ประกาศผลการประกวด ‘หนังสือดีเด่น’ ประจำปี 2567

ประกาศผลการประกวด ‘หนังสือดีเด่น’ ประจำปี 2567

'สพฐ.' จัดงานแถลงข่าวผลการตัดสินการประกวด ‘หนังสือดีเด่น’ ประจำปี 2567 จาก 338 เรื่อง คัดเหลือ 56 เรื่อง แยกเป็น รางวัลดีเด่น 14 เรื่อง รางวัลชมเชย 42 เรื่อง

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ แถลงข่าวผลการตัดสินการประกวด หนังสือดีเด่น ประจำปี 2567

โดยมี วินัย รอดจ่าย รองประธานคณะกรรมการพิจารณาตัดสินการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2567 เป็นประธาน สุกัญญา งามบรรจง รองประธานคณะกรรมการพิจารณาตัดสินฯ

วิษณุ ทรัพย์สมบัติ ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. และ ณัฐกร วุฒิชัยพรกุล อุปนายกฝ่ายในประเทศ สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ร่วมแถลงข่าว วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 ณ บริเวณสวนวันครู หน้าอาคาร สพฐ. 1 กระทรวงศึกษาธิการ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดประกวดหนังสือดีเด่นมาอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการผลิตการกระจายหนังสือดี มีคุณภาพสู่สาธารณชนให้มากยิ่งขึ้น

ประกาศผลการประกวด ‘หนังสือดีเด่น’ ประจำปี 2567 Cr. Kanok Shokjaratkul

กระตุ้นให้คนไทยมีนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมผู้จัดพิมพ์ ผู้ประพันธ์ ผู้วาดภาพประกอบ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อ เกิดความตระหนัก ผลิตหนังสือดี มีคุณค่า พัฒนารูปแบบและเนื้อหาสาระให้หนังสือมีคุณภาพมากขึ้น

ประกาศผลการประกวด ‘หนังสือดีเด่น’ ประจำปี 2567 Cr. Kanok Shokjaratkul

การประกวด หนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2567 เป็นการประกวดหนังสือที่ตีพิมพ์โฆษณาเป็นเล่มบริบูรณ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2566

ในปีนี้มีผู้ประพันธ์ ผู้จัดพิมพ์ และหน่วยงานต่าง ๆ ส่งหนังสือประกวดรวมทั้งสิ้น 338 เรื่อง จาก 90 สำนักพิมพ์

ประกาศผลการประกวด ‘หนังสือดีเด่น’ ประจำปี 2567 Cr. Kanok Shokjaratkul

แยกเป็นกลุ่มหนังสือต่าง ๆ  ได้แก่ สารคดี นวนิยาย กวีนิพนธ์ รวมเรื่องสั้น หนังสือสำหรับเด็กเล็ก อายุ 3-5 ปี หนังสือสำหรับเด็ก อายุ 6-11 ปี หนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี หนังสือการ์ตูน นิยายภาพ และหนังสือสวยงาม  

ประกาศผลการประกวด ‘หนังสือดีเด่น’ ประจำปี 2567 Cr. Kanok Shokjaratkul

สพฐ. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาตัดสินประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2567 โดยมี ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. เป็นประธานกรรมการ เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการ กพฐ. วินัย รอดจ่าย และ สุกัญญา งามบรรจง เป็นรองประธานกรรมการฯ

ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นกรรมการ และ วิษณุ ทรัพย์สมบัติ ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการ

ประกาศผลการประกวด ‘หนังสือดีเด่น’ ประจำปี 2567 Cr. Kanok Shokjaratkul

  • ผลการตัดสิน

มีหนังสือได้รับรางวัล 56 เรื่อง แยกเป็น รางวัลดีเด่น 14 เรื่อง  รางวัลชมเชย 42 เรื่อง ดังรายชื่อต่อไปนี้

  • รางวัลดีเด่น  14  เรื่อง ดังนี้

หนังสือสารคดี มี 3 ด้าน

1) ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล

2) ด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และชีวประวัติ เรื่อง กุหลาบเปอร์เชียในแดนสยาม ประพันธ์โดย กุสุมา  รักษมณี ; จัดพิมพ์โดย มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

3) ด้านการท่องเที่ยว อาหาร ฯลฯ เรื่อง คู่มือนำชม 33 พระอารามหลวงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประพันธ์โดย ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย  สายสิงห์ ; จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำกัด)

ประกาศผลการประกวด ‘หนังสือดีเด่น’ ประจำปี 2567 Cr. Kanok Shokjaratkul

หนังสือนวนิยาย เรื่อง หากน้ำตายังคิดถึงก้อนเมฆ ประพันธ์โดย ศิริ  มะลิแย้ม ; จัดพิมพ์โดย แป้นพิมพ์ พับลิชชิ่ง

หนังสือกวีนิพนธ์ เรื่อง ท่ามกลางวิถีโลกพลิกผัน ประพันธ์โดย วรวุฒิ  ภักดีบุรุษ ; จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์เรืองอรุณ

หนังสือรวมเรื่องสั้น เรื่อง DIVINE  BEING ไม่ใช่มนุษย์ และตัวตนอื่น ๆ  ประพันธ์โดย จิดานันท์  เหลืองเพียรสมุท ; จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์แซลมอน ในเครือบริษัท บันลือ พับลิเคชั่นส์ จำกัด

หนังสือสำหรับเด็กเล็ก อายุ 3 - 5 ปี  เรื่อง เจ้าชายน้อยกับเพื่อนใหม่ในล้านนา ประพันธ์โดย ปรีดา ปัญญาจันทร์  ; จัดพิมพ์โดย มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน

หนังสือสำหรับเด็ก อายุ 6 - 11 ปี  มี 2 ประเภท

1) ประเภทบันเทิงคดี เรื่อง เรื่องเล่าชาวชะนี ประพันธ์โดย จริยา บรอคเคลแมน และจันทร์เพ็ญ ศรลัมพ์ ; จัดพิมพ์โดย  NSTDA Shop สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

2) ประเภทสารคดี เรื่อง เมื่อมะลิผลิบาน ประพันธ์โดย ผศ. สุทัศน์ ปาละมะ ; จัดพิมพ์โดย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ประกาศผลการประกวด ‘หนังสือดีเด่น’ ประจำปี 2567 Cr. Kanok Shokjaratkul

หนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12 - 18 ปี มี 3 ประเภท

1) ประเภทบันเทิงคดี เรื่อง โคโค่กับนกฟีนิกซ์ที่หายไป ประพันธ์โดย  วงเวลา ; จัดพิมพ์โดย ภารวี  ชีวพันธุศรี

2) ประเภทสารคดี เรื่อง ปาด นักรายงานอากาศประจำบ้าน ประพันธ์โดย ศาตพจี (สาด พะ จี)  รินสุวรรณ ; จัดพิมพ์โดย Artbook   

3) ประเภทบทร้อยกรอง ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล             

หนังสือการ์ตูน และ หรือนิยายภาพ มี 3 ประเภท

1) การ์ตูน และ หรือนิยายภาพสำหรับเด็ก (อายุ 6 – 11 ปี)  ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล     

2) การ์ตูน และ หรือนิยายภาพทั่วไป (อายุ 12 ปีขึ้นไป)  เรื่อง เบบี้ ONE MORE TIME ประพันธ์โดย วัฒนา เพ็ชรสุวรรณ์;  จัดพิมพ์โดย บริษัท บันลือ พับลิเคชั่นส์ จำกัด

3) การ์ตูนปกิณกะเชิงสร้างสรรค์ เรื่อง ชุดการ์ตูนเล่มละบาป : แลกชีวิต/ฤทธิ์โจรบู๊/ชู้ไร้อันดับ/ลับ ลวง ใจ/เมาให้ลืม  ประพันธ์โดย นิพนธ์ นิค ;  จัดพิมพ์โดย บริษัท บันลือ พับลิเคชั่นส์ จำกัด

หนังสือสวยงาม มี 2 ประเภท

1) ประเภททั่วไป  เรื่อง เทวรูปา : ประติมานวิทยาฮินดูจากประติมากรรมชิ้นเอกในศิลปะอินเดีย ประพันธ์โดย  ศาสตราจารย์ ดร. เชษฐ์  ติงสัญชลี ; จัดพิมพ์โดย ทีมงาน What The Book Publishing

2) ประเภทสำหรับเด็ก เรื่อง ร้องเป็นเล่นสนุก บทร้องเล่นเด็กไทย รวบรวมโดย  พี่มู ; จัดพิมพ์โดย มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน

ประกาศผลการประกวด ‘หนังสือดีเด่น’ ประจำปี 2567 Cr. Kanok Shokjaratkul

  • รางวัลชมเชย  42 เรื่อง ดังนี้

หนังสือสารคดี มี 3 ด้าน

  • ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม มี 3 เรื่อง (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง) ได้แก่

1) เข้าใจ...แล้วไปต่อ ประพันธ์โดย  นพ. ธิติพันธ์ ธานีรัตน์ ; จัดพิมพ์โดย โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

2) ภูมิทัศน์ภายในอาคาร ประพันธ์โดย ปารณ ชาตกุล ; จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3) สัตว์ทะเลไทยใกล้สูญพันธุ์ ประพันธ์โดย  ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ; จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์

  • ด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และชีวประวัติ มี 3 เรื่อง (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง) ได้แก่

1) เครื่องเคลือบดินเผาประดับในศิลปกรรมล้านนา ประพันธ์โดย ฐาปกรณ์ เครือระยา ; จัดพิมพ์โดย โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อพ. สธ.-มจ.) ประจำปีงบประมาณ 2566

2) พุทธศิลป์ล้านนา: รูปแบบ แนวคิด และการวิเคราะห์ ประพันธ์และจัดพิมพ์โดย ดร.ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี 

3) โลก/สลับ/สี ประพันธ์โดย ชนินทร์ ชมะโชติ ;  จัดพิมพ์โดย บริษัทวิริยะธุรกิจ จำกัด (สำนักพิมพ์สารคดี)

  • ด้านการท่องเที่ยว อาหาร ฯลฯ มี 2 เรื่อง (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง) ได้แก่

1) เราไม่ได้ไปคีร์กีซสถานกันทุกวัน ประพันธ์โดย พลอยอาภา ชุณหะนันทน์ ; จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์บัน ในเครือ บจก. บันลือ พับลิเคชั่นส์

2) 25 HOW TO อยู่กับ คนออทิสติก อย่างเข้าใจ ประพันธ์โดย สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร ; จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ไรเตอร์โซล

หนังสือนวนิยาย มี 3 เรื่อง (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง) ได้แก่

1) กาสักอังก์ฆาต ประพันธ์โดย กิตติศักดิ์ คงคา ; จัดพิมพ์โดย บริษัท 13357 จำกัด     

2) แก่นไม้หอม ประพันธ์โดย  กิ่งฉัตร ; จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ลูกองุ่น

3) ออกลายงิ้ว ประพันธ์โดย แพทริก เหล่า ; จัดพิมพ์โดย บริษัทเป็นหนึ่งสำนักพิมพ์ จำกัด

หนังสือกวีนิพนธ์ มี 3 เรื่อง (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง) ได้แก่

1) จักรวาลในชานเรือน ประพันธ์โดย รังสิมันต์ จุลหริก ; จัดพิมพ์โดย  สมโชค จุลหริก

2) มังกรคาบแก้ว ประพันธ์และจัดพิมพ์โดย ชัยรัตน์ วงศ์เกียรติ์ขจร

3) รมณีย์แห่งชีวิต ประพันธ์โดย นภาลัย สุวรรณธาดา ; จัดพิมพ์โดย  มหาวิทยาลัยรังสิต

หนังสือรวมเรื่องสั้น มี 3 เรื่อง (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง) ได้แก่

1) คอลลาจบรรเลง ประพันธ์โดย  แพรพลอย วนัช ;  จัดพิมพ์โดย  วรรณวนัช เตชะศิลป์เจริญ

2) ท่านกัปตันและเรื่องเล่าของคนอื่น ๆ ประพันธ์โดย  ศิริวร แก้วกาญจน์ ; จัดพิมพ์โดย ผจญภัยสำนักพิมพ์

3) หรือเราถูกเลือกให้แหลกสลาย ประพันธ์โดย ศิริ มะลิแย้ม ; จัดพิมพ์โดย แป้นพิมพ์ พับลิชชิ่ง

ประกาศผลการประกวด ‘หนังสือดีเด่น’ ประจำปี 2567 Cr. Kanok Shokjaratkul

หนังสือสำหรับเด็กเล็ก อายุ 3-5 ปี มี 3 เรื่อง (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง) ได้แก่ 

1) ชื่นใจ ผลไม้ไทยอร่อยจัง ประพันธ์โดย  ทิพย์วรรณ แสวงศรี ; จัดพิมพ์โดย บริษัท คัง ซวน วัฒนธรรมและการศึกษา (ไทยแลนด์) จำกัด

2) ร้องเป็นเล่นสนุก บทร้องเล่นเด็กไทย รวบรวมโดย  พี่มู ; จัดพิมพ์โดย มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน

3) หมู หมู ประพันธ์โดย ครูชีวัน ; จัดพิมพ์โดย มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ร่วมกับ ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

หนังสือสำหรับเด็ก อายุ 6-11 ปี มี 2 ประเภท

ประเภทบันเทิงคดี มี 2 เรื่อง (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง) ได้แก่ 

1) กาลครั้งหนึ่ง ณ กาลาปากอส ประพันธ์โดย  ปองพล อดิเรกสาร ; จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น จำกัด

2) ชวนเล่นรอบดอยตุง ประพันธ์โดย  พี่หมีขาว ; จัดพิมพ์โดย มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์

ประเภทสารคดี มี 3 เรื่อง (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง) ได้แก่ 

1) ก๊อบแก๊บกับเพ็ตตี้ ประพันธ์โดย แมวอมยิ้ม ; จัดพิมพ์โดย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

2)  เที่ยวป่าพาเพลิน ประพันธ์โดย พี่หมี แห่งป่าใหญ่ ; จัดพิมพ์โดย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

3)  พายล่องท่องเพลิน ประพันธ์โดย พี่หมี แห่งป่าใหญ่ ; จัดพิมพ์โดย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ประกาศผลการประกวด ‘หนังสือดีเด่น’ ประจำปี 2567 Cr. Kanok Shokjaratkul

หนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12 - 18 ปี มี 3 ประเภท

ประเภทบันเทิงคดี มี 2 เรื่อง (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง) ได้แก่ 

1)  แค่สนิทกับตัวเองให้เป็น ประพันธ์โดย  คิดมาก ; จัดพิมพ์โดย springbooks ในเครือ บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้ง   แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)

2) เรื่องของ ป้อง ประพันธ์โดย กอบสินธุ์ กล่อมปัญญา ; จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์สีน้ำ

ประเภทสารคดี มี 3 เรื่อง (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง) ได้แก่ 

1) ปีสุดท้ายระหว่างพ่อกับลูกชาย ประพันธ์โดย กิตติศักดิ์ คงคา, ณภัทร สัตยุตม์ และถนอม เกตุเอม ; จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ 13357 จำกัด

2) วิถีเรือ สู้เพื่อฝัน บึ้ด..จ้ำ..บึ้ด ประพันธ์โดย ฤทธิฤต อัคริยานนท์ ; จัดพิมพ์โดย แป้นพิมพ์ พับลิชชิ่ง

3) A LONG WAY TO GO ไปในทางที่ไม่รู้ ประพันธ์โดย  ภาริอร วัชรศิริ ; จัดพิมพ์โดย  สำนักพิมพ์บัน ในเครือ บจก. บันลือ พับลิเคชั่นส์

ประเภทบทร้อยกรอง มี 3 เรื่อง (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง) ได้แก่ 

1) ภูริทัตชาดก ประพันธ์และจัดพิมพ์โดย สุปาณี พัดทอง

2) เมธาวาที ประพันธ์โดย เมธาวี ก้านแก้ว ; จัดพิมพ์โดย มหาวิทยาลัยรังสิต

3) อนันตราสวามิภักดิ์ ประพันธ์และจัดพิมพ์โดย ดร. เพชรยุพา บูรณสิริจรุงรัฐ

ประกาศผลการประกวด ‘หนังสือดีเด่น’ ประจำปี 2567 Cr. Kanok Shokjaratkul

หนังสือการ์ตูน และ หรือนิยายภาพ มี 3 ประเภท

ประเภทสำหรับเด็ก (อายุ 6 – 11 ปี) มี 1 เรื่อง

1) เรื่องผี ๆ รอบโลก: ผีอินโดนีเซีย ประพันธ์โดย  ทองปราย สตูดิโอ ; จัดพิมพ์โดย บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด

ประเภททั่วไป (อายุ 12 ปี ขึ้นไป) มี 3 เรื่อง  (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง) ได้แก่

1) การ์ตูนประวัติศาสตร์ สุโขทัย เมืองมรดกโลก ประพันธ์โดย นายณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์ ; จัดพิมพ์โดย กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

2) จิตตะ X เลมี่ กับภารกิจแห่งโลกเมต้าเวิร์ส ประพันธ์โดย  สุธารส เนินปลอด ; จัดพิมพ์โดย บริษัท สกาแล็บ จำกัด

3) LIFE of TRY ชีวิตต่าย ขายหัวเราะ ประพันธ์โดย  ต่าย ; จัดพิมพ์โดย บริษัท บันลือ พับลิเคชั่นส์ จำกัดประเภทปกิณกะ เชิงสร้างสรรค์ ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล

หนังสือสวยงาม มี 2 ประเภท

ประเภททั่วไป มี 2 เรื่อง (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง) ได้แก่

1) แผนที่ประเทศไทย 77 จังหวัด: ภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยว ประพันธ์โดย สิริรัตน์  ยิ้มเจริญ และ พรเพ็ญ ครูรัตนานุวัฒน์ ; จัดพิมพ์โดย บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด                   

2) วัดปทุมวนาราม ประพันธ์โดย  รองศาสตราจารย์ ดร. สันติ ฉันทวิลาสวงศ์, กรรชิต  จิตระทาน และรองศาสตรจารย์กวีไกร ศรีหิรัญ  ; จัดพิมพ์โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประเภทสำหรับเด็ก มี 3 เรื่อง (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง) ได้แก่

1) ชื่นใจ ผลไม้ไทยอร่อยจัง ประพันธ์โดย ทิพย์วรรณ แสวงศรี ; จัดพิมพ์โดย  บริษัท คัง ซวน วัฒนธรรมและการศึกษา (ไทยแลนด์) จำกัด

2) เมืองดินดี ประพันธ์โดย  แมวอมยิ้ม ; จัดพิมพ์โดย โครงการ นิทานวิทยาศาสตร์น่ารู้ สู่หัวใจรักษ์สิ่งแวดล้อม กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

3) หนูรอบรู้ ชวนเพื่อนดูบ้านของสัตว์ ประพันธ์โดย นันทวัน วาตะ ; จัดพิมพ์โดย Amarin Kids ในเครือ บริษัทอมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)

ประกาศผลการประกวด ‘หนังสือดีเด่น’ ประจำปี 2567 Cr. Kanok Shokjaratkul

ผู้ที่ได้รับรางวัลหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2567 จะได้เข้ารับพระราชทานรางวัล โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเชิญเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ

และพระราชทานพระราชวโรกาสให้นำผู้ชนะการประกวดหนังสือดีเด่นเข้าเฝ้ารับพระราชทานรางวัล ในวันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 15.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 52 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 22 จะมีขึ้นในวันที่ 28 มีนาคม - 8 เมษายน 2567