ชาวประมงท้องถิ่นเดือดร้อนหนัก หาปลาไม่ได้ หลังการเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำโขง

ชาวประมงท้องถิ่นเดือดร้อนหนัก หาปลาไม่ได้ หลังการเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำโขง

ชาวประมงท้องถิ่นปากแม่น้ำกก เชื่อมต่อแม่น้ำโขง เดือดร้อนหนัก การพัฒนาทางเศรษฐกิจกระทบต่ออาชีพเลี้ยงครอบครัว ทำปลาหายหลายสายพันธุ์ กระแสน้ำไม่เป็นไปตามธรรมชาติ 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต นำโดย นายสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา นายกสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต นำทีมเจ้าหน้าที่ภาคสนามลงพื้นที่ ติดตามการหาปลาของชาวประมงพื้นที่บ้านเชียงแสนน้อย ในแม่น้ำกก ใกล้กับแม่น้ำโขง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เพื่อรับฟังความเดือดร้อน และหาแนวทางการช่วยเหลือชาวประมงที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง และการทำกิจกรรมของกลุ่มทุนต่างๆ จนทำให้ปลาหลากหลายชนิดที่เคยหาเลี้ยงชีพและเป็นรายได้หลักของครอบครัวลดลง 

 

ชาวประมงท้องถิ่นเดือดร้อนหนัก หาปลาไม่ได้ หลังการเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำโขง

โดยการลงพื้นที่ครั้งนี้ได้ลงพื้นที่ไปยังแพหาปลากลางแม่น้ำกก เพื่อดูการวางอุปกรณ์ดังปลาของชาวประมงในแม่น้ำกก ซึ่งเป็นบริเวณปากแม่น้ำที่ปลาในแม่น้ำโขงจะเข้ามาวางไข่ ทั้งวางกับดักริมตลิ่ง วางเบ็ด และลากอวน เพื่อหาปลา โดยคลอดทั้งวันหาปลาได้นำหนักรวมกันไม่ถึง 1 กิโลกรัม ซึ่งสิ่งที่น่ากังวลของอาชีพประมงท้องถิ่นในแม่น้ำกกแห่งนี้ ซึ่งชุมชนที่หาปลาปากแม่น้ำโขงใน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย มี 3 ชุมชน คือ บ้านเชียงแสนน้อย สบกก และสบคำ 

 

ชาวประมงท้องถิ่นเดือดร้อนหนัก หาปลาไม่ได้ หลังการเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำโขง

 

 

 

นายสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา เปิดเผยว่า การลงพื้นที่ในครั้งนี้เพื่อเป็นการรวมกลุ่มของชาวประมงเพื่อรับทราบถึงปัญหา โดยรวบรวมข้อมูลและข้อคิดเห็นของกลุ่มชาวประมง และเป็นการวิจัยถึงผลกระทบของปลาในแม่น้ำโขงที่ลดลงเนื่องจากปัจจัยภายนอกที่เกิดขึ้นโดยฝีมือของมนุษย์เอง จนทำให้ปลาลดน้อยลง บางสายพันธุ์สุญพันธุ์ไป ส่งผลโดยตรงกับชาวประมงพื้นบ้านที่ยึดอาชีพประมงเป็นอาชีพหลักต้องลำบากในการหาเลี้ยงครอบครัว ทางสมาคมจึงได้ร่วมมือกับชาวบ้านเพื่อหาทางออก และวางแผนในการแก้ปัญหาเกิดขึ้นเพื่ออนุรักษ์การหาปลาท้องถิ่น และอนุรักษ์แม่น้ำทั้งแม่น้ำกก และแม่น้ำโขง ไปร่วมกัน 

 

ชาวประมงท้องถิ่นเดือดร้อนหนัก หาปลาไม่ได้ หลังการเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำโขง

 

นายไกรทอง เหง้าน้อย เจ้าหน้าที่ภาคสนามสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต กล่าวว่า สถานการณ์แม่น้ำโขงในรอบ 10 ปีมานี้มีการเปลี่ยนแปลง วิธีหาอยู่หากินก็เปลี่ยน การปาปลาก็ยากขึ้น คงเป็นเรื่องยากที่จะฟื้นให้กลับมาเป็นเหมือนเดิม ปลาก็หายากขุ้นเรื่อยๆ การพัฒนาในพื้นที่ก็ส่งผลกระทบต่อชาวประมงมากยิ่งขึ้น ทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน การพัฒนาการคมนาคมในแม่น้ำโขง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับชาวประมงและพันธุ์ปลา ซึ่งการที่เรามารวบรวมข้อมูลครั้งนี้เพื่อจะได้ชี้แจงเป็นกระบอกเสียงออกไปให้สาธารณะทราบว่าชาวประมงได้รับผลกระทบในการหาปลา การหาอยู่หากินตามวิถีชีวิตดั้งเดิมของท้องถิ่น

  ชาวประมงท้องถิ่นเดือดร้อนหนัก หาปลาไม่ได้ หลังการเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำโขง

นาย สุขใจ  ยานะ อายุ 69 ปี ชาวประมงพื้นบ้าน บ้านเชียงแสนน้อย ให้ข้อมูลว่า เมื่อประมาณ 10 กว่าปีก่อน สามารถหาปลาน้ำโขง ที่เข้ามาวางไข่ในแม่น้ำกก  ในช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่ กลางเดือน เม.ย.ของทุกปี จนถึงช่วงฤดูฝน ชาวประมงจะมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ เคยได้เงินจากการขายปลาสูงสุด 5,000 บาทต่อวัน ลงน้ำหาปลาทุกวันจะได้อย่างน้อยวันละ 2,000 บาท เป็นช่วงที่ชาวประมงทำเงินในรอบปี แต่ปัจจุบันมีปัจจัยหลายอย่าง กระทบต่อการหาปลา เช่น การปล่อยน้ำของเขื่อนที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ และการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขง ทำให้ปลาที่ลงไปลุ่มแม่น้ำไม่สามารถกลับมาวางไข่ได้ ทำให้ปลาหลายสายพันธุ์หายไป การเดินเรือสินค้าขนาใหญ่ที่ปล่อยสิ่งปฏิกูล และคราบน้ำมันลงไปในแม่น้ำ การดูดทรายที่ปากแม่น้ำที่บ้านสบกกทำให้ปลาตกใจไม่เข้ามาวางไข่ในแม่น้ำกก

 

"รายได้จากการประมงไม่สามารถกำหนดได้การลงหาปลาบางวันไม่ได้ปลาลงทุนค่าน้ำมันก็เสียเปล่า ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา หาปลาได้มากสุด 1,000 บาทต่อวันเท่านั้น ปลาขนาดใหญ่กว่า 1 กิโลกรัมค่อนข้างหายาก  อยากให้ทางเขื่อนปล่อยน้ำให้ไหลตามฤดูกาล และการดูดทรายของท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน 2  ย้ายไปดูดที่หน้าท่าเรือตามร่องน้ำที่เรือเดินทาง เพราะปากแม่น้ำกก ไม่มีเรือสินค้าขนาดใหญ่เข้ามา ไม่จำเป็นจะต้องดูทรายบริเวณดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการวางไข่ของปลา หรือหากเป็นไปได้ก็อยากขอความร่วมมือให้หยุดดูดทรายในช่วงฤดูกาลหาปลา เพราะทั้งปี ชาวประมงพื้นบ้านจะหาปลาเฉพาะในช่วงเดือน กลางเดือนเมษายน ถึงประมาณเดือนมิถุนายนเท่านั้น" นาย สุขใจ กล่าว