ปฏิทิน วันพระเดือนพฤศจิกายน 2566 เดือนนี้มีประเพณี 'วันลอยกระทง 2566'

เช็ก วันพระเดือนพฤศจิกายน 2566 "วันลอยกระทง" วันที่เท่าไหร่

ปฏิทิน วันพระเดือนพฤศจิกายน 2566 ตรงกับวันใดบ้าง และยังมีประเพณี "วันลอยกระทง" ที่หลายคนรอคอย ตรงกับวันที่เท่าไหร่ เดือนนี้มีวันหยุดพิเศษหรือไม่ เช็กที่นี่

เข้าสู่โค้งสุดท้ายของปี 2566 กันแล้ว "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" ได้รวบรวม "วันพระเดือนพฤศจิกายน 2566" มาให้แล้ว เพื่อให้ชาวพุทธได้ทำกิจกรรมทางพุทธศาสนา อีกทั้งยังถือเป็นวันมงคลเหมาะสำหรับจัดงานบุญหรืองานมงคลอีกด้วย จะตรงกับวันใดบ้าง พร้อมปักหมุดเที่ยวประเพณี "วันลอยกระทง 2566" ที่หลายคนรอคอย ตรงกับวันที่เท่าไหร่ เดือนนี้มีวันหยุดพิเศษหรือไม่ ดังนี้

 

ปฏิทิน วันพระเดือนพฤศจิกายน 2566

  • วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2566 แรม 8 ค่ำ เดือน 11 ปีเถาะ
  • วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน 2566 แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีเถาะ
  • วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2566 ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 12 ปีเถาะ
  • วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ปีเถาะ ตรงกับ "วันลอยกระทง"

ปฏิทิน วันพระเดือนพฤศจิกายน 2566 เดือนนี้มีประเพณี \'วันลอยกระทง 2566\'

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

"วันลอยกระทง 2566" หรือ วันเพ็ญเดือน 12 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ปีเถาะ ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือถ้าเป็นปฏิทินจันทรคติล้านนาจะตรงกับเดือนยี่ และหากเป็นปฏิทินสุริยคติจะตรงกับราวๆ เดือนพฤศจิกายน ซึ่งปีนี้ ตรงกับวันที่ 27 พฤศจิกายน ซึ่งแม้ว่าจะไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ แต่ก็มีความสำคัญมากๆกับคนไทย

อีกหนึ่งความเชื่อของคนไทยเกี่ยวกับ "วันลอยกระทง" คือ "แม่คงคา" ที่คอยดูแลปกปักสายน้ำต่างๆ ว่ากันว่าแม่คงคาเป็นเทพธาตุน้ำที่สถิตอยู่บนสวรรค์ มีหน้าที่ในการรักษาแม่น้ำบนสวรรค์ ครั้งหนึ่งพบว่าโลกมนุษย์เกิดความแห้งแล้งไม่มีน้ำกินน้ำใช้ พระศิวะจึงขอให้แม่คงคาลงจากสวรรค์ไปช่วยมนุษย์โลก

แต่เนื่องจากพระแม่คงคามีฤทธิ์เดชอย่างมหาศาล หากเสด็จลงไปทั้งองค์ อาจทำลายล้างโลกมนุษย์ได้ นางจึงเปลี่ยนพลังของนางให้เป็นสายน้ำไหลจากหมวยผมของพระศิวะลงไปยังโลก โดยฝั่งขวาให้ไหลลงไปเป็นแม่น้ำคงคา ส่วนฝั่งซ้ายจะไหลลงไปทางจีนออกมาทางธิเบตและหิมาลัย กลายเป็นแม่น้ำโขง 

ด้วยเหตุนี้ผู้คนที่นับถือพาหมณ์ฮินดูจึงมีคติความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาและขอขมาพระแม่คงคาในทุกๆ ปี ซึ่งก็มีการส่งต่อความเชื่อนี้มายังคนไทยด้วย

ปฏิทิน วันพระเดือนพฤศจิกายน 2566 เดือนนี้มีประเพณี \'วันลอยกระทง 2566\'

คำขอขมาพระแม่คงคา

ตั้งนะโม (3 จบ)

สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต

ข้าแต่พระแม่คงคา ลูกขอวันทา ด้วยประทีปกระทง พระแม่คงคามีความเมตตา ต่อลูกสูงส่ง คือน้ำในกาย สามส่วนมั่นคง กายจึงยืนยง ชุ่มชื่นยืนนาน พระแม่คงคา กำเนิดจากฟ้า โปรยปรายลงมา เป็นกระแสธาร เกิดเป็นแม่น้ำ หลายนามขนาน ปิง, วัง, ยม, น่าน คือเจ้าพระยา ท่าจีน, ตาปี นครชัยศรี โขง, ชี, มูล, ละหาร ห้วยหนองคลองบึง จนถึงแก่งกว๊าน น้ำใต้บาดาล อีกทั้งประปา

ลูกๆทั้งหลาย เดินทางขายค้า สำเร็จกิจจา คมนาคม นำมากินใช้ ได้ดั่งอารมณ์ ยามร้อนประพรม ชุ่มชื่นกายใจ ชำระมลทิน โสโครกทั้งสิ้น สะอาดสดใส ผุดผ่องพราวตา แลเลิศวิไล แม่น้ำรับไว้ สกปรกโสมม น้ำเสียเรือนชาน ซักผ้าล้างจาน เททิ้งทับถม ไหลลงคงคา ธาราระทม สารพิษสะสม เน่าคลุ้งฟุ้งไป วันนี้วันเพ็ญ พระจันทร์ลอยเด่น เป็นศุภสมัย

ลูกจัดกระทง ประสงค์จงใจ นำมากราบไหว้ พระแม่คงคา เทวาทรงฤทธิ์ ซึ่งสิงสถิต ทุกสายธารา ทั้งผีพรายน้ำ อย่าซ้ำโกรธา ลูกขอขมา อโหสิกรรม ทำกิจใดใด อุทกภัย อย่าได้เติมซ้ำ อย่าพบวิบัติ ข้องขัดระกำ อย่าให้ชอกช้ำ น้ำท่วมพสุธา อย่าให้สินทรัพย์ ต้องพลันย่อยยับ เพราะสายธารา อย่าให้ชีวิต ต้องปลิดชีวา พระแม่คงคา รับขมาลูก เทอญ