โครงการน้ำบาดาลแก้ภัยแล้ง สืบสานพระราชกรณียกิจในหลวง

โครงการน้ำบาดาลแก้ภัยแล้ง สืบสานพระราชกรณียกิจในหลวง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสืบสาน ต่อยอดพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงทรงรับโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้ง รวมทั้งสิ้น 15 โครงการ 11 จังหวัด

ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ให้มีน้ำเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคได้ตลอดทั้งปี

โครงการน้ำบาดาลแก้ภัยแล้ง สืบสานพระราชกรณียกิจในหลวง

"อย่างที่เขาพูดกันว่า พระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปที่ไหน ชาวบ้านที่นั่นจะอยู่ดีกินดี ผมเชื่อในคำ คำนี้" นายมณฑล เถื่อนน้อย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9 บ้านเขาน้อย ตำบลหนองฝ้าย อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี บอกกับกรุงเทพธุรกิจในวันที่เขาและชาวบ้านได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 

เสด็จพระราชดำเนินเปิดโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ณ โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลหนองฝ้าย อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี

หากย้อนไปถึงความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ ผู้ใหญ่บ้านเล่าว่า จากการสำรวจประชากร ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน มีรายได้เฉลี่ยต่อปีราวสี่หมื่นบาท ประกอบอาชีพทำไร่อ้อยและมันสำปะหลัง พืชเพียงสองชนิดที่สามารถปลูกได้ในพื้นที่ดังกล่าว

"ที่นี่แล้ง...แล้งมาก จะปลูกพืชก็มีแต่พืชเชิงเดี่ยว ต้องอาศัยฟ้าฝนตกถึงจะได้น้ำจากธรรมชาติ  เวลาน้ำหลากก็พัดพาตะกอนทรายลงมาจากเขาทำให้อ่างเก็บน้ำเขาพระหุงดินที่มีความกว้าง 88 ไร่ เลยตื้นเขิน ความจุน้ำน้อยลงเรื่อยๆ ประปาในหมู่บ้านน้ำมีสีขุ่น จะนำไปเลี้ยงโคขุน ซึ่งเป็นอีกอาชีพหนึ่งของชาวบ้าน ก็ไม่เหมาะกับการทำปศุสัตว์ 

โครงการน้ำบาดาลแก้ภัยแล้ง สืบสานพระราชกรณียกิจในหลวง

โครงการน้ำบาดาลแก้ภัยแล้ง สืบสานพระราชกรณียกิจในหลวง

กระทั่งปี 62 เป็นปีที่ผมมารับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ก็พบปัญหาฝนไม่ค่อยตก น้ำกินน้ำใช้ไม่พอ น้ำสำหรับการเกษตรไม่ต้องพูดถึง ก็ไปขอความช่วยเหลือจากพลตรีฐกัด หลอดศิริ ผบ.พล.ร.9 ค่ายสุรสีห์ ยศในขณะนั้น ปัจจุบันท่านเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 1 ดูพื้นที่ในหมู่บ้าน ซึ่งในภาพรวมพื้นที่แห้งแล้งอย่างกับสนามแข่งโมโตครอส ซึ่งเบื้องต้นฝ่ายทหารนำนำ้มาแจกชาวบ้านและยังช่วยขุดลอดดินที่ขวางทางน้ำ

ส่วนการแก้ไขปัญหาระยะยาว ร้อยเอกธเนตร แก้วอุ่นเรือน ผบ.ร้อย.บก.พัน.ซบร.กรม.สน.พร.ร.9 เชิญดร.เร่งรัด สุทธิสน ผอ.สถาบันน้ำนิเทศศาสนคุณ มีความรู้เกี่ยวกับหลุมขนมครกหรือการทำพื้นที่สำหรับกักเก็บน้ำไว้ใต้ดิน เป็นศาสตร์พระราชาอย่างหนึ่งของในหลวง ร.9 มาเผยแพร่ให้กับชาวบ้านตำบลหนองฝ้าย ทั้งทหารและชาวบ้านก็ช่วยกันทำหลุมขนมครกประมาณ 20-30 หลุม 

โครงการน้ำบาดาลแก้ภัยแล้ง สืบสานพระราชกรณียกิจในหลวง

โครงการน้ำบาดาลแก้ภัยแล้ง สืบสานพระราชกรณียกิจในหลวง

ผลปรากฏว่า ปีแรกที่ฝนตกลงมา พื้นดินมีความชุ่มชื้นเป็นสิบๆ กิโลเมตร สามปีต่อมาเห็นความเขียวขจีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากนั้นทำธนาคารน้ำใต้ดิน(หลุมขนมครก) ที่โรงเรียนบ้านหนองงูเห่า เพียงปีเดียวก็เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเพราะการนำแนวทฤษฎีของในหลวง ร.9 มาช่วยให้อุปสรรคผ่านพ้นไปได้

จนเมื่อปี 64 ท่านสมนึก แสงอินทร์ นายกอบต.หนองฝ้าย อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี ประสานงานไปยังกรมทรัพยากรน้ำบาดาลเพื่อสำรวจแหล่งน้ำบาดาล เพื่อใช้สำหรับการเกษตร พอเจาะลงไปราวๆ 100 เมตร ก็เจอน้ำใต้ดิน 40-50 ลูกบาศก์เมตรใช้ได้แค่อุปโภคบริโภค

โครงการน้ำบาดาลแก้ภัยแล้ง สืบสานพระราชกรณียกิจในหลวง โครงการน้ำบาดาลแก้ภัยแล้ง สืบสานพระราชกรณียกิจในหลวง

ขั้นตอนต่อมาก็ไปสำรวจพื้นที่อีกครั้ง คราวนี้มีขนาด 19 ไร่ เจอแหล่งน้ำระดับลึก 200 เมตร จากนั้นทำเป็นบ่อสังเกตการณ์ 2 บ่อ และอีก 8 บ่อไว้สำหรับใช้งาน ซึ่งนักธรณีวิทยาก็พยายามหาแหล่งน้ำใต้ดินอีก"

การค้นพบครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านตำบลหนองฝ้าย บอกว่า ชาวบ้านต่างมีความหวัง  

"คราวนี้ขยายพื้นที่กว้าง 6 กิโลเมตร ยาว 12 กิโลเมตร ลึก 200 เมตร ขนาดเทียบเท่าครึ่งหนึ่งของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ทางท่านศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล จึงกราบบังคมทูลถวายรายงานแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อมาทรงรับโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้ง ไว้ในโครงการพระราชดำริ โดยเป็นพื้นที่อันดับแรก

ชาวบ้าน ผู้เฒ่าผู้แก่ที่รู้ข่าวมีความสุข เราไม่ต้องลำบากแล้ว ก็เฝ้ารอวันที่ในหลวง พระราชินี จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลหนองฝ้าย อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี

โครงการน้ำบาดาลแก้ภัยแล้ง สืบสานพระราชกรณียกิจในหลวง โครงการน้ำบาดาลแก้ภัยแล้ง สืบสานพระราชกรณียกิจในหลวง โครงการน้ำบาดาลแก้ภัยแล้ง สืบสานพระราชกรณียกิจในหลวง

การเสด็จพระราชดำเนินมายังตำบลเลาขวัญไม่ง่ายเลย ทั้งสองพระองค์ประทับรถยนต์พระที่นั่งจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เพื่อประทับเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง หนทางมาที่นี่ไกลนะ แถมอากาศในเดือนเมษายน เข้าสู่ฤดูร้อนแล้วอากาศร้อนมาก แต่พระองค์เสด็จฯมา

ยังจำวันนั้นได้แม่น ว่าตรงกับวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา ไม่น่าเชื่อว่าอากาศไม่ร้อนเหมือนวันก่อนๆ ฟ้าครึ้ม หมอกลง มีลมหนาวพัดมาตลอด ชาวบ้านไม่รู้กี่พันคนมารอเฝ้าฯ รับเสด็จเต็มสองข้างทาง"

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีเสด็จถึง ทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมป้ายโครงการฯ แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรนิทรรศการโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

โครงการน้ำบาดาลแก้ภัยแล้ง สืบสานพระราชกรณียกิจในหลวง

ต่อมา เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปลูกต้นรวงผึ้ง ณ บริเวณหน้าป้ายโครงการฯ เสร็จแล้วทอดพระเนตรแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ คอกปศุสัตว์ และ “บ้านน้ำดื่ม” ซึ่งใช้น้ำจากน้ำบาดาลในพื้นที่บ้านปากชัดหนองบัว หมู่ที่ 2 ตำบลหนองฝ้าย อำเภอเลาขวัญ ในการผลิตเป็นน้ำแร่ โดยค้นพบว่าเป็นน้ำแร่ธรรมชาติที่มีอายุกว่า 7,530 ปี สะอาด ไม่พบจุลินทรีย์และสารปนเปื้อน

มีคุณภาพเหมาะสมที่จะบริโภคได้อย่างปลอดภัยตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อให้ประชาชนใช้เป็นน้ำในการบริโภค โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาลดำเนินการผลิตน้ำดื่มได้กว่า2 พันล้านลิตรต่อปี ให้บริการแก่ประชาชนฟรีแล้วใน 512 แห่งทั่วประเทศประชาชนได้รับประโยชน์กว่า 3 ล้านคน

โครงการน้ำบาดาลแก้ภัยแล้ง สืบสานพระราชกรณียกิจในหลวง

"จากนั้นเสด็จฯ เยี่ยมราษฎร์ที่มาเฝ้าฯ รับเสด็จ ตลอดระยะทางทรงพระดำเนินและแย้มพระสรวล ใครๆ ก็เปล่งเสียงทรงพระเจริญ ในหลวงทรงช่วยเหลือชาวบ้าน หน่วยงานต่างๆ เข้ามาทำงานร่วมกับคณะกรรมการกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อขยายผลและต่อยอดจากโครงการพระราชดำรินี้ ในด้านการประกอบอาชีพการเกษตร 

รวมทั้งมีการสนับสนุนด้านวิชาการจากวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงดิน การปลูกพืชอายุสั้น สร้างรายได้เสริมจากพืชไร่ที่ชาวบ้านปลูกกันอยู่แล้ว หลายๆ หน่วยงานช่วยกันจัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์พัฒนาหมู่บ้านภาคการเกษตร โดยวางเป้าหมายทำการเกษตรผสมผสาน เช่น ปลูกสมุนไพร มะเขือเทศ พริกซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจ 

โครงการน้ำบาดาลแก้ภัยแล้ง สืบสานพระราชกรณียกิจในหลวง

โครงการน้ำบาดาลแก้ภัยแล้ง สืบสานพระราชกรณียกิจในหลวง

รวมทั้งหญ้าเนเปียร์ กระถินบด มันเส้น ผิวถั่วเหลืองเพื่อจำหน่ายเป็นอาหารสัตว์ พวกการผลิตเครื่องจักร โรงงานอบผักผลไม้แห้ง และล้ง หรือโกดังเก็บสินค้าไว้ให้ชาวบ้านจำหน่ายกับพ่อค้าโดยไม่ผ่านคนกลาง เมื่อเราสร้างเศรษฐกิจฐานราก เกิดรายได้หมุนเวียน ชาวบ้านมีงานทำ มีรายได้โดยไม่ต้องออกไปรับจ้างที่อื่น ผู้สูงอายุก็ไม่ถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพัง ต่อจากนี้ไปคุณภาพชีวิตของชาวบ้านจะดีขึ้นด้วยเพราะพระเมตตาของพระองค์โดยแท้"     

โครงการน้ำบาดาลแก้ภัยแล้ง สืบสานพระราชกรณียกิจในหลวง