พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร "ฝนตกหนัก" เกษตรกรควรระวัง! ผลกระทบต่อพืช-สัตว์

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร "ฝนตกหนัก" เกษตรกรควรระวัง! ผลกระทบต่อพืช-สัตว์

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ประเทศไทย "ฝนตกหนัก" เช็กเลย! ผลกระทบต่อพืช-สัตว์ ที่เกษตรกรต้องระวังและเตรียมพร้อมรับมือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า (20-26 กรกฎาคม 2565) การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 20-23 กรกฎาคม 2565 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้

 

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลางโดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

 

 

ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 กรกฎาคม 2565 "พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า" มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเล อันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้

 

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

 

คำเตือน ในช่วงวันที่ 20-24 กรกฎาคม 2565 ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยของประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือและชาวประมงบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน เพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

 

 

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช-สัตว์

 

ภาคเหนือ

 

ในช่วงวันที่ 20-24 กรกฎาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมแปรปรวนความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-7 ชม.

 

ในช่วงวันที่ 20-24 กรกฎาคม 2565 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกพืช เมื่อมีฝนตกหนัก ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ในดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

ในช่วงวันที่ 20-23 กรกฎาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 กรกฎาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-7 ชม.

 

ในช่วงวันที่ 20-23 กรกฎาคม 2565 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ โดยเฉพาะบริเวณที่ราบลุ่มเชิงเขา เนื่องจากในระยะนี้มีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ในดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ปีกควรสำรวจและซ่อมแซมโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึม เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย


ภาคกลาง

 

ในช่วงวันที่ 20-24 กรกฎาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมแปรปรวนความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

 

ในช่วงวันที่ 20-24 กรกฎาคม 2565 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกพืช เมื่อมีฝนตกหนัก สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ปีกควรสำรวจและซ่อมแซมโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึม เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝนจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ดอก และพืชผัก

 

ภาคตะวันออก

 

ในช่วงวันที่ 20-23 กรกฎาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

 

ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 กรกฎาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-7 ชม.

 

ในช่วงวันที่ 20-23 กรกฎาคม 2565 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้

 

สำหรับทะเลจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินในช่วงดังกล่าวเนื่องจากในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น

 

ภาคใต้

 

(ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 20-23 กรกฎาคม 2565 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

 

ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 กรกฎาคม 2565 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

 

(ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 20-23 กรกฎาคม 2565 ตั้งแต่ จ.ภูเก็ต ขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

 

ตั้งแต่ จ.กระบี่ ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

 

ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 กรกฎาคม 2565 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม.

 

ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง โดยมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราสีชมพูในไม้ผล โรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น

 

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 20-23 กรกฎาคม 2565 บริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน จะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

 

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร \"ฝนตกหนัก\" เกษตรกรควรระวัง! ผลกระทบต่อพืช-สัตว์