อยากช่วยให้”โลกร้อน”น้อยลง เยาวชนต้องเปลี่ยนวิธีคิดอย่างไร

อยากช่วยให้”โลกร้อน”น้อยลง เยาวชนต้องเปลี่ยนวิธีคิดอย่างไร

"โลกร้อน" ขึ้นทุกวัน พวกเราจะช่วยอะไรได้บ้าง เยาวชนทั้ง 5 จากตัวแทนแต่ละภูมิภาค ขอมีส่วนร่วมในเรื่องนี้...

ในงานประชุมภาคี การขับเคลื่อนการปฎิบัติงานด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย (Thailand Climate Action Conference : TCAC)

อนาคตไทย อนาคตโลก โอกาสและความรับผิดชอบ เมื่อวันที่ 5-6 สิงหาคม 2565

ณ รอยัล พารากอนฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน บนเวทีย่อย เยาวชนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Climate Change ไม่ใช่แค่ความฝัน

วิโพ โตเชอ เยาวชน ACE 2020 เครือข่ายเยาวชนไทยรักป่าเชียงใหม่ชนเผ่ากระเหรี่ยง 

ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่สมัยเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ร่วมก่อตั้ง “เยาวชนไทยรักป่า” ให้ความเห็นว่า

“ผมสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมตั้งแต่อยู่ชั้นมัธยมตอนต้นจนถึงตอนปลาย ผมเป็นคนต่างจังหวัดที่ไม่เคยไปเชียงใหม่ ครั้งแรกๆ อากาศดี

พอได้มาเชียงใหม่อีกครั้งตอนเรียนหนังสือ เชียงใหม่เปลี่ยนไป ก็เลยตั้งคำถามว่าต้นตอมาจากอะไร หนึ่งในนั้นก็คือปัญหาหมอกควัน

และไฟฟ้าซึ่งเกิดขึ้นทุกๆปี นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ผมสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม ”

สำหรับเยาวชนแล้วคำว่า ภาวะโลกร้อน  เมื่อก่อนภาพอาจจะไม่ชัดเจน ปัจจุบันนี้เริ่มเห็นว่าสิ่งแวดล้อมต่างๆเปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิม มีความรู้สึกว่าเริ่มใกล้ตัวมากยิ่งขึ้น

การแก้ปัญหา Climate Change ไม่ใช่แค่ความฝัน แล้วจะทำอย่างไร

 “ตอนที่ผมจะมาทำด้านสิ่งแวดล้อม ครอบครัวผมไม่เห็นด้วย...ทำไมไม่เอาเวลาไปเรียน จะเจอคำถามนี้ตลอดเลยว่าทำแล้วได้อะไร

ผมก็มีจุดยืนของตัวเองตลอดก็คือ เราอยากทำสิ่งเหล่านี้ให้ดีขึ้น ผมต้องทำให้เขาเห็นว่า ผมทำได้จริงๆ และผมก็สามารถแบ่งเวลาให้กับสิ่งที่เขาต้องการ นั่นก็คือการเรียน

ความฝันต้องไม่ใช่แค่ความฝัน และความฝันของเราก็เปลี่ยนแปลงทำให้มันดีขึ้นทุกๆวัน กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง ผมทำงานด้านสิ่งแวดล้อม ไม่เคยคิดเลยว่าทำเพื่อล่ารางวัล

ผมคิดว่าตัวผมเองก็คือสิ่งแวดล้อมและผมก็อยากจะเปลี่ยนแปลงมัน ถ้าเราพูดถึงเทคโนโลยี มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

สิ่งแวดล้อมก็เหมือนกัน เราต้องเปลี่ยนแปลงให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ และคงความงดงามไว้ ปัญหาต่างๆเราเป็นคนสร้างขึ้นมา เราก็ต้องแก้กลับคืนได้”

อยากช่วยให้”โลกร้อน”น้อยลง เยาวชนต้องเปลี่ยนวิธีคิดอย่างไร

อยากโตเป็นผู้ใหญ่แบบไหน?

“ถ้าผมโตเป็นผู้ใหญ่ ผมจะสนับสนุนเด็กรุ่นใหม่ ความคิดใหม่ๆ ผมคิดถึงต้นมะละกอ ผลอ่อนๆจะอยู่ด้านบน ส่วนผลใหญ่จะอยู่ด้านล่าง

นั่นหมายความว่าคนรุ่นใหม่มีความคิด อาจจะดีกว่าคนรุ่นเก่า หรืออาจจะไม่ดีกว่า แต่ฟังแล้วอาจจะช่วยแก้ปัญหาในด้านอื่นๆได้ครับ

ถ้าถามว่าอยากเป็นผู้ใหญ่แบบไหน ก็คือไม่อยากเป็นผู้ใหญ่ที่มองว่าคุณยังเด็ก คุณอย่าเพิ่งมาทำดีกว่า เอาเวลาไปเรียนดีกว่า นั่นคือสิ่งที่เราไม่ชอบ อยากเป็นผู้ใหญ่ที่ให้โอกาสเด็กทุกคน”

อยากช่วยให้”โลกร้อน”น้อยลง เยาวชนต้องเปลี่ยนวิธีคิดอย่างไร วิถีชีวิตดั้งเดิมหายไปไหน

ด้าน “ประหยัด เสือชูชีพเยาวชน ACE 2022 ชาวปกาเกอะญอ จากแม่ปอคี จังหวัดตาก เล่าว่าเขาเกิดในป่า ตื่นเช้าก็ได้ยินเสียงนก เสียงกา

เสียงเสียดสีของไม้ไผ่ พอโลกพัฒนาวิถีชีวิตในชุมชนเริ่มเปลี่ยนแปลง เขากลัวว่าความดั้งเดิม ทั้งวิถีชีวิตและวัฒนธรรมจะหายไป

“คนอยู่บนเขาทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เป็นคนเผาป่า ทำลายป่าไม้ ไม่มีใครรู้เรามีภูมิปัญญาในการจัดการทรัพยากรอย่างไร เราอยู่ร่วมกับป่า ผมว่าวันนี้เราไม่โทษใครว่าใครเป็นคนทำให้เกิดภาวะโลกร้อน

สิ่งที่สำคัญวันนี้เราจะร่วมมือกันทำให้โลกหยุดร้องไห้ อีกปัญหาก็คือวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ที่กำลังจะเปลี่ยนแปลง

ในเมื่อคนมองว่าคนชาติพันธุ์เป็นคนทำลายป่า พอเขามาเรียนหนังสือ ก็ทำลายตัวตนของชาติพันธุ์ไม่อยากเป็นแล้ว ผมอยากให้ทุกคนกลับมาเป็นตัวตนที่เคยเป็น”

อยากช่วยให้”โลกร้อน”น้อยลง เยาวชนต้องเปลี่ยนวิธีคิดอย่างไร Plearn เรียนเล่น x krugus

กัสมา มะหมัด เจ้าของเพจ Plearn เรียนเล่น x krugus เล่าว่า คลุกคลีกับธรรมชาติตั้งแต่เด็ก คุณพ่อพาเข้าป่าปลูกต้นไม้ จิตวิญญาณจึงผูกพันกับธรรมชาติ

“พอเราได้มาเป็นครู ก็ได้ศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ การเข้าใจความเป็นมนุษย์ในแต่ละช่วงวัย มีจุดหนึ่งที่ว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ

เราจะรู้สึกว่าตัวเราเล็กลง เวลาจะใช้ทรัพยากรก็จะใช้อย่างคุ้มค่า รู้สึกหวงแหน อยากดูแล เพราะเราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เราเป็นครู นำเอาความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมเข้ามาในการเรียนการสอนด้วยคะ”

เธอมักบันทึกไดอารีการเรียนการสอนลงในเฟสบุ๊คส่วนตัว ทั้งวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ สอดแทรกเรื่องสิ่งแวดล้อม

จนมีคนให้ความสนใจเข้ามาอ่านเยอะจนเธอตัดสินใจสร้างเพจ เพื่อให้คนทั่วไปรวมทั้งผู้ปกครอง หรือเพื่อนๆครู สามารถอ่านและนำไปใช้ได้

อยากช่วยให้”โลกร้อน”น้อยลง เยาวชนต้องเปลี่ยนวิธีคิดอย่างไร เจ้าของรางวัลห่มปุ๋ย ขยะสร้างความคิด

ธนวัฒน์ ตาลสุข เยาวชน ACE 2022 ชนะเลิศประกวด Contest หัวข้อย่อย Go Green เรื่อง “ห่มปุ๋ย ขยะสร้างความคิด”

เล่าถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมว่า เริ่มจากการตั้งคำถาม ถ้าเราอยู่ในเหตุการณ์  Climate Crisis เราจะมีวิธีการรับมือยังไง

“เริ่มจากการตั้งคำถามครับ เพราะเราเป็นคนในพื้นที่ชายขอบ อยู่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เห็นการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง ความหลากหลายทางชีวภาพสูญหาย 

ก็เลยมองตัวเองว่ามีทักษะอะไร เรามีสื่อก็เลยผลิตผลงานออกมาประกวด สอดแทรกเรื่องสิ่งแวดล้อม ทำรายการเพื่อคนรุ่นใหม่ที่มีมุมมองอยากจะเปลี่ยนแปลง คนธรรมดาก็ทำได้”

อยากช่วยให้”โลกร้อน”น้อยลง เยาวชนต้องเปลี่ยนวิธีคิดอย่างไร สิ่งที่ท้าทายสำหรับเขาก็คือ การขอเงินทุนจากรัฐบาลและการนำเสนอเนื้อหาอย่างไรให้ถูกต้อง สร้างสรรค์ และปลอดภัย

"ผมเรียนนิเทศฯ ม.กรุงเทพ ก็พยายามหาหน่วยงานมาสนับสนุน ในมุมกลับกันถ้าเป็นเยาวชน จะสร้างผลงานอย่างไรให้ดีต่อสิ่งแวดล้อม มองกลับไปที่ตัวเองก่อนว่าตอนนี้เราอยู่บทบาทไหน แล้วองค์กรไหนจะสนับสนุนเราได้บ้าง

และในทางกลับกัน ทางภาคส่วนเองก็น่าจะให้โอกาสกับเด็กอย่างพวกเรา บางครั้งเราอาจจะไม่มีความรู้ความสามารถ แต่อย่างน้อยพยายามเข้าใจปัญหาเรา เปิดโอกาสให้เราได้คุยกันก่อน" 

อยากช่วยให้”โลกร้อน”น้อยลง เยาวชนต้องเปลี่ยนวิธีคิดอย่างไร

วิโพ โตเชอ เยาวชน ACE 2020 เครือข่ายเยาวชนไทยรักป่าเชียงใหม่ชนเผ่ากระเหรี่ยง 

ธุรกิจสีเขียว Sansotrees

อรวรา ภูริเดช เจ้าของธุรกิจสีเขียว Sansotrees เพชรบูรณ์ มองว่าปัจจุบัน Climate Crisis เป็นเรื่องที่สำคัญมาก และนำวิสัยทัศน์ที่ต้องการแก้ไข มาลงมือทำให้เป็นจริง

การทำงานในชุมชนที่มีมุมมองแตกต่างกัน เช่นสิ่งแวดล้อม หลายคนยังไม่เข้าใจว่าอะไรคือปัญหา และมีความสำคัญอย่างไร

 “ความท้าทายคือ คนอาจจะมองว่าเราเป็นเยาวชน อาจไม่มีความสามารถมากพอ หรือไม่มีประสบการณ์ เราทุกคนต่างประสบกับปัญหาเรื่องนี้ เราต้องเปิดใจให้โอกาสซึ่งกันและกันมากขึ้น

ต้องไม่ปิดกั้น สร้างกำแพงในการทำงาน การเปิดรับคนใหม่ๆ มุมมองใหม่ๆ คนที่มีประสบการณ์ไม่เหมือนกัน เข้ามาร่วมประชุม ช่วยกันคิด จะทำให้เราสามารถ Move Forward ได้เร็วขึ้น”