือน โดยราคาไข่ไก่ต่อแผง อยู่ที่ 130-150 บาท ตกฟองละ 4-5 บาท ผู้ค้าบอกว่า ตั้งแต่เดือนเมษายน ที่ผ่านมาไข่ไก่ปรับขึ้นราคามาอย่างต่อเนื่อง โดยยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุด จนมาเดือนนี้ที่ปรับขึ้นราคา

ด้านแม่ค้าบอกว่าหลังจากการปรับราคาไข่ไก่ เชื่อว่ากำลังการซื้อของผู้บริโภคจะลดลง ไม่ต่างไปจากร้านอาหารในพื้นที่ ที่มีเมนูอาหารซึ่งมีส่วนประกอบ ที่ใช้ไข่ไก่ ที่ยังไม่ปรับเพิ่มราคาอาหาร เพราะยังพอจะยื้อขายราคาเดิมได้ไหวอยู่ แต่หากราคาไข่ไก่ยังเพิ่มขึ้นอีก แม้จะเห็นใจผู้บริโภค แต่ก็จำเป็นต้องปรับราคาอาหารตามลำดับ มันสวนกับเศรษฐกิจที่ตกต่ำมากยางก็ราคาถูกและค่าแรงขั้นต่ำในพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลาบางร้านค่าแรงอยู่ที่ 240 - 250 บาท และ 300 บาทการปรับราคาสินค้าเกือบทุกอย่าง จะเป็นการซ้ำเติมประชาชนหรือเปล่า กับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำแบบนี้

ส่วนเหตุผลที่ทำให้ราคาไข่ไก่ปรับสูงขึ้น เพราะราคาเป็นไปตามกลไกตลาด ที่เกษตรกรมีต้นทุนสูงขึ้น โดยพบว่าต้นทุนไข่ไก่ ตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ฟองละเกือบ 3 บาท ขณะที่ราคาหน้าฟาร์มอยู่ที่ฟองละ 3 บาท 20 สตางค์ ซึ่งมีแนวโน้มว่าราคาจะขยับสูงขึ้นอีก เรื่องของไข่ไก่ปรับขึ้นราคา อาจไม่ใช่เรื่องเล็ก เพราะการปรับขึ้นราคารอบนี้เป็นการปรับขึ้นแพงสุด ทำให้ผู้บริโภคต้องปรับตัวเลือกไปทานอาหารอย่างอื่น หลายคนมองว่าค่าครองชีพสูงเพราะสินค้าหลาย ๆ อย่างทยอยขึ้นราคา แต่สวนทางกับรายได้ที่หามาแทบจะไม่พอจ่ายในแต่ละวัน