21-23 ก.พ. นี้ ร่วมเปล่งพลัง "ส่งเสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน" ให้สังคมได้รับรู้

21-23 ก.พ. นี้ ร่วมเปล่งพลัง "ส่งเสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน" ให้สังคมได้รับรู้

"ความเหลื่อมล้ำ" ถือเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้สังคมสะดุดไม่ก้าวข้ามไปไหน โดยเฉพาะ "ประชากรกลุ่มเฉพาะ" ที่มีความเปราะบาง ซึ่งกำลังเผชิญข้อจำกัดจนทำให้สูญเสียสุขภาวะ เข้าไม่ถึงบริการ ฉะนั้น มาร่วม "ส่งเสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน" ให้สังคมได้รับรู้ 21-23 ก.พ. 66 นี้

"ผู้พิการ ผู้สูงอายุ คนไร้บ้าน แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ ผู้มีความหลากหลายทางเพศ ผู้หญิงที่ถูกกระทำความรุนแรง ผู้ต้องขัง และมุสลิมไทย" คนกลุ่มที่กล่าวข้างต้นนี้เป็น "ประชากรกลุ่มเฉพาะ" ที่ต้องเผชิญปัญหาและความเหลื่อมล้ำที่ผ่านมา มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ความพยายามที่ผ่านมาของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9) สนับสนุนการดำเนินงานเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพผ่านแผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ จึงมีทั้งการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย การพัฒนาระบบกลไกเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย การพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย รวมถึงการสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ ให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาวะในประชากรกลุ่มเฉพาะ ซึ่งมีผลงานเชิงประจักษ์ในหลายประเด็น และทุกเส้นทางที่ผ่านมาของการขับเคลื่อนดังกล่าว กำลังอยู่ในที่ประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประชากรกลุ่มเฉพาะ" ซึ่ง สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 21 – 23 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อเปิดพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสร้างการรับรู้ของสังคมไทยในประเด็นการลด ความเหลื่อมล้ำ ทางสุขภาพ

21-23 ก.พ. นี้ ร่วมเปล่งพลัง \"ส่งเสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน\" ให้สังคมได้รับรู้

ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวเชิญชวนทุกคนมาร่วมงานประชุมวิชาการเสียงที่คนอื่นไม่ได้ยินครั้งที่ 2 โดยเอ่ยว่า สสส. ตั้งใจให้งานนี้เป็นพื้นที่กลางของการส่งเสียงที่ยังแผ่วเบาให้มีพลังมากขึ้น เชิญฟังเสียงสะท้อนแง่มุมต่างๆ เพื่อทำให้ฉุกคิดถึงปัญหาที่เกิดในสังคม และส่งเสียงไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ร่วมกันสนับสนุนและแก้ปัญหาสังคมมิติต่างๆ ที่อาจตกหล่นไป เพื่อเหยื่อที่ถูกกระทำความรุนแรงและสังคมที่ปลอดภัยน่าอยู่ร่วมกัน

ภรณี กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายใต้แนวคิด ก้าวสู่สุขภาวะที่เป็นธรรม รับฟังทุกเสียงอย่างเท่าเทียม อีกหนึ่งเรื่องเข้มข้นที่จะเป็นไฮไลต์บนเวทีประชุมในครั้งนี้ ที่ไม่ควรพลาดคือประเด็น "ความรุนแรงต่อเด็กและผู้หญิง" หลังพบข้อมูลจาก องค์การสหประชาชาติ ระบุว่า ประเทศไทยมีสถิติคดีความรุนแรงต่อเด็กและผู้หญิง ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลกอย่างต่อเนื่อง และพบ 1 ใน 3 เป็นความรุนแรงทางด้านจิตใจ ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดทิศทางงานด้านสุขภาพระดับโลก ให้ความรุนแรงต่อผู้หญิงเป็นปัญหาด้านสาธารณสุข และสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ เพราะเป็นปัญหาซับซ้อนหลายมิติ แต่ขณะเดียวกันพบว่า มีกลุ่มผู้หญิงที่กล้าออกมาเปิดเผยเรื่องราวที่ถูกกระทำรุนแรง และร้องขอความช่วยเหลือจำนวนน้อยมาก

"เป็นที่มาให้ สสส. สานพลังภาคีเครือข่ายพัฒนาระบบงานสหวิชาชีพ จัดการกรณีปัญหา (case management) ความรุนแรงต่อผู้หญิง และความรุนแรงในครอบครัว ที่ครบวงจรและมีประสิทธิภาพ เอื้อให้ผู้ประสบปัญหาความรุนแรงให้มีโอกาสเข้าถึงกระบวนการจัดการปัญหาที่มีคุณภาพมากขึ้น ผ่านการพัฒนาและเสริมศักยภาพของแกนนำชุมชน และทีมสหวิชาชีพในการคุ้มครองสวัสดิภาพของบุคคลในครอบครัว รวมถึงพัฒนาคู่มือสำหรับชุมชนในการประเมินความเสี่ยงของการเกิดความรุนแรง  ไปจนถึงหลักสูตรด้านต่างๆ" ภรณี กล่าว

นอกจากนี้ การสื่อสารสังคมเรื่องการ "ไม่เพิกเฉย" ต่อความรุนแรง หรือมองว่าความรุนแรง "เป็นเรื่องของคนอื่น" รวมถึงการเสริมพลังและการปกป้องคุ้มครองตนเองให้รอดพ้นจากความรุนแรงในทุกมิติคือ อีกทางลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

เชิญเป็นอีกหนึ่งเสียงมาร่วมเรียนรู้เข้าใจ "ความเหลื่อมล้ำ" และร่วมเปล่งพลังส่งเสียงที่ไม่ได้ยินให้สังคมได้รับรู้ ในงานประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประชากรกลุ่มเฉพาะ" ครั้งที่ 2 ณ อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 21 – 23 กุมภาพันธ์ 2566 นี้

21-23 ก.พ. นี้ ร่วมเปล่งพลัง \"ส่งเสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน\" ให้สังคมได้รับรู้ 21-23 ก.พ. นี้ ร่วมเปล่งพลัง \"ส่งเสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน\" ให้สังคมได้รับรู้ 21-23 ก.พ. นี้ ร่วมเปล่งพลัง \"ส่งเสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน\" ให้สังคมได้รับรู้