บทสรุป "คนละครึ่งเฟส 4" ดราม่าร้านค้าถูกเก็บภาษีย้อนหลัง เพราะอะไร?

บทสรุป "คนละครึ่งเฟส 4" ดราม่าร้านค้าถูกเก็บภาษีย้อนหลัง เพราะอะไร?

กรณีร้านค้า "คนละครึ่ง" ถูกเก็บภาษีย้อนหลัง ล่าสุดกระทรวงการคลัง ชี้แจงประเด็นดังกล่าวแล้วว่าเพราะอะไร รวมถึงสรุปโครงการ "คนละครึ่งเฟส 4" ที่เพิ่งจะสิ้นสุดลงไปเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2565

ประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์กรณีร้านค้า "คนละครึ่ง" ถูกเก็บภาษีย้อนหลัง ล่าสุดกระทรวงการคลัง ชี้แจงประเด็นดังกล่าวแล้วว่าเพราะอะไร รวมถึงสรุปโครงการ "คนละครึ่งเฟส 4" ที่เพิ่งจะสิ้นสุดลงไปเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

- "คนละครึ่งเฟส 4" วันสุดท้าย รีบใช้ให้หมดก่อน 5 ทุ่ม พร้อมอัปเดต คนละครึ่งเฟส 5

- "คนละครึ่งเฟส 5" "เราเที่ยวด้วยกันเฟส 5" จะมีต่อไหม? เช็กอัปเดตที่นี่

- สรรพากรแจงไม่มีเป้าเก็บภาษีจากโครงการคนละครึ่ง

 

ประเด็น "คนละครึ่งเฟส 4" กระทรวงการคลัง ชี้แจงประเด็นข้อวิจารณ์ร้านค้าโครงการ คนละครึ่ง ถูกเก็บภาษีย้อนหลัง สืบเนื่องจากกระแสในโซเชียลมีเดียกรณีร้านค้าหลายแห่งงดรับการจ่ายเงินผ่านโครงการคนละครึ่ง รวมถึงระบบการจ่ายเงินผ่าน e-wallet หรือแอปฯ เป๋าตัง ของรัฐ เพราะถูกเรียกเก็บภาษีรายได้บุคคลธรรมดาย้อนหลังจำนวนมาก สะท้อนว่านายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจไม่เข้าใจปัญหาความความเดือดร้อนของประชาชนอย่างแท้จริง ภายใต้บรรยากาศเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ค่าครองชีพพุ่งสูง แต่มาตรการช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลกลับมีการขูดรีดภาษีเป็นการซ้ำเติมประชาชน

 

เรื่องนี้มีคำชี้แจงกระทรวงการคลัง ดังนี้

ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะประกอบกิจการที่เข้าร่วมโครงการของรัฐหรือไม่ หากผู้ประกอบการมีเงินได้พึงประเมินถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด มีหน้าที่ต้องนำเงินได้พึงประเมินมายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

โดยการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นการประเมินตนเองของผู้ประกอบการ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำเอกสารหลักฐานต้นทุนในการประกอบกิจการมาหักค่าใช้จ่ายจากยอดขายเพื่อคำนวณภาษีเงินได้ที่จะต้องชำระ หรือหากไม่มีการเก็บเอกสารหลักฐานต้นทุนก็สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาตามที่กฎหมายกำหนดได้

 

ซึ่งภาระภาษีของผู้ประกอบการขึ้นอยู่กับรายได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายตามจริงหรือในอัตราเหมาตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งค่าลดหย่อนต่างๆ ทั้งนี้ หากรายได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนดังกล่าวไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนด ผู้ประกอบการจะไม่มีภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จะต้องชำระแต่อย่างใด และสำหรับผู้ประกอบการที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร และเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ รวมทั้งนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่กรมสรรพากรตามที่กฎหมายกำหนดไว้อีกประการหนึ่งด้วย

 

นอกจากนี้ กรมสรรพากรได้พัฒนากระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ในการจดทะเบียน ยื่นแบบภาษี ชำระภาษี และคืนภาษี ทุกขั้นตอนผ่านระบบ Tax from Home ซึ่งเป็นการช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการ ผ่านทาง เว็บไซต์กรมสรรพากร 

 

ทั้งนี้ รัฐบาลดำเนินโครงการคนละครึ่งเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชน และส่งผ่านกำลังซื้อไปสู่ผู้ประกอบการให้มีรายได้เพิ่ม เมื่อผู้ประกอบการมีรายได้เพิ่มขึ้นแล้วและอยู่ในเกณฑ์เสียภาษีตามกฎหมายก็สามารถไปชำระภาษีได้ โดยฐานข้อมูลโครงการคนละครึ่งไม่ได้มีการเชื่อมต่อระบบกับกรมสรรพากร เพื่อตรวจสอบรายได้แต่อย่างใด ซึ่งสำหรับโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 ได้สิ้นสุดโครงการเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2565

 

สรุปโครงการ "คนละครึ่งเฟส 4"

คนละครึ่งเฟส 4 ที่สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 30 เม.ย.2565 ทำเงินหมุนเวียนระบบเศรษฐกิจ 6.18 หมื่นล้านบาท มีผู้ใช้สิทธิ 26.27 ล้านคน (จาก 26.38 ล้านคน)

  • ใช้จ่ายร้านอาหารเครื่องดื่มมากที่สุด 25,747 ล้านบาท
  • รองลงมา ร้านค้าทั่วไป 21,282 ล้านบาท
  • ร้านธงฟ้า 10,742 ล้านบาท และร้าน OTOP 2,837 ล้านบาท

 

CR : กระทรวงการคลัง