พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ เล่าเรื่องผ้าไทย การแต่งกาย กับอิทธิพลผ้าอินเดียในราชสำนัก

พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ เล่าเรื่องผ้าไทย การแต่งกาย กับอิทธิพลผ้าอินเดียในราชสำนัก

พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ จัดกิจกรรมพิเศษ “Weaving Relations: A Shared Heritage of Indian & Thai Textile Culture” เล่าเรื่องผ้าไทย วัฒนธรรมการแต่งกาย และอิทธิพลผ้าอินเดียในราชสำนักสยาม

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจุบัน ละครและภาพยนตร์แนวย้อนยุค ของไทย มีบทบาทอย่างมากในการส่งเสริมให้คนไทยหันมาสนใจประวัติความเป็นมาของ ผ้าไทย เบื้องหลังลวดลายอันปราณีตอ่อนช้อย และวัฒนธรรมการแต่งกายในยุคสมัยต่าง ๆ ตลอดจนวัฒนธรรมการแต่งกายของไทยที่มีความผูกพันกับอินเดียมาตั้งแต่สมัยอยุธยา

พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย จึงได้จัดกิจกรรมพิเศษต้อนรับเดือนสิงหาคมในชื่อ “Weaving Relations: A Shared Heritage of Indian & Thai Textile Culture” เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม พ.ศ.2565 และเนื่องในโอกาสครบรอบ 75 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐอินเดีย 

ภายในงานได้รับเกียรติจาก นาง สุจิตรา ดูไร เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย และ ท่านผู้หญิงภรณี มหานนท์ รองราชเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง กล่าวเปิดงาน

พร้อมบอกเล่าถึงสานสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างไทยและอินเดียที่มีมาช้านาน ก่อนจะเริ่มต้นงานด้วยการร่ายรำอันมีเสน่ห์ของชาวอินเดียในชื่อ “Odissi Dance” โดยศูนย์วัฒนธรรมอินเดียประจำประเทศไทย และการแสดงโขนพิเศษตอน “ยกรบ” อีกทั้งช่วงท้ายของการแสดงยังได้นำศิลปะการร่ายรำของชาวอินเดียมาสอดประสานเป็นหนึ่งเดียวกับการแสดงโขนของไทยได้อย่างติดตราตรึงใจ

พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ เล่าเรื่องผ้าไทย การแต่งกาย กับอิทธิพลผ้าอินเดียในราชสำนัก อ.วีรธรรม ตระกูลเงินไทย และ ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์

ก่อนเข้าสู่ช่วงเวลาสำคัญของการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ผ้าอินเดียกับอิทธิพลต่อการแต่งกายในราชสำนักสยาม” โดย อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย และ ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์ คณบดีคณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการแต่งกายของชาวไทยและชาวอินเดียที่มีวัฒนธรรมการนุ่งห่มมายาวนาน

โดยเฉพาะราชสำนักไทยในอดีตที่มีการรับธรรมเนียมการแต่งกายของชาวอินเดียและนำผ้าประเภทต่าง ๆ ของอินเดียมาประยุกต์ใช้อย่างมีเอกลักษณ์และเปี่ยมด้วยเสน่ห์ทางวัฒนธรรม ผ่านการให้ลวดลายอันปราณีตอ่อนช้อยตามแบบฉบับของไทย

พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ เล่าเรื่องผ้าไทย การแต่งกาย กับอิทธิพลผ้าอินเดียในราชสำนัก

กิจกรรมพิเศษ Weaving Relations: A Shared Heritage of Indian & Thai Textile Culture

ผศ.ดร. อนุชา ทีรคานนท์ คณบดีคณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เล่าเรื่องสืบย้อนกลับไปตั้งแต่สมัย 2,500 ปีก่อนคริสตกาล การค้นพบชิ้นส่วนเสื้อผ้าจากอารยธรรมเก่าแก่แห่งลุ่มน้ำสินธุ และหลักฐานการแต่งกายของชาวอินเดียที่พบบนรูปปั้นแม่พระธรณีดินเผาหรือ “Mother Goddess” อายุเก่าแก่กว่า 200-300 ปีก่อนคริสตกาล ตลอดจนประติมากรรมหินแกะสลัก ภาพวาดภายในถ้ำ วัดวาอาราม และอนุสาวรีย์ต่าง ๆ ที่บ่งบอกถึงการแต่งกายด้วยเครื่องนุ่งห่มพันรอบร่างกายของชาวอินเดียโบราณตั้งแต่เมื่อหลายพันปีก่อน 

วัฒนธรรมสิ่งทอของอินเดียได้ชื่อว่าเก่าแก่ที่สุดในโลก โดยผ้าฝ้ายที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลือในปัจจุบันมีอายุประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล เช่นเดียวกับการย้อมผ้าที่มีอายุเก่าแก่กว่า 2,500 ปีก่อนคริสตกาล

พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ เล่าเรื่องผ้าไทย การแต่งกาย กับอิทธิพลผ้าอินเดียในราชสำนัก

การแต่งกายราชสำนักสยาม

พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ เล่าเรื่องผ้าไทย การแต่งกาย กับอิทธิพลผ้าอินเดียในราชสำนัก

สิ่งทออินเดีย

สิ่งทอของอินเดียมีเสน่ห์เฉพาะตัวทั้งในเรื่องของ ลวดลาย เทคนิคการทอผ้า และสีสันที่มีเอกลักษณ์ ซึ่งในสมัยกรีกโบราณ โรมัน และบาบิโลน ผ้าฝ้ายจากอินเดียได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในราชสำนักและชนชั้นสูง

ส่งผลให้เกิดระบบการค้าโลกจากการส่งออกผ้าอินเดียไปยังดินแดนต่าง ๆ ตลอดจนการแต่งกายของหลายวัฒนธรรมทั่วโลกที่ได้รับอิทธิพลจากผ้าอินเดีย

ผศ.ดร. อนุชา ทีรคานนท์ ยังได้นำเสนอวัฒนธรรมการแต่งกายที่มีเสน่ห์ของชาวอินเดียในแต่ละภูมิภาค ผ่านเทคนิคการทอผ้าและลวดลายที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ เล่าเรื่องผ้าไทย การแต่งกาย กับอิทธิพลผ้าอินเดียในราชสำนัก อาจารย์วีรธรรม อธิบายสาธิตการนุ่งห่มผ้าไทย

สยามก็เป็นดินแดนที่ได้รับอิทธิพลจากผ้าอินเดียมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในเรื่องนี้ อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย เล่าว่า ในอดีตราชสำนักสยามสั่งทอผ้าเยียรบับ ผ้าเข้มขาบ และผ้าอัตลัด จากพ่อค้าชาวอินเดียที่เดินทางมาค้าขายกับสยาม

ผ้าชนิดดังกล่าว มีขั้นตอนการทอที่ซับซ้อน แตกต่างจากกรรมวิธีการทอภายในประเทศ ผ้าเหล่านี้มักนิยมใช้ในงานพระราชพิธีสำคัญและใช้งานภายในราชสำนักสยาม สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และขุนนาง

นอกจากการสั่งทอผ้าแล้ว ราชสำนักสยามยังสั่งซื้ออุปกรณ์ทอผ้าต่าง ๆ จากประเทศอินเดียอีกด้วย

ส่วน “ผ้าลายอย่าง” เป็นผ้าที่ช่างเขียนผ้าจากอินเดียรับแบบตามลายที่ราชสำนักสยามสั่งจึงมีกระบวนลายตามแบบสยาม เพราะลวดลายที่อยู่บนผ้านั้นทางราชสำนักสยามเป็นผู้ออกแบบ

พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ เล่าเรื่องผ้าไทย การแต่งกาย กับอิทธิพลผ้าอินเดียในราชสำนัก สาธิตการแต่งกายแบบอินเดีย

อีกหนึ่งไฮไลท์ของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้คือ “วัฒนธรรมการแต่งกายของชาวอินเดียในแต่ละภูมิภาค” ที่ทั้งหาชมยากและเปี่ยมด้วยความสวยงามของลวดลาย สีสัน รวมถึงเทคนิคการทอผ้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละท้องถิ่น และ “การแต่งกายของราชสำนักไทยในแต่ละยุคสมัย และชุดไทยพระราชนิยม 8 แบบ” ที่สะท้อนความงดงามและฝีมืออันปราณีตอ่อนช้อยในแบบของชาวสยาม

รวมถึง สาธิตการนุ่งห่มส่าหรีของชาวอินเดีย โดยศูนย์วัฒนธรรมอินเดียประจำประเทศไทย และสาธิตการนุ่ง-ห่มผ้าแบบไทย โดยอาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้การนุ่ง-ห่มของทั้งสองวัฒนธรรม ที่มีความคล้ายคลึงกันด้วยอิทธิพบทางการแต่งกายที่ถ่ายทอดกันมาช้านาน

พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ เล่าเรื่องผ้าไทย การแต่งกาย กับอิทธิพลผ้าอินเดียในราชสำนัก

การแสดง Odissi Dance

พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ เล่าเรื่องผ้าไทย การแต่งกาย กับอิทธิพลผ้าอินเดียในราชสำนัก

 การแสดงโขน ตอน "ยกรบ"

พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ เล่าเรื่องผ้าไทย การแต่งกาย กับอิทธิพลผ้าอินเดียในราชสำนัก

การแสดงร่วมกันระหว่างไทยและอินเดีย

พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ เล่าเรื่องผ้าไทย การแต่งกาย กับอิทธิพลผ้าอินเดียในราชสำนัก

สุจิตรา ดูไร เอกอัดรทูตอินเดียประจำประเทศไทย

พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ เล่าเรื่องผ้าไทย การแต่งกาย กับอิทธิพลผ้าอินเดียในราชสำนัก ท่านผู้หญิงภรณี มหานนท์ 

พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ เล่าเรื่องผ้าไทย การแต่งกาย กับอิทธิพลผ้าอินเดียในราชสำนัก กิจกรรมพิเศษ "เล่าเรื่องผ้าไทย วัฒนธรรมการแต่งกาย และอิทธิพลผ้าอินเดียในราชสำนักสยาม"

*  *  *  *  *

ขณะนี้ พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ กำลังจัดแสดง “นิทรรศการผ้าบาติกในพระปิยมหาราช: สายสัมพันธ์สยามและชวา” ถ่ายทอดเรื่องราวการเสด็จเยือนชวาของพระบาทสมเด็จพระจุลมจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) สามครั้ง และจัดแสดงผ้าบาติกสะสมที่สวยงามจากเมืองต่าง ๆ บนเกาะชวา ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร.0 2225 9420 เปิดให้เข้าชมทุกวันเวลา 09.00-16.30 น. ปิดจำหน่ายบัตรเวลา 15.30 น.