เผยโฉม นกจาบคาเคราน้ำเงิน ใหญ่ที่สุดในโลก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว

เผยโฉม นกจาบคาเคราน้ำเงิน ใหญ่ที่สุดในโลก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว

เผยโฉม "นกจาบคาเคราน้ำเงิน" นกจาบคาใหญ่ที่สุดในโลก นกประจำถิ่นแห่งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว มักทำรังเป็นโพรงดินวางไข่ เดินป่าต้องระวังรบกวน "สัตว์หนึ่งชีวิต" สัญชาตญาณนกเมื่อรู้สึกไม่ปลอดภัย ตัวพ่อแม่จะทิ้งรัง ทิ้งลูกนกไปทันที ปล่อยลูกนกอดอาหารตายในที่สุด

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จ.ชัยภูมิ พามาชมสีสันและความน่ารัก เผยโฉม "นกจาบคาเคราน้ำเงิน" (Blue-bearded Bee-eater

เสียงร้องแหบและทุ้มต่ำ “ฮแอ่ว-ฮแอ่ว” และ “แอ่ว-แอ่ว-แอ่ว” ที่คุ้นหู เป็นเสียงร้องของนกจาบคาเคราน้ำเงิน ดังก้องไปทั่วบริเวณขานรับกันไปมาระหว่างพ่อแม่และลูกนก ที่ค่อยๆ โผล่ออกมาจากปากโพรงเพื่อรอรับอาหาร ซึ่งพ่อและแม่นกต่างก็ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาป้อนอาหารลูกน้อยที่อยู่ในโพรงดิน 

 

เผยโฉม นกจาบคาเคราน้ำเงิน ใหญ่ที่สุดในโลก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว

ลักษณะเด่น "นกจาบคาเคราน้ำเงิน"

นกจาบคาเคราน้ำเงิน ถูกจัดให้เป็นนกจาบคาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป็นนกประจำถิ่นที่พบบ่อย 

จุดเด่นคือ มีขนหยาบจากอกถึงคอสีฟ้าแกมเขียว มักทำรังเป็นโพรงดินวางไข่และอาศัยอยู่ในโพรงเป็นเวลาหลายเดือน ไข่ที่ถูกฟักเป็นตัว จะมีพ่อแม่คอยดูแลอย่างใกล้ชิด จนลูกนกบินได้และออกจากโพรงไป 

 

เผยโฉม นกจาบคาเคราน้ำเงิน ใหญ่ที่สุดในโลก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
 

สัญชาตญาณนกจาบคาเคราน้ำเงินเมื่อรู้สึกไม่ปลอดภัย

หากในระหว่างนั้นโพรงถูกรบกวนจากสัตว์ผู้ล่าหรือหากพ่อแม่นกถูกรบกวนจนรู้สึกไม่ปลอดภัย ก็จะเป็นอันตรายต่อลูกนกเป็นอย่างมาก เนื่องจากพ่อแม่จะทิ้งรังและทิ้งลูกนกไปทันที ทำให้ลูกนกอดอาหารตายไปในที่สุด 

ดังนั้นนักถ่ายภาพ เดินป่าต้องระวังรบกวน จะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะนั่นหมายถึงชีวิตของสัตว์หนึ่งชีวิตหรือหลายๆ ชีวิตที่ต้องสูญเสียไป หากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น

 

เผยโฉม นกจาบคาเคราน้ำเงิน ใหญ่ที่สุดในโลก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว

เผยโฉม นกจาบคาเคราน้ำเงิน ใหญ่ที่สุดในโลก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว

 

นกจาบคาเคราน้ำเงิน พบได้ในป่าดิบ ที่ราบถึงความสูงถึง 2,200 เมตร ผสมพันธุ์ระหว่างเดือน มีนาคม-พฤษภาคม วางไข่ครั้งละ 4-6 ฟอง ใช้ระยะเวลาในการฟักไข่ 14-15 วัน

เผยโฉม นกจาบคาเคราน้ำเงิน ใหญ่ที่สุดในโลก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว

 

อ้างอิง-ถ่าย : คู่มือดูนกหมอบุญส่ง เลขะกุล นกเมืองไทย และหนังสือนกในเมืองไทย เล่ม 2 รศ.โอภาส ขอบเขตต์ , นายวิศรุต ธรรมสรางกูร เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการและจัดการทรัพยากร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว , ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช