ย้อนทบทวนเคยเกิดอะไรขึ้น เมื่อ'แล้ง'จัดปี 2558

ย้อนทบทวนเคยเกิดอะไรขึ้น เมื่อ'แล้ง'จัดปี 2558

ย้อนทบทวนเมื่อ'แล้ง'จัดปี 2558 'เอลนีโญ'ในปีพ.ศ. 2567 จะเกิดภัยธรรมชาติซ้ำรอยเดิมหรือไม่ ลองอ่านเหตุการณ์ที่ผ่านมา เพื่อตั้งรับกับภัยพิบัติที่กำลังจะเกิดขึ้น

เป็นที่ทราบกันแล้วว่ากรมอุตุนิยมวิทยาประกาศว่า ประเทศไทยเข้าสู่ปรากฏการณ์เอลนีโญตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายนและจะยาวไปจนถึงอย่างน้อยเดือนมีนาคม 2567 ขณะเดียวกันจะเกิดภาวะแห้งแล้งฝนไม่มาตามปกติ

ซึ่งล่าสุดเป็นที่ยืนยันว่าปริมาณฝนสะสมปี 2566 จนถึง 12 กรกฎาคมที่ผ่านมาต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกรมอุตุฯ จริง นั่นคือ มีปริมาณฝนสะสม 487.9 มิลลิเมตร เทียบกับค่าเฉลี่ยปกติ 636.6 มม.

ก่อนที่จะไปถึงสถานการณ์แล้งของปีหน้าประเทศไทยนั้นเคยประสบกับภัยแล้งมาหลายรอบ ปีที่เกิดแล้งจัดหนัก ๆ ล่าสุดคือ ปี 2558 และ 2562 ดูเหมือนว่าวัฏจักรแล้ง จะอยู่ที่ตัวเลข 4-5 ปีหมุนเวียนมาครั้ง

บทความนี้ขอนำท่านย้อนไปทบทวนดูว่า เมื่อปีแล้งจัด 2558 เราเคยเจอปัญหาใดบ้าง เพื่อจะได้เป็นฐานข้อมูลเตรียมกับรับมือต่อไป

ปริมาณฝนรายปี พ.ศ.2558 ต่ำเป็นประวัติการณ์ในรอบหลายปี อยู่ที่ 1247 มม. น้อยกว่าปกติอยู่ประมาณ 14.73%  และน้อยสุดย้อนไปถึงปี 2524 เลยทีเดียว  

ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ของประเทศทั้ง 33 อ่าง น้อยมาก เมื่อถึงสิ้นสุดฤดูฝนของปี 2558 (31 ตุลาคม 2558 ) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศจึงมีปริมาณน้ำคงเหลือเพื่อเป็นต้นทุนสำหรับฤดูแล้ง ปี 2558/2559 อยู่เพียง 41,105 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้อยวิกฤต

ย้อนทบทวนเคยเกิดอะไรขึ้น เมื่อ\'แล้ง\'จัดปี 2558

กรมชลประทาน ได้ประกาศงดปลูกพืชฤดูแล้ง 1.59 ล้านไร่ แต่มีการเพาะปลูกจริง 4.013 ล้านไร่ เกินจากแผน เป็นปัญหาที่เกษตรกรต้องรับผิดชอบความเสียหายเอง ในปีนั้นมีการห้ามสูบน้ำจากคลองส่งน้ำต่างๆ เพื่อจัดสรรยังกลุ่มใช้น้ำต่างๆ ให้เพียงพอ เกิดความขัดแย้งทั่วไป

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยรายงาน พื้นที่เกษตรเสียหาย 1.65 ล้านไร่  เกษตรกรประสบภัย 172,842 คน ใช้งบประมาณช่วยเหลือ 1,838.29 ล้านบาท เป็นปีที่มีไฟไหม้และปัญหาวิกฤตฝุ่นควันสูงมากกว่าปีปกติ  

สถิติจุดความร้อนระบบ modis ระยะ 5 เดือนในปี 2558 อยู่ที่ 27580 จุด สูงกว่าปีปกติที่ไม่เกิน 20000 จุด  และเกิดมลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กครอบคลุมหนักมากในภาคเหนือ

แม่น้ำสำคัญหลายสายแห้งจนสามารถเดินข้ามได้ แม่น้ำปิง ที่อ.จอมทอง เชียงใหม่ เช่นเดียวกับจุดที่ผ่านอำเภอเมืองกำแพงเพชรมองเห็นสันดอนทราย สามารถเดินข้ามได้เช่นกัน ข่าวปลาในกระชังตายในหลายจังหวัด เช่นที่ลำปาง และ ขอนแก่น เลย สุพรรณบุรี เพราะแล้งจัด อากาศร้อน

พืชยืนต้นตายมีข่าวอ้อยยืนต้นตายนับหมื่นไร่ที่นครสวรรค์  เช่นเดียวกับต้นข้าวในนาภาคกลางแถบสุพรรณบุรี

ระบบผลิตประปากรุงเทพฯฝั่งตะวันออก / ปทุมธานี ขาดน้ำดิบไม่เพียงพอการผลิต เช่นเดียวกับระบบการผลิตป้อนนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือที่ลำพูนก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน
ราคาสินค้าเกษตรขึ้นพรวด โดยเฉพาะวิกฤตราคามะนาวราคาขายปลีกพุ่งสูงถึงลูกละ 9-10 บาท

 

  • ย้อนดูวิกฤตโลกเมื่อปี 2558

อันที่จริงปี 2558 ไม่ได้เป็นปีพิบัติภัยเฉพาะประเทศไทยประเทศเดียว หากยังเกิดกับอีกหลายประเทศในโลก เนื่องจากเป็นปี Very Strong El Niño  2015-2016 (2558-2559)

เมื่อปี 2559 หลังเกิดวิกฤตภัยแล้งใหญ่ครั้งนั้น องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ได้ออกบทความชื่อว่า 2558 ปีที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์และผลกระทบที่เกิดขึ้นทั่วโลก เพื่อชี้ว่า ภัยแล้งที่เกิดในประเทศไทยแท้จริงเป็นส่วนหนึ่งของพิบัติภัยร่วมกันของโลก  เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยข้อมูลจาก NOAA ชี้ว่า ปี 2558 เป็นปีที่

  • 1.ปริมาณน้ำแข็งอาร์กติกลดเหลือปริมาณน้อยสุดในช่วงเวลาที่ควรขยายตัวมากที่สุดของปี และในช่วงฤดูร้อนก็ลดเหลือปริมาณน้อยที่สุดเป็นอันดับสี่ในประวัติศาสตร์ โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นถึง 2.9 องศาเซลเซียส จากอุณหภูมิเฉลี่ยของศตวรรษที่ผ่านมา
  • 2.ทั่วทวีปเอเชียเผชิญกับสภาพภูมิอากาศที่ร้อนกว่าปกติ โดยประเทศจีนช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคมเป็นช่วงที่ร้อนที่สุด และฮ่องกงในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม

ย้อนทบทวนเคยเกิดอะไรขึ้น เมื่อ\'แล้ง\'จัดปี 2558

  • 3.ฝนตกหนักในประเทศจีนช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ทำให้เกิดอุทกภัยที่ส่งผลกระทบต่อ 75 ล้านคน โดยทางใต้ของประเทศจีนเป็นภูมิภาคที่เผชิญกับฝนมากที่สุดในเดือนพฤษภาคมในรอบ 40 ปี
  • 4.มหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันตกเผชิญกับพายุไต้ฝุ่นมากกว่าระดับปกติ โดยมีพายุไต้ฝุ่นทั้งสิ้น 21 ครั้ง และพายุ 28 ครั้งตลอดทั้งปี
  • 5.ทวีปยุโรปเผชิญกับปีที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยร้อนที่สุดเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์ (อันดับหนึ่งคือปี 2557)
  • 6.อินเดียต้องต่อกรกับคลื่นความร้อนในช่วง 21 พฤษภาคม-10 มิถุนายน โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงเกิน 45 องศาเซลเซียส และบางพื้นที่สูงเกิน 48 องศาเซลเซียส
  • 7.พายุหมุนเขตร้อนชาปาลาในช่วงวันที่ 28 ตุลาคม-4 พฤศจิกายน เป็นพายุหมุนหมุนเขตร้อนที่มีความแรงระดับ 4 พัดถล่มเกาะของประเทศเยเมน และเป็นครั้งแรกที่ทำให้เกิดดินถล่ม
  • 8.ประเทศชิลีในช่วงเดือนมกราคม ปี 2558 เป็นเดือนมกราคมที่แล้งที่สุดในช่วง 50 ปี
  • 9.พายุเฮอร์ริเคนแซนดรา ในช่วง 23-28 พฤศจิกายน ความรุนแรงระดับ 3 เป็นเฮอร์ริเคนที่ใหญ่ที่สุดที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือฝั่งตะวันออก ตั้งแต่บันทึกสถิติไว้เมื่อปี 2514
  • 10.ช่วงกรกฎาคม 2557-มิถุนายน 2558 เป็นช่วงที่แล้งที่สุดของทวีปแอฟริกาใต้ตั้งแต่ปี 2534/2535

ย้อนทบทวนเคยเกิดอะไรขึ้น เมื่อ\'แล้ง\'จัดปี 2558

  • ฤๅแล้งร้ายภัยโลก จะเกิดซ้ำอีกในปีเอลนีโญ67

ประเทศไทยไม่ได้จะเผชิญภัยแล้งฝุ่นควันไฟผลกระทบแค่ประเทศเดียวในรอบนี้ เช่นเดียวกับเมื่อปี 2558 ปรากฎการณ์เอลนีโญผสมกับภาวะโลกรวน โลกร้อนแสดงอาการให้เห็นเป็นรูปธรรมตั้งแต่ต้นปี เริ่มด้วยปรากฏการณ์ Asian Heatwave อากาศร้อนจัดผิดปกติที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ในทวีปเอเชียตั้งแต่ จีน อินเดีย บังคลาเทศ ไปจนถึงเวียดนามเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

ภาวะโลกรวน เป็นภาวการณ์ใหม่ส่งผลต่อปรากฏการณ์ที่คาดเดาไม่ได้ใหม่ๆ ที่ไม่อยู่ในสารบบคอมพิวเตอร์จดจำ สิ่งที่สะท้อนชัดเจนที่สุดคือ การพยากรณ์อากาศที่ขาดความแม่นยำ เพราะไม่เคยมีข้อมูลเปรียบเทียบในโมเดลพยากรณ์ ในประเทศไทย

กรมอุตุนิยมวิทยามีประกาศเตือนฝนฟ้าพายุฤดูร้อนในภาคเหนือช่วงระหว่างเทศกาลสงกรานต์ พยากรณ์ว่าจะมีฝนที่เชียงใหม่ในวันที่ 15-16 เมษายน 2566 ล่วงหน้าราว 1 สัปดาห์ แต่เมื่อถึงเวลาจริงกลับไม่มีฝน ต้องแก้ไขประกาศใหม่หลังจากที่ไม่มีเหตุการณ์เกิดจริง

การพยากรณ์ผิดพลาดเช่นนี้ โมเดลพยากรณ์ใหญ่ระดับโลกเช่น  ECMWF หรือ GFS   ล้วนต่างก็ผิดพลาดจากลมฟ้าอากาศที่เปลี่ยนไปจากเดิมเช่นกัน