‘ปางช้าง’ ต้องปรับตัว รับเศรษฐกิจตกต่ำ 'นักท่องเที่ยว' หดหาย!

‘ปางช้าง’ ต้องปรับตัว รับเศรษฐกิจตกต่ำ 'นักท่องเที่ยว' หดหาย!

สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังตกต่ำ อีกทั้ง นักท่องเที่ยวก็เริ่มหดหาย 'ปางช้าง' จะทำอย่างไร ทั้ง ช้าง และ คน ถึงจะเอาตัวรอดได้!

ปางช้าง เป็นธุรกิจท่องเที่ยวเกี่ยวกับช้างของประเทศไทย ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ มีเป็นจำนวนมาก 

ล่าสุด หลายแห่งเริ่มปิดตัวลง เนื่องจากเศรษฐกิจตกต่ำ อีกทั้งนักท่องเที่ยวที่เคยเป็นเป้าหมายหลักก็มีจำนวนลดลง 

 

ปางช้างแม่แตง เป็นหนึ่งในปางช้างที่ได้รับผลกระทบนี้ และต้องใช้ความพยายามอย่างหนัก เพื่อเอาตัวรอด จากสถานการณ์นี้ไปให้ได้

ธนภูมิ อโศกตระกูล Corporate communications สื่อสารองค์กร ปางช้างแม่แตง จ. เชียงใหม่ เล่าว่า ปางช้างแม่แตง ให้บริการนักท่องเที่ยวด้วยการ นั่งช้าง และชมการแสดงช้าง

‘ปางช้าง’ ต้องปรับตัว รับเศรษฐกิจตกต่ำ \'นักท่องเที่ยว\' หดหาย!

ธนภูมิ อโศกตระกูล

การดำเนินธุรกิจปางช้างในปัจจุบัน ประสบกับปัญหาหลายอย่าง ทำให้ปางช้างแม่แตง ขยับขยายมาเปิด ฮักช้าง ที่เน้นด้านการเรียนรู้เกี่ยวกับช้างและการดูแลช้าง มาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว 

"ลูกค้าที่เข้ามาจะได้เปลี่ยนชุดเป็นชุดควาญช้าง ได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของช้าง การกินอยู่หลับนอนของช้าง ได้เล่นและกอดช้างน้อย ภูพิงค์ ช้างเด็กที่มีชื่อเสียงมาก มีผู้ติดตามถึง 150,000 คน และเคยทำชาเลนจ์กับ Jackson Wang ด้วย

เรามี 5 กิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้ทำ ได้แก่ การทำอาหารเสริมสุขภาพให้ช้าง, การทำสบู่สมุนไพรสำหรับช้าง, การป้อนอาหารช้าง, การอาบน้ำช้าง โปรแกรมนี้ ราคา 1,650 บาท รวมค่าเสื้อผ้าทำกิจกรรมไว้แล้ว ไม่ต้องจ่ายเพิ่ม

‘ปางช้าง’ ต้องปรับตัว รับเศรษฐกิจตกต่ำ \'นักท่องเที่ยว\' หดหาย!

นักท่องเที่ยวใส่ชุดควาญช้าง ให้อาหารช้าง  Cr. Kanok Shokjaratkul

‘ปางช้าง’ ต้องปรับตัว รับเศรษฐกิจตกต่ำ \'นักท่องเที่ยว\' หดหาย!

Cr. Kanok Shokjaratkul

ฮักช้าง จะเน้นช้างที่ผ่านการคัดเลือกแล้วว่าคุ้นเคยกับมนุษย์ เข้าถึงง่าย ไม่เป็นอันตราย

ส่วนที่ ปางช้างแม่แตง ยังคงไว้ซึ่งวิถีดั้งเดิม (traditional) มีกิจกรรมการแสดงช้าง, การนั่งช้าง รวมถึงกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับช้างอย่าง การนั่งเกวียน, การล่องแพไม้ไผ่ ในแม่น้ำแม่แตง

ที่ ฮักช้าง ลูกค้าหลัก 70% เป็นนักท่องเที่ยวชาวจีน (เช่นเดียวกับที่ปางช้างแม่แตง) รองลงมาเป็น ไต้หวัน, สิงคโปร์, มาเลเซีย, ยุโรป, อเมริกา, ออสเตรเลีย, ตะวันออกกลาง, อิสราเอล ระยะหลังมีนักท่องเที่ยวเกาหลี, สเปน, ฝรั่งเศส, อิตาลี มามากขึ้น

สำหรับ นักท่องเที่ยวชาวไทยมีเพียง 10% เท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นแฟนคลับช้างที่ติดตามช้าง หรือกลุ่มองค์กรและบริษัทที่มาดูงาน

ทางปางช้างพยายามเจาะตลาดไทยมากขึ้นด้วยการสร้าง ช้างอินฟลูเอนเซอร์ และเสนอราคาพิเศษสำหรับคนไทยที่ติดตามช้าง

‘ปางช้าง’ ต้องปรับตัว รับเศรษฐกิจตกต่ำ \'นักท่องเที่ยว\' หดหาย!

น้องภูพิงค์ ที่โด่งดังในโลกโซเชียล  Cr. Kanok Shokjaratkul

‘ปางช้าง’ ต้องปรับตัว รับเศรษฐกิจตกต่ำ \'นักท่องเที่ยว\' หดหาย!

น้องภูพิงค์ โชว์เต้นให้ดู  Cr. Kanok Shokjaratkul

  • ปัญหามากมายที่ ปางช้าง ต้องเผชิญ

1. เหตุการณ์น้ำท่วม เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว และแผ่นดินไหว ทำให้นักท่องเที่ยวหายไปถึงครึ่งหนึ่ง (50%)

2. ปัญหาหมอกควัน ปีนี้โชคดีที่มีน้ำมากและฝนมาเร็ว

3. ฤดูกาลท่องเที่ยว มีระยะเวลา ช่วงพีคสุดคือตุลาคม-มีนาคม และจะลดลงเรื่อย ๆ จนถึงเดือนกันยายน เรียกว่า เดือนกั้นอยาก หรือเดือนแห่งความอดอยากสำหรับผู้ประกอบการและไกด์

4. สถานการณ์โควิด-19 ทำให้ปางช้างเกือบต้องปิดตัวลง เพราะขาดทุนอย่างหนัก ผู้ประกอบการต้องขายบ้าน ขายรถ

5. เศรษฐกิจที่ซบเซา หากเศรษฐกิจไม่ดี ประชาชนไม่มีเงิน ก็ไม่มีการเดินทางท่องเที่ยว

6. ค่าใช้จ่ายมหาศาลในการดูแลช้าง ช้าง 1 เชือกมีค่าอาหาร 500 บาทต่อวัน ช้างต้องกินอาหารให้ได้ 10% ของน้ำหนักตัว อาหารหลักคือ หญ้าเนเปียร์ และต้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ที่นี่มีช้างทั้งหมด 62 เชือก (13 เชือกที่ฮักช้าง และ 49 เชือกที่ปางช้างแม่แตง) มีค่าอาหารช้างรวม 300,000 - 400,000 บาทต่อเดือน และเพิ่มขึ้นทุกปี เพราะช้างต้องกินทุกวัน

‘ปางช้าง’ ต้องปรับตัว รับเศรษฐกิจตกต่ำ \'นักท่องเที่ยว\' หดหาย!

Cr. Kanok Shokjaratkul

‘ปางช้าง’ ต้องปรับตัว รับเศรษฐกิจตกต่ำ \'นักท่องเที่ยว\' หดหาย!

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • กลยุทธ์การฟื้นตัวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว

ปางช้างแม่แตง และ ฮักช้าง พยายามแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วยการ

1. เข้าร่วมงานส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น งานสวัสดีหนีห่าว ของ ททท. เพื่อฟื้นฟูตลาดจีน

2. ออกบูธในงานต่างประเทศ เกือบ 10 ประเทศ เช่น สิงคโปร์, มาเลเซีย, ไต้หวัน, ฟิลิปปินส์ รวมถึงงาน TTM+ ในการหาเอเย่นต์ทัวร์และสร้างการเชื่อมโยงกับท้องถิ่น

3. สร้างพันธมิตรในท้องถิ่น ภาคเอกชนในเชียงใหม่มีการรวมตัวกันในรูปแบบสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวเชียงใหม่ เพื่อช่วยเหลือกันเอง โดยมี ททท. สนับสนุน

4. สร้าง Soft Power ในเดือนมิถุนายน 68 นี้ ปางช้างแม่แตงจะจัดงานแต่งงานบนหลังช้างให้กับเศรษฐีอเมริกัน 3 คู่ เป็นกิจกรรมที่ช่วยเผยแพร่วัฒนธรรมไทยสู่ต่างประเทศ มีสื่อจากอเมริกา มีผู้แทนจากสถานทูตไทยและบุคคลสำคัญมาร่วมงานด้วย เป็นผลมาจากการลูกค้าที่ประทับใจในงานที่เคยจัดก่อนหน้า

5. ความเป็นอยู่ของพนักงานและชุมชน ปางช้างแม่แตงมีพนักงานรวม 300 คน รวมถึงร้านอาหารและหมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาว ผู้ชายทำงานเป็นควาญช้าง, ล่องแพ, ขับรถ ผู้หญิงเป็นแม่บ้าน, แม่ครัว หากมีการทอผ้าหรือขายสินค้าที่เกี่ยวกับช้าง ปางช้างจะสนับสนุน ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ 4,000 บาทต่อเดือนพร้อมข้าวสาร 1 กระสอบ 

โดยเฉลี่ยแล้ว ปางช้างแม่แตงรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 200 คนต่อวันในวันธรรมดา และ 700-1,200 คนในช่วงไฮซีซั่น เคยทำยอดสูงสุดถึง 2,700 คนต่อวันก่อนช่วงโควิด 

‘ปางช้าง’ ต้องปรับตัว รับเศรษฐกิจตกต่ำ \'นักท่องเที่ยว\' หดหาย!

สถานีที่ 1 ฟังคำบรรยายเกี่ยวกับช้าง Cr. Kanok Shokjaratkul

นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ 90% มาจากบริษัททัวร์ เป็นระบบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีค่าคอมมิชชั่น ในปัจจุบัน ลูกค้าจากโซเชียลมีเดียมีเพิ่มมากขึ้น ข้อดีคือทำให้รายได้เข้ามาเต็ม ๆ แต่การทำงานร่วมกับบริษัททัวร์จะช่วยดูแลลูกค้าได้จำนวนมากและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างขึ้น"

เราลองเป็นนักท่องเที่ยวเข้าร่วมกิจกรรมในโปรแกรม 5 สถานี ที่ ฮักช้าง โดยมี กนกพร กรวดนอก เจ้าหน้าฝ่ายข้อมูล เป็นผู้นำไปทำกิจกรรมต่าง ๆ เริ่มต้นกันที่

1. ฟังคำบรรยายเกี่ยวกับช้าง

ประเทศไทยมีความผูกพันกับช้างมายาวนาน ช้างมีความสามารถพิเศษที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน ช้างแอฟริกาตัวโตกว่า สูงใหญ่กว่า มีใบหูใหญ่กว่า บนหัวมีโหนกเดียว ส่วนช้างเอเชียมีสองโหนก ตัวเล็กกว่า ใบหูก็เล็กกว่า ช้างเอเชียตัวผู้จะมีงายาว ส่วนตัวเมียไม่มีงา มีฟันซี่เล็ก ๆ เรียกว่า ขนาย ช้างตัวผู้มีงาเรียกว่า ช้างสีดอ ช้างเอเชียพบในประเทศพม่า, ลาว, อินเดีย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ไทย

‘ปางช้าง’ ต้องปรับตัว รับเศรษฐกิจตกต่ำ \'นักท่องเที่ยว\' หดหาย!

สถานีที่ 2 ทำวิตามินให้ช้าง จาก ดินโป่ง, เกลือทะเล, มะขามเปียก  Cr. Kanok Shokjaratkul

ช้างในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ช้างป่าและช้างบ้าน ช้างป่า มีจำนวนประมาณ 3,000 กว่าเชือก อาศัยอยู่ในเขตอุทยานและป่าเขาใหญ่ ส่วน ช้างบ้าน หรือช้างเลี้ยง มีประมาณ 4,000 เชือก อยู่ในพื้นที่เชียงใหม่, สุรินทร์, แม่ฮ่องสอน ดูแลโดยควาญช้างที่สืบทอดกันมารุ่นสู่รุ่น

ปัจจุบันช้างบ้านทุกเชือกมี ไมโครชิป, รูปพรรณ, ทะเบียนบ้าน ทำให้สืบประวัติ ซื้อขาย ตรวจสอบข้อมูลได้

การกินและการขับถ่าย ช้างกินวันละ 200-300 กิโลกรัม เท่ากับ 10% ของน้ำหนักตัว อาหารหลัก คือ หญ้า, ต้นข้าวโพด, อ้อย, กล้วย, เปลือกไม้, ใบไม้ ช้างดื่มน้ำมากถึง 160-200 ลิตรต่อวัน ขับถ่ายเยอะ 15-20 กอง ปัสสาวะเยอะ 50 ลิตรต่อวัน

การนอนหลับและการรับรู้ ช้างนอนวันละ 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น และนอนแบบยืน ช้างมีประสาทสัมผัสที่ดีเยี่ยม ได้ยินจากที่ไกลมาก ใช้จมูก (งวง) หายใจ ดมกลิ่น หาอาหาร จับสิ่งของ ช้างสายตาไม่ดี ในเวลากลางวันหรือแดดจ้า จะมองเห็นภาพมัว ๆ ได้ไม่ไกลเกิน 1-2 เมตร

‘ปางช้าง’ ต้องปรับตัว รับเศรษฐกิจตกต่ำ \'นักท่องเที่ยว\' หดหาย!

ฮักช้าง อยู่ติดกับลำน้ำแม่แตง  Cr. Kanok Shokjaratkul

ฟันของช้าง มี 6 ซี่ 2 ซี่หน้าคือ งา (ในตัวผู้) หรือ ขนาย (ในตัวเมีย) เป็นฟันแท้ที่ไม่ขึ้นใหม่ อีก 4 ซี่อยู่ในปากใช้เคี้ยวอาหาร เปลี่ยนได้ถึง 6 ชุด ชุดแรกหลุดเมื่ออายุ 3 ปี ชุดสุดท้ายหลุดเมื่ออายุ 60 ปี เป็นสาเหตุให้ช้างแก่ในป่ามักเสียชีวิต ช้างมีอายุยืนยาว อยู่ได้ถึง 90 ปี

วัยเจริญพันธุ์และการตั้งท้อง อายุ 7-12 ปี ช้างเพศผู้จะมีอาการ ตกมัน มีน้ำมันไหลออกมาจากข้างขมับ ควาญจะแยกช้างตกมันไปในที่ปลอดภัยเป็นเวลา 2-3 เดือน ช้างเพศเมียตั้งท้องนานถึง 22 เดือน ตกลูกครั้งละ 1 เชือก การผสมพันธุ์ยากมาก ต้องพยายามถึง 7-8 ครั้งจึงจะติด และบางครั้งก็ไม่ติดเลย

โรงเรียนช้างและช้างศิลปิน ลูกช้างจะอยู่กับแม่และกินนมแม่เป็นเวลา 3 ปี หลังจากนั้นจะถูกส่งไปโรงเรียนช้าง เช่น ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง เพื่อฝึกการใช้ชีวิตกับควาญและเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ เป็นเวลา 1 ปี หลังกลับมา ควาญจะสอนทักษะพิเศษ รวมถึงการวาดภาพ"

เจ้าหน้าที่เอาภาพวาดของ น้องสุดา (อายุ 20 ปี) ช้างที่มีชื่อเสียงในการวาดภาพ และเขียนชื่อตัวเองได้ กับผลงานของ น้องธันวา (อายุ 13 ปี) มาให้ดู การฝึกช้างวาดภาพใช้เวลา 4-6 เดือน โดยควาญเน้นการจำและใช้การป้อนอาหารเป็นแรงเสริม ช้างไม่ได้เห็นสีทุกสี เห็นเพียงสีเหลือง ความสำเร็จในการวาดภาพเป็นผลงานร่วมกันระหว่างช้างและควาญที่คอยส่งสีให้

‘ปางช้าง’ ต้องปรับตัว รับเศรษฐกิจตกต่ำ \'นักท่องเที่ยว\' หดหาย!

ผลงานภาพวาดจากช้าง น้องสุดา และน้องธันวา  Cr. Kanok Shokjaratkul

2. ทำวิตามิน และดินโป่งให้ช้าง

ช้างมักมีปัญหาท้องผูก หากไม่ถ่าย 3-5 วัน อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝนที่ช้างมักกินต้นข้าวโพดเยอะ ย่อยยาก วิธีแก้ไข ควาญจะสับอาหารให้ละเอียดขึ้น และเสริมด้วยมะขามเปียก ที่มีวิตามินสูง มีรสเปรี้ยวหวาน ช่วยขับถ่าย ผสมด้วย ดินโป่ง ดินสีแดงมีแร่ธาตุสูง เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม

มีการเสริมไอโอดินด้วยเกลือทะเล นำดินโป่งและเกลือทะเลมาผสมกันในอัตราส่วน 1:1 ปั้นเป็นก้อนกลม ห่อด้วยมะขามเปียก เพื่อหลอกล่อให้ช้างกินง่ายขึ้น ช้างกินก้อนวิตามินนี้ได้ทุกวัน วันละไม่เกิน 10 ลูก เพื่อเป็นอาหารเสริม

‘ปางช้าง’ ต้องปรับตัว รับเศรษฐกิจตกต่ำ \'นักท่องเที่ยว\' หดหาย!

สถานีที่ 3 ทำสบู่ช้าง จากเครือสะบ้า  Cr. Kanok Shokjaratkul

3. ทำสบู่ช้าง ด้วย เครือสะบ้า (snuffbox bean) เถาวัลย์ป่า ฝักมีขนาดใหญ่ เมล็ดข้างในมีลักษณะกลมคล้ายหัวเข่า กรรมวิธีเริ่มต้นด้วย การทุบ ให้ยางออกมา นำมาขยำกับน้ำจะเกิดฟอง มีคุณสมบัติกำจัดเห็บ หมัด ยุง แมลง มีกลิ่นสมุนไพรไม่แรงมาก สามารถกินได้ นำมาถูตัวคนได้

4. ให้อาหารช้าง จะมีผลไม้ใส่ไว้ในถังให้นักท่องเที่ยวนำไปป้อนให้กับช้าง สถานีนี้สนุกสนานมาก ได้เห็นช้างเต้น และเต้นกับช้าง สามารถกอด จับ ช้างได้

5. อาบน้ำช้าง ในลำธาร ด้วยสบู่เครือสะบ้าที่เพิ่งทำมา ช้างชื่อ โหมนา รออยู่ในน้ำแล้ว รอคนมาอาบน้ำให้อย่างสบายใจ

‘ปางช้าง’ ต้องปรับตัว รับเศรษฐกิจตกต่ำ \'นักท่องเที่ยว\' หดหาย!

น้องภูพิงค์ ชวนนักท่องเที่ยวเต้น  Cr. Kanok Shokjaratkul

‘ปางช้าง’ ต้องปรับตัว รับเศรษฐกิจตกต่ำ \'นักท่องเที่ยว\' หดหาย!

น้องภูพิงค์ โพสต์ท่าถ่ายรูปกับนักท่องเที่ยว  Cr. Kanok Shokjaratkul

‘ปางช้าง’ ต้องปรับตัว รับเศรษฐกิจตกต่ำ \'นักท่องเที่ยว\' หดหาย!

สถานีที่ 5 อาบน้ำให้ช้าง ด้วยสบู่ช้าง ที่เพิ่งทำ  Cr. Kanok Shokjaratkul

‘ปางช้าง’ ต้องปรับตัว รับเศรษฐกิจตกต่ำ \'นักท่องเที่ยว\' หดหาย!

ได้สัมผัสช้าง อย่างใกล้ชิด Cr. Kanok Shokjaratkul

ฮักช้าง ตั้งอยู่ริมลำน้ำแม่แตง มีต้นกำเนิดมาจากป่าข้าวหลามบนภูเขา ไหลลงไปรวมกับแม่น้ำปิง

มาถึงที่นี่แล้วต้องไปดูสิ่งหนึ่ง ที่น่าประหลาดใจ คือ กลางลำธารจะมีหินก้อนหนึ่งมีรูปร่างคล้ายช้างนอนอยู่ ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จากการกัดเซาะของน้ำ

‘ปางช้าง’ ต้องปรับตัว รับเศรษฐกิจตกต่ำ \'นักท่องเที่ยว\' หดหาย!

หินในลำธาร มีรูปร่างเหมือนช้างนอนอยู่  Cr. Kanok Shokjaratkul