จาก 'ไป๋จิ่ว' สู่ 'ไวน์จีน' ยุคเปลี่ยนถ่ายวัฒนธรรมการดื่มของจีน

จาก 'ไป๋จิ่ว' สู่ 'ไวน์จีน' ยุคเปลี่ยนถ่ายวัฒนธรรมการดื่มของจีน

คนจีนกินเหล้าเก่ง กินทั้งเป็นเหล้า กินทั้งเป็นยา กินเป็นอาหาร คือภาพสะท้อนวิถีชีวิตชาวจีน และเหล้าที่นิยมดื่มคือ 'ไป๋จิ่ว' หรือเหล้าขาวกับเบียร์ หากตอนนี้ 'ไวน์จีน' ก้าวสู่ยุคเปลี่ยนวัฒนธรรมของวงการเครื่องดื่มจีน

เหล้าหรือสุรา อยู่ในวิถีชีวิตของชนชาวจีน นอกจากดื่มเป็นเหล้า ยังใช้เหล้าทำยา และใช้ทำอาหาร

เหล้าที่คนจีนนิยมคือ ไป๋จิ่ว หรือ เหล้าขาวกับเบียร์ เพราะโดยลึก ๆ แล้ว สุราสำหรับคนจีนแฝงไว้ด้วยความหมายการของการคบหาสมาคม และสืบสานมิตรภาพ อย่างน้อยในภาษาจีนกลางคำว่า เหล้า พ้องเสียงกับว่า จิ่ว แปลว่ายั่งยืนยาวนาน

จาก \'ไป๋จิ่ว\' สู่ \'ไวน์จีน\' ยุคเปลี่ยนถ่ายวัฒนธรรมการดื่มของจีน      ไร่องุ่นในเหอเป่ย

ประวัติศาสตร์ของเหล้าจีน บันทึกไว้หลากหลายตำนาน เช่น พบหลักฐานยืนยันว่าเหล้าเกิดขึ้นในจีนสมัยพระเจ้าอวี่ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์เซี่ยหรือเมื่อประมาณ 5,000 ปีที่แล้ว จากฝีมือของขุนนางชื่ออี้ตี๋หรืองี่เต๊ก โดยหลักฐานขุดค้นพบเป็นไหหมักเหล้าในมณฑลซานตง (Shandong) ข้อมูลแบบลายลักษณ์อักษรในการผลิตเหล้าก็มีอายุกว่า 4,000 ปี ส่วนไหเหล้าแบบสมบูรณ์ (ยังมีเหล้าอยู่ข้างใน) มีการค้นพบในมณฑลเหอเป่ย เมื่อทศวรรษที่ 1970 และมีอายุเกือบ 2,300 ปี

พงศาวดารจีนคงจะพบว่าคนเก่ง ๆ ของจีน จะดื่มเหล้าชื่อดังต่าง ๆ และถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าปราชญ์จีนแต่ละคนล้วนเป็นพวกคอทองแดงทั้งสิ้น และมีการตั้งฉายาให้หลายอย่าง เช่น หลี่ไป๋ ฉายา "เทพสุรา", หลิวหลิง ฉายา "ปีศาจสุรา", ตู้ฝู่ ฉายา "บัณฑิตสุรา", ตังป๋อหู ฉายา "นักศึกษาสุรา" และ เถาหยวนหมิง ฉายา "นักปราชญ์สุรา" เป็นต้น ในบ้านเราสุนทรภู่ก็คอทองแดง ขณะที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็ได้ชื่อว่าเป็นนักดื่มคลาสสิกคนหนึ่ง

จาก \'ไป๋จิ่ว\' สู่ \'ไวน์จีน\' ยุคเปลี่ยนถ่ายวัฒนธรรมการดื่มของจีน

   ตู้คัง

เหล้าจีนที่หลายคนอยากลิ้มลองมีชื่อว่า ตู้คัง เป็นเหล้าประจำตัวของโจโฉ นายกรัฐมนตรีตลอดกาลสมัยสามก๊ก ซึ่งไปไหนจะต้องมีแผนกสุราแบกไหเหล้าตามไปด้วย เวลาเมาโจโฉจะไม่ถือดาบแต่จะจับพู่กันเขียนบทกวีแทน ฉายาของเหล้าตู้คังคือ จอกเดียวเสือหมอบ สองจอกมังกรหลับ หรือ ดื่มตู้คังเพียงสามจอก เมาไปนานสามปี ครั้งหนึ่งโจโฉได้แต่งบทกวีไว้ว่า “จะคลายเศร้าโศกาอย่างไร หากชีวิตไร้ซึ่งตู้คัง” เป็นต้น

จาก \'ไป๋จิ่ว\' สู่ \'ไวน์จีน\' ยุคเปลี่ยนถ่ายวัฒนธรรมการดื่มของจีน

    เหมาไถ เหล้าประจำชาติของจีน

คนจีนดื่มเหล้าขาวกันมาหลายพันปีแล้ว โดยเฉพาะโต๊ะจีนต้องมีสุราด้วยเสมอ เหล้าขาวดังกล่าวหมายถึงเหล้ากลั่น 30 ดีกรีขึ้นไป ปัจจุบันเหล้าขาวชั้นดีที่ติดตลาดตามหัวเมือง ใหญ่ ๆ เช่น เหมาไถ อู่เหลียงเย่ สุยจิ่งฟัง เฝิ่นจิ่ว ตู้คัง และ เจี้ยนหนานชุน มีแอลกอฮอล์ประมาณ 32-53 ดีกรี

หลังสถาปนาประเทศจีนใหม่ (ปี 1949) อุตสาหกรรมการผลิตเหล้าพัฒนาไปตามเศรษฐกิจและการยกระดับการครองชีพของคนจีน ประเทศจีนเคยจัดงานการประกวด สุรายอดเยี่ยม ทั่วประเทศ 3 ครั้ง และมีการตัดสินเหล้าดีมีชื่อ 22 ชนิด เหล้าดีคุณภาพเยี่ยม 58 ชนิด 

จาก \'ไป๋จิ่ว\' สู่ \'ไวน์จีน\' ยุคเปลี่ยนถ่ายวัฒนธรรมการดื่มของจีน

   ไวน์จีนแบรนด์ต่าง ๆ

ในปี 1980 จีนพิมพ์สารานุกรม สุราดีมีชื่อของจีน แบ่งสุราดีของจีนเป็น 5 ชนิดใหญ่ ๆ คือ เหล้าขาว เหล้าเหลือง เหล้าองุ่น เหล้าผลไม้ และเบียร์

จาก เหล้าขาว วันนี้จีนก้าวสู่ยุควัฒนธรรมใหม่ของ ไวน์ (Wine) ฝั่งตะวันตกอย่างเต็มตัว และแนวโน้มโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สถิติปี 2014 จีนเป็นชาติที่กำลังมาแรงในตลาดยุโรปและอเมริกาเหนือ รวมทั้งในเอเชียที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างน่าจับตามอง เพราะเป็นชาติที่มีพื้นที่ผลิตไวน์ใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก มีชาวไร่องุ่นประมาณ 350 ราย ในจำนวนนี้กว่า 100 รายอยู่ในซานตง

จาก \'ไป๋จิ่ว\' สู่ \'ไวน์จีน\' ยุคเปลี่ยนถ่ายวัฒนธรรมการดื่มของจีน       แหล่งผลิตไวน์ในจีน

หนังสือ The Sotheby’s Wine Encyclopedia ของทอม สตีเฟนสัน (Tom Stevenson) พิมพ์ครั้งที่ 4 และได้รับการยกย่องว่าเป็น ไบเบิ้ลของไวน์ มีข้อมูลว่าจีนเป็นชาติที่มีพื้นที่ผลิตไวน์ใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก แซงหน้าเยอรมนี แอฟริกาใต้ โปรตุเกส และชิลี มีชาวไร่องุ่นประมาณ 350 ราย ในจำนวนนี้กว่า 100 รายอยู่ในซานตง  

ไวน์ของบริษัทใหญ่ ๆ อย่าง ชางหยู (Changyu), เกรท วอลล์ (Great Wall) และไดนาสตี้ (Dynasty) ซึ่งเป็นผู้ผลิตไวน์อันดับสองของจีน ร่วมทุนระหว่างเทียนจิน ดีเวลลอปเม้นท์ กับเรมีฯ จากฝรั่งเศส สามารถพบเห็นได้ในไชน่าทาวน์ทั่วโลก

จาก \'ไป๋จิ่ว\' สู่ \'ไวน์จีน\' ยุคเปลี่ยนถ่ายวัฒนธรรมการดื่มของจีน

     Dragon Seal (Cr.vivino.com)

ส่วนยี่ห้อดรากอน ซีล (Dragon Seal) สามารถคว้าเหรียญทองประเภทชาร์ดอนเนย์ ในการประกวดไวน์ที่ลอนดอน และระดับนานาชาติอีกหลายรางวัล ปัจจุบันผลผลิต 15% ส่งออกไปสู้ในตลาดยุโรป สหรัฐฯ และญี่ปุ่น

บริษัท ซานซี เกรซ (Shanxi Grace) ส่งไวน์ยี่ห้อทาสยา (Tasya) เข้าไปบุกตลาดเบลเยี่ยม ลักแซมเบิร์ก ออสเตรีย เยอรมนี และอังกฤษ ในปี 2005 นี่เอง และที่ต้องใช้ชื่อ Tasya แทนที่จะเป็น Grace เพราะมีไวน์ยี่ห้อ Grace อยู่แล้วเป็นไวน์จากแคลิฟอร์เนีย และญี่ปุ่น จึงใช้ยี่ห้อซ้ำกันไม่ได้

จีนรุกคืบไปยังยุโรป โดยเฉพาะฝรั่งเศสและเจาะจงไปยังบอร์กโดซ์ (Bordeaux) ซึ่งเป็นไวน์ที่ชาวจีนชอบมากกว่าทุกเขตของฝรั่งเศส เศรษฐีจีนเริ่มให้ความสนใจซื้อชาโตไวน์ในบอร์กโดซ์ หลังจากที่ปีเตอร์ กว๊อก (Peter Kwok) ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่จุดประกายให้เศรษฐีจีนไปซื้อชาโตไวน์ในบอร์กโดซ์

จาก \'ไป๋จิ่ว\' สู่ \'ไวน์จีน\' ยุคเปลี่ยนถ่ายวัฒนธรรมการดื่มของจีน

      ไวน์จีนที่ได้รางวัลปี 2017 (Cr.decanterchina.com)

หลังจากเขาซื้อชาโต โอต์ บริสซง (Chateau Haut-Brisson) ในปี 1997 ก่อนจะซื้อ ชาโต ลาตูร์ แซงต์ คริสโตเฟ (Chateau Latour – St.Christophe) มาครอบครองอีกแห่งหนึ่ง จากนั้นเป็นต้นมาก็มีเศรษฐีจีนซื้อชาโตไวน์ในเมืองบอร์กโดซ์ ไม่แพ้การซื้อสินค้าแบรนด์เนมในปัจจุบัน

แจ๊ค หม่า (Jack Ma) มหาเศรษฐีจีนเจ้าของเวบไซต์อาลีบาบา (Alibaba) เริ่มช็อปปิ้งชาโตไวน์ในบอร์กโดซ์ ด้วยการซื้อชาโต เดอ ซูส์ (Château de Sours) ใน อองแต เดอซ์ แมร์ (Entre deux Mers) เขตผลิตไวน์ขาวชื่อดังในบอร์กโดซ์ เป็นแห่งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2016

ตามด้วยการซื้อชาโต เปอแฮรน (Château Perenne) ในเขตควบคุม (AOC) เปรอะมิเยร์ โก๊ต เดอ บลาย(Premieres Côtes Blaye) ด้วยมูลค่า 16 ล้านยูโร พร้อมประกาศไว้ว่าจะซื้อ 20-30 ชาโต แต่มาเกิดระบาดของโควิด -19 เสียก่อน ทำให้การซื้อไม่ทะลุเป้า

เจ้า เวย (Zhao Wei) หรือ วิคกี้ เหวย เจ้าของบทบาทเสี่ยวเยี่ยนจื่อ ในซีรีส์ชุด “องค์หญิงกำมะลอ” และหนัง “มู่หลาน” ที่โด่งดังนั้น นิตยสารฟอร์บสรายงานว่าเป็นนักแสดงหญิงที่ร่ำรวยที่สุดในโลก มีธุรกิจหลายอย่างรวมทั้งการลงทุนด้านไวน์ และมีหุ้น 9.18 % ของอาลีบาบา ของแจ็ค หม่า ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทกัน และเธอยังชักชวนแจ็คหม่า มาซื้อไวเนอรีในฝรั่งเศสหลายแห่งด้วย

จาก \'ไป๋จิ่ว\' สู่ \'ไวน์จีน\' ยุคเปลี่ยนถ่ายวัฒนธรรมการดื่มของจีน

    จ้าวเวย

ปัจจุบันเธอเป็นเจ้าของ 3 ชาโตไวน์ในบอร์กโดซ์ คือชาโต มงโลต์ (Château Monlot) ไวน์คุณภาพระดับกรองด์ ครู (Grand Cru) ในแซงเตมิลยอง (Saint-Emilion) ที่ซื้อมาในปี 2011 ส่วนอีก 2 ชาโตคือ ชาโต ลา วี (Chateau La Vue) และชาโต เซนาญัค (Chateau Senailhac)

นั่นเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐี เซเลบ และคนที่มีชื่อเสียงยุคใหม่ที่ไปซื้อชาโตไวน์ในบอร์กโดซ์ ขณะเดียวกันก็มีผู้ผลิตไวน์ที่มีชื่อเสียงจากบอร์กโดซ์ไปร่วมหุ้นลงทุนผลิตไวน์ในจีนหลายราย เช่น

จาก \'ไป๋จิ่ว\' สู่ \'ไวน์จีน\' ยุคเปลี่ยนถ่ายวัฒนธรรมการดื่มของจีน

     Long Dai

โดเมน บาฮรง เดอ ร็อธไชลด์ หรือ ดีบีอาร์ (Domaines Barons de Rothschild / DBR เจ้าของชาโต ลาฟิต ร็อธชิลด์ (Château Lafite Rothschild) 1 ใน 5 เสือบอร์กโดซ์ เข้าไปลงทุนในจีนทำไวน์สไตล์บอร์กโดซ์ เบลนด์ ชื่อ หลงไต้ (Long Dai)

ผลิตวินเทจแรก 2017 เบลนด์จากองุ่น 3 พันธุ์คือ กาแบร์เนต์ โซวีญยอง (Cabernet Sauvignon) มาร์เซอลัน (Marselan) และกาแบร์เนต์ ฟรอง (Cabernet Franc) มีไวน์ฉลากสองชื่อ “Hu Yue” เปิดตัวในปี 2019 เป็นวินเทจ 2018 ซึ่งเป็นวินเทจแรกที่ผลิต

Long Dai ผลิตในนาม Domaine de Long Dai มีพื้นที่ปลูกองุ่น 30 เฮกตาร์ ซื้อมาในปี 2009 อยู่ในกุยซานแวลลีย์ (Qiu Shan Valley) มณฑลซานตง ทางตะวันออกค่อนไปทางเหนือของจีน อากาศค่อนข้างร้อนแต่ได้ความเย็นจากทะเลเหลืองซึ่งอยู่ห่างไปประมาณ 20 กม.

จาก \'ไป๋จิ่ว\' สู่ \'ไวน์จีน\' ยุคเปลี่ยนถ่ายวัฒนธรรมการดื่มของจีน     ไวน์มาริลิน มอนโร

ชาโต ลาฟิต ร็อธชิลด์ นั้นเป็นไวน์ที่เศรษฐีจีนชื่นชอบกันมาก และมีการปลอมกันมากเช่นกัน เจ้าหน้าที่จับได้และมีการทำลายบ่อยครั้ง ผู้เชี่ยวชาญไวน์จากทางยุโรปประมาณกันว่า 70% ของไวน์ชาโต ลาฟีต ร็อธส์ชิลด์ ที่ขายในจีนเป็นไวน์ปลอม

ขณะเดียวกันก็ยังมีชาวจีนซึ่งอพยพไปอยู่ต่างแดนสร้างฐานะจนมั่นคง แล้วลงทุนทำไวน์อีกมากมาย ล่าสุดที่ผมได้ชิมในงาน Vinexpo Asia 2023 ที่ประเทศสิงค์โปร์ เป็นไวน์แคลิฟอร์เนียชื่อ มาริลิน มอนโร (Marilyn Monroe) นักแสดงชื่อดังของฮอลลีวู้ด เจ้าของเป็นชาวหูหนาน ไปอยู่แคลิฟอร์เนีย ทำไวน์หลากหลายรุ่น เป็นต้น

จาก \'ไป๋จิ่ว\' สู่ \'ไวน์จีน\' ยุคเปลี่ยนถ่ายวัฒนธรรมการดื่มของจีน     ไร่องุ่นในประเทศจีน

ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาไฉ  新正如意 新年发财

ขอให้ทุกท่านมีความสุข และประสบผลสำเร็จตลอดปีมังกร 2567