“พาสต้าเดย์” 17 ตุลาคม ชวนรู้ “ต้นกำเนิดของพาสต้า” จีนหรืออิตาลี

“พาสต้าเดย์” 17 ตุลาคม ชวนรู้ “ต้นกำเนิดของพาสต้า” จีนหรืออิตาลี

วันที่ 17 ตุลาคม เป็น “พาสต้าเดย์” (Pasta Day) อาหารเส้นที่คนทั่วโลกรู้จัก แต่หลายคนสงสัยว่า จีนหรืออิตาลีเป็น “ต้นกำเนิดของพาสต้า”

พาสต้า (pasta) คืออาหารเส้นจากอิตาลี เรารู้กันอยู่ แต่นักกินเส้นที่คนทั่วโลกก็รู้ ๆ กันคือชาวจีน ที่กิน ก๋วยเตี๋ยว ก่อนใคร

อิตาลีกับจีนเคยเถียงกัน คนอิตาเลียนบอกว่ากินพาสต้ามานานแล้ว ก่อนมาร์โค โปโล จะเดินทางไปจีนแล้วนำอาหารเส้นมาเผยแพร่ในบ้านเกิด

เพื่อฉลองวันกินอาหารเส้น ชาวอเมริกันจึงตั้งให้ วันที่ 17 ตุลาคม เป็น พาสต้าเดย์ (International Pasta Day) ในบางแห่งยกให้เดือนตุลาคมเป็น Pasta Month

“พาสต้าเดย์” 17 ตุลาคม ชวนรู้ “ต้นกำเนิดของพาสต้า” จีนหรืออิตาลี      (Cr. loveandlemons.com)

ก่อนไปถึงข้อพิพาทว่าจีนหรืออิตาลี ใครกินพาสต้าก่อนใคร ตรวจสอบไทม์ไลน์ ที่มาอาหารเส้นในอิตาลี ดูว่า จีนหรืออิตาลีกินเมนูเส้นก่อนใคร

400s : ยุค ค.ศ.400 คนอิตาลีระบุว่าชาวเมืองปาเลอโม (Palermo) กินพาสต้ากันแล้ว

1600s : ชาวนาโปลี หรือเนเปิ้ลบอกว่า มักกะโรนีเป็นอาหารประจำท้องถิ่น

1740 : โรงงานผลิตพาสต้าถือกำเนิดที่เวนิซ

ปลายยุค 1700s : เรดซอส ที่ทำจากมะเขือเทศ เป็นซอสยอดนิยมในอิตาลี

1914 : คนอิตาลีคิดค้นพาสต้าสำเร็จรูป ซึ่งนิยมอย่างรวดเร็วเพราะสะดวกซื้อ สะดวกปรุง

“พาสต้าเดย์” 17 ตุลาคม ชวนรู้ “ต้นกำเนิดของพาสต้า” จีนหรืออิตาลี     สลัดพาสต้าจากเส้นฟูซิลลี (Cr. allrecipes.com)

มาร์โค โปโล นำอาหารเส้นจากจีนสู่อิตาลี : ในตำราปรุงอาหารหลายเล่มระบุว่า พ่อค้าจากเวนิซ มาร์โค โปโล (Marco Polo) เดินทางไปจีนตามเส้นทางสายไหม ตอนนั้นจีนอยู่ในยุคราชวงศ์หยวน และนำอาหารเส้นจากจีนมาเผยแพร่ในอิตาลี เมื่อปี ค.ศ.1271

แต่คนอิตาลีไม่เชื่อ หาหลักฐานมาคัดง้างว่า ชาวอิทรัสคัน (Etruscan) ยุคอารยธรรมอิตาลีโบราณ ที่รุ่งเรืองมาตั้งแต่ 800 ปี ก่อนคริสตกาล รู้จักนำธัญพืชและเมล็ดพืชมาบดผสมกับน้ำแล้วทำ พาสต้า

“พาสต้าเดย์” 17 ตุลาคม ชวนรู้ “ต้นกำเนิดของพาสต้า” จีนหรืออิตาลี       (Cr. tasteline.com)

นักโบราณคดี พากันหาหลักฐานเพื่อชี้ชัดว่า ใครกินอาหารเส้นก่อนใคร แม้กระทั่งชาวตะวันตกเองก็พูดว่า ต้นกำเนิดของพาสต้าไม่อาจระบุเวลาที่แน่นอนได้

พาสต้า หรืออาหารเส้นของชาวตะวันตกทำจากข้าวสาลี บดเป็นผงแป้งผสมน้ำ ต่อมาใส่ไข่ นวดเป็นแผ่นแป้งแล้วตัดเป็นเส้นรูปทรงต่าง ๆ

“พาสต้าเดย์” 17 ตุลาคม ชวนรู้ “ต้นกำเนิดของพาสต้า” จีนหรืออิตาลี       เส้นพาสต้าแบบต่าง ๆ (Cr. whatsfordinner.com)

มาร์โค โปโล เขียนในบันทึกของเขาว่า อาหารเส้นที่ทำจากแป้งในจีน ทำจากข้าวบาร์เลย์ อีกทั้งมีหลักฐานว่าชาวเอเชียกิน ก๋วยเตี๋ยว มานานมากแล้ว ยุคเริ่มแรกของอาหารเส้นคือ ก๋วยเตี๋ยว, เส้นหมี่ อาหารเส้นที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า ที่กินกันมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง (Shang Dynasty 1700-1100 ปีก่อนคริสตกาล)

“พาสต้าเดย์” 17 ตุลาคม ชวนรู้ “ต้นกำเนิดของพาสต้า” จีนหรืออิตาลี      พาสต้ารูปเกี๊ยว ตอร์เตลลินี (Cr. culinaryginger.com)

อีกหลักฐานหนึ่งบอกว่า ชาวเอเชียกลางกินอาหารเส้นมานานนับพันปี ค้นพบการเดินทางของอาหารเส้นจากชนเผ่าเร่ร่อนและพ่อค้าชาวอาหรับ ที่นำอาหารเส้นไปเผยแพร่ในเมดิเตอร์เรเนียน ด้วยสภาพอากาศดี พืชผักอุดม จึงเกิดเมนูอาหารเส้นหลากหลาย บ้างระบุว่าอาหารเส้นเก่าแก่พบในเปอร์เซีย (อิหร่านในปัจจุบัน)

“พาสต้าเดย์” 17 ตุลาคม ชวนรู้ “ต้นกำเนิดของพาสต้า” จีนหรืออิตาลี      อาหารเส้นของจีน (Cr. thespruceeats.com)

เถียงกันไปมา จนเมื่อปี 2005 นักโบราณคดีขุดพบ ชามใส่ก๋วยเตี๋ยว ที่แหล่งขุดค้นโบราณคดีเมืองหล่าเจีย ( 喇家 Lajia Site) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เป็นชามฝังอยู่ใต้ดิน 3 เมตร พิสูจน์ได้ว่า ก๋วยเตี๋ยวในชามโบราณนั้นทำจากเมล็ดข้าวฟ่าง (millet) ที่เพาะปลูกในจีนมากว่า 7,000 ปี

“พาสต้าเดย์” 17 ตุลาคม ชวนรู้ “ต้นกำเนิดของพาสต้า” จีนหรืออิตาลี     ราวิโอลี หน้าตาเหมือนเกี๊ยว (Cr. delicious.com.au)

แถมบอกได้อีกว่าเป็นข้าวฟ่าง 2 ชนิด ที่มีคุณสมบัติเมื่อบดนวดเป็นแป้งแล้วยืดแป้งออกได้ดี ทำเป็นเส้นเหนียวนุ่ม ทุกวันนี้ก๋วยเตี๋ยวทำจากข้าวฟ่าง ยังนิยมกินกันอยู่ในแถบตะวันตกเฉียงเหนือในประเทศจีน

อีกหลักฐานหนึ่งบันทึกในหนังสือสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ.25-220) ว่าคนจีนกินอาหารเส้น เรียกว่า เมี่ยน 面 หรือ เมี่ยนเถียว 面条 (รวมเส้นทุกชนิด)

“พาสต้าเดย์” 17 ตุลาคม ชวนรู้ “ต้นกำเนิดของพาสต้า” จีนหรืออิตาลี     เพนเน่กับผักย่าง (Cr. itallpastalimited.com)

ส่วนคำว่า ก๋วยเตี๋ยว เป็นสำเนียงจีนแต้จิ๋ว มาจากคนจีนตอนใต้เรียกว่า กั่วเถียว 粿条 ส่วนบะหมี่เหลืองเรียกว่า 蛋面 (ตั้นเมี่ยน)

คนเอเชียมีอาหารเส้นทำจากแป้งข้าวเจ้า ก่อนจะไปถึงแป้งสาลีที่ใช้ทำบะหมี่ไข่หรือบะหมี่เหลือง นักประวัติศาสตร์บอกว่า แม้ข้าวสาลีปลูกในจีนเมื่อ 4,000 ปีมาแล้วแต่ไม่แพร่หลาย จนถึงยุคราชวงศ์ถังถึงเริ่มนิยม

“พาสต้าเดย์” 17 ตุลาคม ชวนรู้ “ต้นกำเนิดของพาสต้า” จีนหรืออิตาลี     ซุปพาสต้า (Cr. plantedinkitchen.com)

ดังนั้น ชามเก่าแก่ใส่เส้นข้าวฟ่างจึงหักล้างทุกความคิดว่า ใครกินอาหารเส้นก่อนใคร แต่คำว่า pasta คนอังกฤษบรรจุในพจนานุกรมเมื่อปี 1874 มาจากภาษาละตินว่า pasta แปลว่า barley porride หรือข้าวต้มข้าวบาร์เลย์ บ้างบอกว่าน่าจะมาจากคำว่า paste คือการบดข้าวสาลีเป็นแป้งเนื้อข้นเหนียว

ใครเป็นแชมป์กินพาสต้า : คนอิตาลีแน่ ๆ สำรวจพบว่ากินมากสุด 1,432,990 ตัน ต่อปี และส่งออกเส้นพาสต้า 67  ล้านตันต่อปี

คนคิดพาสต้าเดย์ ไปสำรวจต่อพบว่าประชาขน 75% ตอบแบบสอบถามว่า กินพาสต้าอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง คนที่ตอบว่ากินมากสุดคือกินมากกว่า 20 ครั้ง ต่อสัปดาห์

“พาสต้าเดย์” 17 ตุลาคม ชวนรู้ “ต้นกำเนิดของพาสต้า” จีนหรืออิตาลี     ลาซานญ่า (Cr. myrecipes.com)

พาสต้าแบบไหนที่ชอบ : 25% ตอบว่า เส้นสปาเก็ตตี้ แบบเบสิกนี่แหละที่กินบ่อยสุด พาสต้าที่ชอบรองลงไปได้แก่ ลาซานญ่า, พาสต้าอบ Baked Ziti (พาสต้าเส้นสั้นกลวงอบกับชีส) และ แมคแอนด์ชีส (มักกะโรนีอบชีส)

“พาสต้าเดย์” 17 ตุลาคม ชวนรู้ “ต้นกำเนิดของพาสต้า” จีนหรืออิตาลี

    baked ziti (Cr. bonappetite.com)

ซอสที่ชอบ : 51.95% ตอบว่า red sauce ได้แก่ โบโลญเนส (Bolognese ซอสเนื้อ) และ มารินาร่า (Marinara ซอสมะเขือเทศ)

43.72% ชอบซอสครีม Alfredo

4.32% ชอบซอสเพสโต้ (โหระพา)

“พาสต้าเดย์” 17 ตุลาคม ชวนรู้ “ต้นกำเนิดของพาสต้า” จีนหรืออิตาลี     สปาเก็ตตี้โบโลญเนส (Cr. taste.com.au)

พาสต้ายอดนิยม : การจับคู่ชนิดของเส้นพาสต้ากับซอส เป็นเรื่องคลาสสิก แต่ใครจะแหวกแนวก็ไม่มีใครว่า แต่คู่คลาสสิกที่คนทั่วโลกนิยม ได้แก่

สปาเก็ตตี้โบโลญเนส ซอสเนื้อสับปรุงกับมะเขือเทศ เคี่ยวใส่ไวน์แดงหน่อย โรยพาร์เมซานนิด ฮิตที่สุด วันที่ 4 มกราคม เป็นวัน สปาเก็ตตี้โบโลญเนส ด้วย

เฟตตูชินี อัลเฟรโด้ พาสต้าเส้นแบนกว้าง Fettucine แปลว่าริบบิ้น เข้ากับครีมซอสข้น ๆ Alfredo จะใส่กุ้ง ไก่  ล็อบสเตอร์ก็ได้ นิยมมากในอเมริกาเหนือ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ เป็นวัน เฟตตูชินี อัลเฟรโด้

“พาสต้าเดย์” 17 ตุลาคม ชวนรู้ “ต้นกำเนิดของพาสต้า” จีนหรืออิตาลี     เฟตตูชินี อัลเฟรโด้ (Cr. bonappetit.com)

ตอร์เตลลินี เกี๊ยวยัดไส้เนื้อ ชีส หรือผัก ทำเป็นรูปวงแหวน (น่าจะมาจากเกี๊ยวจีน) หรือปรุงกับซอสมารินาร่า ใส่ไวน์และสมุนไพร คนละแบบกับราวิโอลี แต่ยัดไส้คล้าย ๆ กัน

พาสต้ามีกี่แบบ : อาหารเส้นจากแป้งสาลี รวมเรียกว่า pasta มีราว 350 แบบ แต่คิดใหม่ทำใหม่ได้ตลอด มีสารพัดรูปทรง ใหญ่ เล็ก เป็นเมล็ดเหมือนข้าว ราวิโอลีหรือเกี๊ยวอิตาลี ยัดไส้เนื้อ ผัก ชีส ทั้งหมดคิดขึ้นมาเพื่อให้เหมาะกับซอสที่ใช้

“พาสต้าเดย์” 17 ตุลาคม ชวนรู้ “ต้นกำเนิดของพาสต้า” จีนหรืออิตาลี      พาสต้ามีหลายร้อยแบบ (Cr. tastingtable.com)

และให้สนุกกับการกิน เพลิดเพลินกับ พาสต้าเดย์ อาหารเส้นที่ฝรั่งบอกว่าเป็น comfort food กินง่าย ปรุงง่าย เป็นอาหารครอบครัว อาหารปาร์ตี้ กินได้ทุกเพศทุกวัย กินให้อิ่มตบท้ายก่อนแยกย้ายบ้านใครบ้านมัน

อ้างอิง : toscanaslc.com, nationaltoday.com, nationalgeographic.com