ชาวสวนโอด สับปะรดห้วยมุ่นราคาตกต่ำ เหลือกก.ละ 1 บาท

ชาวสวนโอด สับปะรดห้วยมุ่นราคาตกต่ำ เหลือกก.ละ 1 บาท

ชาวสวนโอด สับปะรดห้วยมุ่น สินค้า GI ราคาตกต่ำ กิโลกรัมละ 1 บาท ชาวสวนตัดทิ้งเป็นปุ๋ยกลางไร่ หลังพ่อค้าคนกลางไม่รับซื้อ

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ ส.ส.เขต 2 จ.อุตรดิตถ์ พร้อมทีมงาน ลงพื้นที่หมู่ 1 บ้านห้วยโป่ง ต.ห้วยมุ่น อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ หลังรับแจ้งจากว่า มีเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดห้วยมุ่น ได้รับผลกระทบจากราคาผลผลิตที่ตกต่ำที่สุด ชาวสวนบางรายยอมตัดสับปะรดทิ้งกลางไร่ เนื่องจากแทบไม่มีพ่อค้าแม่ค้ารับซื้อ

ชาวสวนโอด สับปะรดห้วยมุ่นราคาตกต่ำ เหลือกก.ละ 1 บาท

เมื่อไปถึงพบว่าเกษตรกรปลูกสับปะรดห้วยมุ่น ที่ตัดผลผลิตบรรทุกรถรถอีต๊อกรวมกลุ่มที่ลานรับซื้อ พร้อมชูป้ายขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือด้านราคา และระบายถึงผลกระทบดังกล่าว

ชาวสวนโอด สับปะรดห้วยมุ่นราคาตกต่ำ เหลือกก.ละ 1 บาท

นางสมฤทธิ์ พิมพ์อูบ เกษตรกรปลูกสับปะรดห้วยมุ่น กล่าวว่า ครอบครัวปลูก 10 ไร่ผลผลิตไร่ละ 1 ตัน หากรวมทั้งตำบลมีพื้นที่ปลูกเกือบ 2 หมื่นไร่ ปีนี้ราคาตกต่ำที่สุด จึงต้องออกมาเรียกร้องขอความช่วยเหลือทั้งจากส่วนราชการ และฝ่ายนักการเมือง คือ ส.ส.ในพื้นที่ ณ เวลานี้ขอเพียงได้ระบายผลผลิตที่เก็บเกี่ยว ได้ขายผลผลิตที่กำลังเก็บเกี่ยวช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม นี้

พ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อน้อยมาก และคัดเฉพาะเกรดดีๆ กดราคาเหลือเพียงกิโลกรัมละ 3-4 บาท หากเป็นสับปะรดลูกก็อบ หรือขนาดเล็ก ที่เข้าโรงงาน เป็นผลไม้กระป๋องและน้ำสับปะรด แปรรูปต่างๆ ปีนี้แทบไม่มีรับซื้อ หากจะซื้อก็กิโลกรัมละ 1 บาท ชาวสวนก็ต้องตัดทิ้ง ให้กลายเป็นปุ๋ยอยู่ที่ไร่ ทำให้ปีนี้ขาดทุน ราคาถูกที่สุดอย่างไม่เคยประสบมาก่อนวอนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือเกษตรกรปลูกสับปะรดห้วยมุ่น ระบายผลผลิตออกสู่ตลาด 

ชาวสวนโอด สับปะรดห้วยมุ่นราคาตกต่ำ เหลือกก.ละ 1 บาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังทราบปัญหานายศรัณย์วุฒิ ได้ใช้มีดปอกสับปะรด ทานโชว์ พร้อมระบุว่า สับปะรดห้วยมุ่น เป็นสินค้า GI ปลูกบนเขาสูง มีผิวบาง ตาตี้น เนื้อหนานิ่มสีเหมือนน้ำผึ้ง รสชาติหวานหอม ฉ่ำน้ำ ไม่ระคายลิ้น อร่อยที่สุดในโลก ปลูกเยอะที่ตำบลห้วยมุ่น ปีนี้ได้รับผลกระทบเนื่องจากต้นทุนทั้งปุ๋ย น้ำมันแพง และขายไม่ได้ แทบไม่มีพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อ

จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงการคลัง ระยะสั้นช่วยประคองราคาผลผลิตไม่เฉพาะสับปะรด แต่รวมไปถึงผลผลิตทางการเกษตรทุกตัวที่ราคาตกต่ำ ระยะยาวต้องวางแผนด้านการตลาด ทั้งในและต่างประเทศ มีเทคโนโลยีใดบ้างที่ทำให้ระหว่างการขนส่ง เมื่อผลผลิตถึงปลายทางยังสดเหมือนตัดใหม่จากสวน

 

“เรื่องน้ำมันแพง รัฐบาลช่วยชาวประมงได้ใช้น้ำมันม่วง ทำไมไม่ช่วยเกษตรกรใช้ปุ๋ยราคาถูก ประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติสามารถผลิตปุ๋ยได้เอง ซึ่งจะทำให้ต้นทุนต่ำร้อยละ 30 ฝากรัฐบาลด้วยเรื่องปุ๋ยแห่งชาติ เมื่อต้นทุนต่ำเกษตรกรอยู่ได้ ส่วนเรื่องการส่งเสริมสับปะรดห้วยมุ่น อยากฝากรัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำอย่างไรตกลงกับโรงงานได้ ทุกปีให้มีความชัดเจนกับโรงงานในการับซื้อ เพื่อเกษตรกรวางแผนการปลูก ขายได้ ไม่ใช่ให้มากองแบบนี้ กิโลละ 1 บาท กิโลละ 50 สตางค์ ที่เจ็บปวดมากที่เห็นป้าย จะเอาไปขายดาวอังคารแล้ว” นายศรัณย์วุฒิกล่าว