กทม.ปรับเกณฑ์วัดค่าฝุ่น PM2.5 ในรอบ 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 37.5 ไมโครกรัมต่อ ลบ.ม.

กทม.ปรับเกณฑ์วัดค่าฝุ่น PM2.5 ในรอบ 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 37.5 ไมโครกรัมต่อ ลบ.ม.

กทม.เตรียมปรับแก้ค่ามาตรฐานฝุ่น PM 2.5 ในรอบ 24 ชม. เทียบเท่าองค์การอนามัยโลก เพิ่มระดับป้องกันผลกระทบสุขภาพคนกรุง

วันที่ 12 พ.ค. นายชาตรี วัฒนเขจร รองปลัดกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยว่า สำนักสิ่งแวดล้อม กทม.ได้ติดตามสถานการณ์และเตรียมพร้อมมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพณ ตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปี 2565 ภายใต้แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” และบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนมาตรการควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ยานพาหนะ การก่อสร้าง สถานประกอบการ การเผาในที่โล่ง 

นายชาตรี กล่าวว่า รวมถึงการดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชน และการรณรงค์ เพื่อสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดมลพิษทางอากาศ เช่น การตรวจสอบและบำรุงรักษารถยนต์ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน ไม่ปล่อยมลพิษเกินมาตรฐานกำหนด เพื่อช่วยกันลดการเกิดฝุ่นละออง PM2.5 และลดผลกระทบต่อสุขภาพ 

กทม.ปรับเกณฑ์วัดค่าฝุ่น PM2.5 ในรอบ 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 37.5 ไมโครกรัมต่อ ลบ.ม.

นายชาตรี กล่าวว่า สำหรับมาตรการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไปนั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เป็นมาตรการหนึ่งตามแผนปฏิบัติการโดย กรมควบคุมมลพิษ ซึ่งต้องกำหนดค่ามาตรฐานเฉลี่ยราย 24 ชั่วโมงและค่ามาตรฐานเฉลี่ยรายปี ให้สอดคล้องกับเป้าหมายองค์การอนามัยโลก(WHO) จะมีการปรับปรุงค่ามาตรฐานราย 24 ชั่วโมง จากเดิมไม่เกิน 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร เป็นไม่เกิน 37.5 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ส่วนค่าเฉลี่ยในเวลา 1 ปี จากเดิมไม่เกิน 25 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร เป็นไม่เกิน 15 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร 

กทม.ปรับเกณฑ์วัดค่าฝุ่น PM2.5 ในรอบ 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 37.5 ไมโครกรัมต่อ ลบ.ม.

นายชาตรี กล่าวว่า ทั้งนี้ กทม.ได้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการกำหนดค่ามาตรฐานฝุ่น PM 2.5 ที่ปรับปรุงใหม่โดยการปรับปรุงพัฒนาแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ จากคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในกรุงเทพฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ และยกระดับมาตรการตามเกณฑ์มาตรฐานใหม่ รวมทั้งร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเร่งรัดแผนระยะยาวในการป้องกันและลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด เช่นการนำน้ำมันเชื้อเพลิงกำมะถันไม่เกิน 10 ppm มาใช้ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ก่อนกฎหมายบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม2567 

"รวมถึงการบังคับใช้มาตรฐานการระบายมลพิษจากรถยนต์ใหม่ EURO 6 ภายในปี 2565 เพื่อให้การแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 และลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน"นายชาตรี กล่าว