โครงการบรรเทาอุทกภัยหาดใหญ่คืบหน้า 93%  ปี 65 แล้วเสร็จป้องเมือง-หนุนเศรษฐกิจภาคใต้ 

โครงการบรรเทาอุทกภัยหาดใหญ่คืบหน้า 93%  ปี 65 แล้วเสร็จป้องเมือง-หนุนเศรษฐกิจภาคใต้ 

นายกฯ พอใจ ผลโครงการบรรเทาอุทกภัยหาดใหญ่คืบหน้า 93%  ปี 65 แล้วเสร็จป้องเมือง – หนุนเศรษฐกิจภาคใต้ 

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อป้องกันและลดผลกระทบอุทกภัย ภายหลังเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ต่อเนื่อง 3 ครั้งในปี 2531 ปี 43 และปี 53 แต่ละครั้งสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจกว่าหมื่นล้านบาทในฐานะเป็นศูนย์กลางการค้าและการท่องเที่ยวสำคัญในภาคใต้ และทรงพระราชทานชื่อให้ไว้ว่า “คลองภูมินาถดำริ” เมื่อ 12 ต.ค. 2559 มีความหมายว่าเป็นคลองที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้ขุดขึ้น เป็นคลองที่แทนความห่วงใยของพระองค์ต่อประชาชน

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) เป็นการขุดขยายคลอง ร. 1 ปัจจุบัน มีความคืบหน้าแล้วกว่าร้อยละ 92 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2565 นี้ เมื่อแล้วเสร็จจะสามารถระบายน้ำได้อัตรา 1,200 ลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.)ต่อวินาที เป็นการขยายศักยภาพจากเดิมที่ระบายน้ำได้ 465 ลบ.ม.ต่อวินาที เมื่อรวมกับการระบายน้ำในคลองอู่ตะเภา 465 ลบ.ม.ต่อวินาที ทำให้ศักยภาพการระบายน้ำในภาพรวมเมืองหาดใหญ่อยู่ที่ 1,665 ลบ.ม.ต่อวินาที นอกจากนั้นยังได้มีการก่อสร้างประตูระบายน้ำเพื่อกักเก็บน้ำสำรองสำหรับผลิตน้ำประปาเพื่อการอุปโภค บริโภค   และการเกษตรในฤดูแล้ง คลองมีระยะทาง 21.34 กิโลเมตร สามารถกักเก็บน้ำได้ความจุ 5 ล้านลบ.ม. นอกจากนั้นที่ผ่านมาแม้งานไม่แล้วเสร็จในช่วงปี2561 ยังสามารถช่วยระบายน้ำหลากได้ในอัตรา 1,000 ลบ.ม.ต่อวินาที   ทำให้หาดใหญ่รอดจากอุทกภัยและในช่วงเวลานับแต่ปี 53 ยังไม่เกิดอุทกภัยในหาดใหญ่

โครงการบรรเทาอุทกภัยหาดใหญ่คืบหน้า 93%  ปี 65 แล้วเสร็จป้องเมือง-หนุนเศรษฐกิจภาคใต้ 

“พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ตรวจเยี่ยมโครงการ ซึ่งทุกฝ่ายพอใจที่ผลดำเนินการเป็นไปตามแผน ร่วมถึงเป็นแหล่งน้ำสำรองได้อีกด้วย   ทั้งนี้ท่านสอบถามถึงศักยภาพระบบระบายน้ำที่ใช้เกณฑ์ปริมาณน้ำปี 53  ซึ่งมีปริมาณน้ำหลากอยู่ที่ 1,200  ลบ.ม.ต่อวินาที  ซึ่งท่านนายก.ฝากย้ำว่าต้องสร้างความเข้าใจกับประชาชนว่าโครงการจะช่วยเหลือและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างไร  ร่วมถึงสภาพอากาศแปรปรวนที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้แต่โครงการจะช่วยลดผลกระทบต่อประชาชนให้มากที่สุด และเมื่อไม่เกิดอุทกภัยจะทำให้รัฐประหยัดงบการช่วยเหลือน้ำท่วม มาเป็นการช่วยในเรื่องการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคหรือโครงสร้างพื้นฐานให้ประชาชนทุกคน เช่นการสร้างคลองหรือระบบกระจายน้ำตามข้อเสนอของประชาชนในพื้นที่ “

 พล.ต.ท.สาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ กล่าวว่าตั้งแต่ปี 53 เป็นต้นมาเมื่อมีโครงการขยายคลอง ร1   และการบริหารจัดการน้ำทั้งกรมชลประทานร่วมกับ กรมเจ้าท่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่ช่วยกัน ทำให้ 12 ปีที่ผ่านมายังไม่เคยมีน้ำท่วมในเมืองหาดใหญ่  ซึ่งคนหาดใหญ่และคนในพื้นที่ใกล้เคียงต้องขอบคุณรัฐบาลที่ผลักดันโครงการ ร่วมถึงการเข้มงวดในการเดินหน้าโครงการให้แล้วเสร็จทั้งนายกรัฐมนตรี รมว.เกษตรและสหกรณ์  ที่มาติดตามต่อเนื่อง ทั้งนี้ตัวเมืองหาดใหญ่เกิดอุทกภัยใหญ่ 3 ครั้งในรอบ  30 ปีที่ผ่านมาทุกรอบ 10 ปี โดยครั้งใหญ่ปี 2531 มีปริมาณน้ำท่า 839 ลบ.ม.ต่อวินาทีเกิดอุทกภัยสร้างความเสียหาย 4,000 ล้านบาท ต่อมาปี 43 มีปริมาณน้ำท่า 970 ลบ.ม.ต่อวินาทีสร้างความเสียหายกว่า 14,000 ล้านบาท และปี 53 มีปริมาณน้ำท่าผ่านเมืองหาดใหญ่ 1,623 ลบ.ม.ต่อวินาทีท่วมเพียง 2   วันแต่เสียหายกว่า 10,000 ล้านบาท 

สำหรับโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) เป็นการปรับปรุงคลองภูมินาถดำริ หรือคลองระบายน้ำ ร.1 ความยาว 21.34 กิโลเมตร รวมทั้งการก่อสร้างประตูระบายน้ำ(ปตร.)หน้าควน 2 และปตร.บางหยี 2 พร้อมสถานีสูบน้ำบางหยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำได้เพิ่มขึ้น  ทำให้ระบายน้ำเพิ่มจาก  อัตรา 465 ลบ.ม./วินาที  เป็น 1,200 ลบ.ม./วินาที และเมื่อรวมกับคลองอู่ตะเภาที่ระบายได้ในอัตรา 465 ลบ.ม./วินาที  ทำให้มีศักยภาพในการระบายน้ำได้สูงสุดรวมกัน 1,665 ลบ.ม./วินาที  ส่วนการก่อสร้างประตูระบายน้ำหน้าควน 2 ซึ่งอยู่บริเวณปากคลองระบายน้ำ ร.1 ปัจจุบันดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ สามารถใช้บริหารจัดการน้ำด้วยการเปิด-ปิดบานระบายน้ำ เพื่อควบคุมปริมาณน้ำที่จะไหลเข้าสู่คลองระบายน้ำ ร.1 ได้แล้ว ส่วนประตูระบายน้ำบางหยี 2 พร้อมสถานีสูบน้ำ ขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จเช่นกัน หากงานก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ทั้งโครงการ จะช่วยเพิ่มศักยภาพการระบายน้ำในช่วงฤดูน้ำหลากได้ 1,200 ลบ.ม./วินาที