จากแผ่นเสียงครั่งสู่แผ่นไวนิล...ชวนดูนิทรรศการ “แผ่นเสียงในสยาม”

จากแผ่นเสียงครั่งสู่แผ่นไวนิล...ชวนดูนิทรรศการ “แผ่นเสียงในสยาม”

แผ่นเสียงถือกำเนิดขึ้นเมื่อไรในประเทศสยาม ใครคือนักร้องไทยคนแรกที่ได้บันทึกเสียงร้องของตัวเองลงบนแผ่นเสียง ศึกษาประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของแผ่นเสียงประเภทต่างๆ ในประเทศไทยได้ในนิทรรศการ “แผ่นเสียงในสยาม”

กรมศิลปากร โดยหอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญชมนิทรรศการ เรื่อง “แผ่นเสียงในสยาม” จัดแสดงแผ่นเสียงหายากและเครื่องเล่นแผ่นเสียงในยุคต่าง ๆ พร้อมเพลิดเพลินกับเสียงเพลงจากแผ่นเสียงเก่า และถ่ายภาพกับเครื่องเล่นแผ่นเสียงโบราณ

 

เปิดให้ชมวันจันทร์ - วันเสาร์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องจัดแสดง ชั้น ๑ อาคารห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร สำนักหอสมุดแห่งชาติ เขตดุสิต กรุงเทพฯ

จากแผ่นเสียงครั่งสู่แผ่นไวนิล...ชวนดูนิทรรศการ “แผ่นเสียงในสยาม”

 

นิทรรศการ เรื่อง “แผ่นเสียงในสยาม” เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประวัติและพัฒนาการของแผ่นเสียง ความรู้เกี่ยวกับแผ่นเสียงประเภทต่าง ๆ รวมถึงประวัติศาสตร์การบันทึกเสียงของไทย เนื้อหานิทรรศการประกอบด้วย ๔ ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ ๑ แรกมีแผ่นเสียงในสยาม กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของการกำเนิดแผ่นเสียง และการ

บันทึกเสียงยุคแรกในสยาม แผ่นเสียงครั่ง ตราแผ่นเสียงที่ผลิตขึ้นโดยคนไทยในยุคแรก “หม่อมส้มจีน” นักร้องสตรีไทยคนแรกที่บันทึกเสียงลงแผ่นเสียง และแผ่นเสียงปาเต๊ะเพลงไทย

 

ส่วนที่ ๒ จากแผ่นเสียงครั่งสู่แผ่นเสียงไวนิล กล่าวถึงพัฒนาการการบันทึกเสียงจากแผ่นเสียงครั่ง สู่แผ่นเสียงไวนิล และแผ่นเสียงไวนิลประเภทต่างๆ

 

ส่วนที่ ๓ แผ่นเสียงสำคัญในสยาม กล่าวถึงแผ่นเสียงเพลงสำคัญของชาติ แผ่นเสียงเพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๙ แผ่นเสียงเพลงไทยของกรมศิลปากร แผ่นเสียงเพื่อการศึกษา และรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน

 

ส่วนที่ ๔ การกลับมาของแผ่นเสียง คุณค่าทางใจและความสุนทรีย์ที่จับต้องได้ กล่าวถึงการ

กลับมาได้รับความนิยมของแผ่นเสียงอีกครั้งในยุคปัจจุบัน

 

จากแผ่นเสียงครั่งสู่แผ่นไวนิล...ชวนดูนิทรรศการ “แผ่นเสียงในสยาม”

จากแผ่นเสียงครั่งสู่แผ่นไวนิล...ชวนดูนิทรรศการ “แผ่นเสียงในสยาม” จากแผ่นเสียงครั่งสู่แผ่นไวนิล...ชวนดูนิทรรศการ “แผ่นเสียงในสยาม”

 

ภายในนิทรรศการจัดแสดงกระบอกเสียงและแผ่นเสียงหายาก เช่น กระบอกเสียงของเอดิสัน แผ่นเสียงครั่งในสมัยรัชกาลที่ ๕ แผ่นเสียงครั่งร่องกลับทางของปาเต๊ะ ซึ่งเป็นแผ่นเสียงชนิดพิเศษและหายาก แผ่นเสียงไวนิลแบบต่าง ๆ ที่จัดทำขึ้นพิเศษ แผ่นเสียงเพลงพระราชนิพนธ์ที่บันทึกครั้งแรก แผ่นเสียงเพลงชาติในยุคแรกหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง แผ่นเสียงเพลงไทยของกรมศิลปากร ฯลฯ

 

นอกจากนี้ยังจัดแสดงปกแผ่นเสียงไวนิลสวยงามของศิลปินที่มีชื่อเสียง และเครื่องเล่นแผ่นเสียงในยุคต่าง ๆ ทั้งนี้ ผู้เข้าชมนิทรรศการสามารถเพลิดเพลินกับเสียงเพลงจากแผ่นเสียงเก่า ถ่ายภาพกับเครื่องเล่นแผ่นเสียงโบราณ และร่วมกิจกรรม Sleeveface จากปกแผ่นเสียง

 

นอกจากนิทรรศการแผ่นเสียงในสยาม หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านดนตรี เป็นศูนย์ข้อมูลวิชาการดนตรีสำหรับศึกษาค้นคว้า วิจัย รวบรวมและอนุรักษ์ต้นฉบับเพลงไทย และเพลงพระราชนิพนธ์ทุกรูปแบบ ทั้งสื่อโสตทัศนวัสดุ หนังสือ เอกสาร และโน้ตเพลง จัดแสดงเปียโนสองหน้าโบราณหลังเดียวของไทย และผลงานของครูเพลงที่สำคัญของไทย เช่น ท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ และพระเจนดุริยางค์ เป็นต้น

 

จากแผ่นเสียงครั่งสู่แผ่นไวนิล...ชวนดูนิทรรศการ “แผ่นเสียงในสยาม”

จากแผ่นเสียงครั่งสู่แผ่นไวนิล...ชวนดูนิทรรศการ “แผ่นเสียงในสยาม” จากแผ่นเสียงครั่งสู่แผ่นไวนิล...ชวนดูนิทรรศการ “แผ่นเสียงในสยาม” จากแผ่นเสียงครั่งสู่แผ่นไวนิล...ชวนดูนิทรรศการ “แผ่นเสียงในสยาม” จากแผ่นเสียงครั่งสู่แผ่นไวนิล...ชวนดูนิทรรศการ “แผ่นเสียงในสยาม” จากแผ่นเสียงครั่งสู่แผ่นไวนิล...ชวนดูนิทรรศการ “แผ่นเสียงในสยาม” จากแผ่นเสียงครั่งสู่แผ่นไวนิล...ชวนดูนิทรรศการ “แผ่นเสียงในสยาม” จากแผ่นเสียงครั่งสู่แผ่นไวนิล...ชวนดูนิทรรศการ “แผ่นเสียงในสยาม”