5 ความฝันแบบไหนของ เซอร์ พอล สมิธ พลิกแบรนด์ Paul Smith สู่ตำนานแฟชั่นโลก

5 ความฝันแบบไหนของ เซอร์ พอล สมิธ พลิกแบรนด์ Paul Smith สู่ตำนานแฟชั่นโลก

เซอร์ พอล สมิธ แฟชั่นดีไซเนอร์ชื่อดังชาวอังกฤษเผย 5 ความฝันและการค้นหาแรงบันดาลใจที่เป็นจุดกำเนิดแบรนด์ Paul Smith และสร้างสรรค์จนกลายเป็นแบรนด์แฟชั่นอันดับโลก ในการบรรยายพิเศษที่กรุงเทพฯ

Paul Smith (พอล สมิธ) คือหนึ่งในชื่อแบรนด์ที่โด่งดังและเป็นที่รักมากที่สุดชื่อหนึ่งในวงการแฟชั่นโลก ก่อตั้งโดย มร.พอล สมิธ (Paul Smith) นักออกแบบชาวอังกฤษผู้เป็นบุคคลสำคัญในวงการนี้มาตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 70

แบรนด์ Paul Smith สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศอังกฤษและอุตสาหกรรมแฟชั่นอังกฤษเป็นอย่างมาก มร.พอล สมิธ ในฐานะดีไซเนอร์จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็น Royal Designer for Industry ในปี 1991

ต่อมาในปี 1994 ก็ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันวิเศษยิ่งแห่งจักรวรรดิบริติช (CBE) และได้รับบรรดาศักดิ์ เซอร์ (Sir) จากการให้บริการด้านแฟชั่นของอังกฤษ โดยเป็นนักออกแบบแฟชั่นคนแรกที่ได้รับเกียรตินี้จากราชวงศ์อังกฤษ

5 ความฝันแบบไหนของ เซอร์ พอล สมิธ พลิกแบรนด์ Paul Smith สู่ตำนานแฟชั่นโลก เซอร์ พอล สมิธ (Sir Paul Smith)

ในโอกาสเดินทางมาร่วมเปิดแฟล็กชิปสโตร์แบรนด์ Paul Smith สาขาเซ็นทรัล เอ็มบาสซี่ ในกรุงเทพฯ เซอร์ พอล สมิธ ยังได้ใช้เวลาไปบรรยายพิเศษให้กับคณาจารย์และนิสิตซึ่งศึกษาเกี่ยวกับแฟชั่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (FASH SWU) เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2567 เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและนำไปปรับใช้ในการทำงานในอนาคต ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มาบรรยายให้กับนิสิตแฟชั่นที่ประเทศไทย

หัวข้อที่เซอร์พอลบรรยายคือ ความคิดสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจ ซึ่งทำให้ผู้ฟังได้รับทราบความฝันและข้อมูลเชิงลึกในเส้นทางการออกแบบ อาชีพ วิธีค้นหาแรงบันดาลใจของเซอร์พอล สมิธ ดังนี้

 

1. “ความฝันของฉันไม่ใช่แฟชั่น แต่เป็นกีฬา” 

5 ความฝันแบบไหนของ เซอร์ พอล สมิธ พลิกแบรนด์ Paul Smith สู่ตำนานแฟชั่นโลก

เซอร์ พอล สมิธ ขณะบรรยายพิเศษ

เซอร์ พอล สมิธ เปิดการบรรยายด้วยการเล่าถึงจุดเริ่มต้นอาชีพนักออกแบบว่า ตั้งแต่อายุ 12 ปี มีความฝันว่าอยากเป็นนักกีฬา นักปั่นจักรยานแข่ง แต่น่าเสียดายที่ความฝันไม่อาจเป็นจริง เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุใหญ่เมื่ออายุ  18 ปี ทำให้ เซอร์ พอล ต้องมาทบทวน 

ประกอบกับช่วงเวลานั้นได้เห็นคนหนุ่มสาวจำนวนมากถ่ายภาพสถาปัตยกรรม แฟชั่น การออกแบบ ศิลปะ จึงเกิดความสงสัยว่าจะสามารถมีอาชีพที่น่าสนใจและสามารถสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้หรือไม่ 

จากนั้น เซอร์ พอล มีโอกาสช่วยเพื่อนคนหนึ่งซึ่งกำลังจะเปิดร้านเล็กๆ หลังจากนั้นไม่กี่ปีเขาได้พบกับแฟนสาว พอลลีน เดนเยอร์ (Pauline Denyer ภรรยา เซอร์ พอล สมิธ) ซึ่งเรียนอยู่ที่ Royal College of Arts ในลอนดอน 

เซอร์ พอล ได้เรียนรู้เรื่องการตัดแพทเทิร์น วิธีทำชุดสูท เสื้อเชิ้ต ชุดเดรส จากแฟนสาว นำไปสู่เส้นทางสายแฟชั่นและการก่อตั้งและสร้างสรรค์แบรนด์ Paul Smith ขึ้นเมื่อปี 1970

 

2. “คิดนอกกรอบ และเรียนรู้จากการลงมือทำ”

5 ความฝันแบบไหนของ เซอร์ พอล สมิธ พลิกแบรนด์ Paul Smith สู่ตำนานแฟชั่นโลก เซอร์ พอล สมิธ กับการบรรยายพิเศษ "ความคิดสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจ"

เซอร์ พอล สมิธ ในวัย 21 ปี ได้เปิดร้านเล็กๆ ที่ไม่มีแม้หน้าต่างและเปิดเพียงสองวันต่อสัปดาห์เท่านั้น เนื่องจาก เซอร์ พอล ได้ฟังบรรยายของ ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน (Dr. Edward de Bono) ผู้ริเริ่มแนวความคิด การคิดนอกกรอบ ซึ่งหมายถึงการที่คุณมองไปทางซ้ายหรือขวาของสิ่งที่เราเห็นได้ชัดเจน ดั่งคำพูดที่ว่า

“the job changes you, you never change the job” 

ถ้าแค่พยายามมีร้านของตัวเอง และหาเลี้ยงชีพจากร้านเล็กๆ มันจะไม่สามารถหาเลี้ยงชีพได้จริงๆ เซอร์ พอล จึงตัดสินใจเปิดร้านเฉพาะวันศุกร์และวันเสาร์ 

ส่วนวันจันทร์ ถึงพฤหัสบดี คือวันอิสระที่จะทำอะไรก็ได้ ซึ่งเซอร์ พอล ได้ให้คำแนะนำแก่ดีไซเนอร์รุ่นใหม่ว่า 

“ความฝันของคุณอยู่ที่นี่ ดังนั้นจงเก็บความฝันไว้ที่นี่ แต่เพื่อที่จะหารายได้และหาประสบการณ์ พยายามสร้างสมดุลระหว่างสิ่งที่คุณฝันกับสิ่งที่คุณต้องทำ เพื่อให้ได้ประสบการณ์ มันสำคัญมากในด้านแฟชั่น

ไม่ใช่แค่การวาดภาพที่สวยงามเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการหาความรู้ในเรื่องต่างๆ มากมาย การทำความเข้าใจธุรกิจ โลจิสติกส์ การเรียนรู้เรื่องการสื่อสารโซเชียลสำคัญมาก ซึ่งต้องมาควบคู่กับการดีไซน์ บุคลิกภาพที่แตกต่างที่มาพร้อมกับคุณภาพ”

 

3. สร้างพื้นที่ให้แหกกฎเกณฑ์ ควบคู่กับการหาประสบการณ์

5 ความฝันแบบไหนของ เซอร์ พอล สมิธ พลิกแบรนด์ Paul Smith สู่ตำนานแฟชั่นโลก การหาแรงบันดาลใจจากสิ่งรอบตัว

5 ความฝันแบบไหนของ เซอร์ พอล สมิธ พลิกแบรนด์ Paul Smith สู่ตำนานแฟชั่นโลก เฉดสีที่เกิดจากการนำแรงบันดาลใจจากสิ่งรอบตัวมารังสรรค์

การออกแบบที่แตกต่าง เริ่มได้จากการคิดนอกกรอบ การมองหาแรงบันดาลใจที่อยู่รอบตัวเรา และเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ สิ่งเหล่านี้จะทำให้พบกับแนวคิดใหม่ๆ การออกแบบ จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ และความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งสำคัญที่สุด

เซอร์ พอล ยังแนะนำว่า การหาประสบการณ์เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับลูกค้า หาประสบการณ์เพื่อเรียนรู้การทำงานร่วมกับนักออกแบบคนอื่นๆ ก่อนที่จะเปิดธุรกิจของตัวเอง เพราะโลกแห่งการแข่งขันนั้นยิ่งใหญ่ รวมถึงไม่ทำอะไรที่แบรนด์อื่นทำไปแล้ว 

5 ความฝันแบบไหนของ เซอร์ พอล สมิธ พลิกแบรนด์ Paul Smith สู่ตำนานแฟชั่นโลก เฉดสีที่เกิดจากแรงบันดาลใจใกล้ตัวและคิดให้แตกต่าง

การที่จะประสบความสำเร็จนั้นต้องพยายาม คิดให้แตกต่าง และแรงบันดาลใจมีอยู่ทุกที่ เช่น การเห็นปากกาหมึกซึมแบบวินเทจที่มันดูเก่ามาก หากนำมาเขียน แต่หากนำสีของปลอกปากกามาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบลวดลายเฉดสี

แจกันสีน้ำเงินใบเก่าวางอยู่บนสนามหญ้าสีเขียว สู่การออกแบบลายทางระหว่างสีน้ำเงินและสีเขียว 

“คุณสามารถมองสิ่งต่างๆ รอบตัวคุณได้ตลอดเวลา หนังสือพิมพ์ วอลเปเปอร์ สีสันของผนังล้วนเป็นแรงบันดาลใจให้กับคุณได้ 

ดังนั้นอย่าหมกมุ่นอยู่กับการมองว่าคนอื่นกำลังทำอะไรอยู่ มีสีอะไรบ้าง แต่จงมองสิ่งที่อยู่รอบๆ อย่างชัดเจน รวมไปถึง ศิลปะ ดนตรี สถาปัตยกรรม การเดินทาง อารมณ์ขัน หรือแม้แต่การเปิดนิตยสารก็สามารถสร้างแรงบันดาลใจได้”

 

4. สร้างแรงดึงดูดด้วยความแตกต่าง

5 ความฝันแบบไหนของ เซอร์ พอล สมิธ พลิกแบรนด์ Paul Smith สู่ตำนานแฟชั่นโลก Paul Smith Store ที่ลอสแอนเจลิส

ในการบรรยายครั้งนี้ เซอร์ พอล สมิธ เน้นย้ำถึงการคิดนอกกรอบที่สร้างความแตกต่าง เพราะความแตกต่างนี่เองที่จะสร้างแรงดึงดูดให้ผู้คนหันมาสนใจแบรนด์ ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดในโลกแห่งธุรกิจ 

เช่นเดียวกับการออกแบบ Flagship store (แฟล็กชิพสโตร์) ของแบรนด์ Paul Smith ที่ให้ความสำคัญกับการดีไซน์ อย่าง Paul Smith Store ที่ลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา เมืองขนาดใหญ่และผู้คนส่วนใหญ่เดินทางด้วยรถ ทางเท้าแทบจะไม่มีคนเดิน 

จากเมืองที่แสนราบเรียบ เซอร์ พอล เกิดแนวคิดที่อยากเติมสีสันสดใสที่โดดเด่นจริงๆ ในเมือง เลยออกแบบร้านให้เป็น สีชมพูสดใส

“ร้าน Paul Smith ในลอสแอนเจลิส มีผู้คนเช็คอิน ถ่ายรูปและโพสต์ลงโซเซียลอย่างล้นหลาม ภาพกำแพงสีชมพูตัดกับท้องฟ้าสีครามของเมืองลอสแอนเจลิส ตอนนี้เป็นอาคารที่มี Instagram มากที่สุดในแคลิฟอร์เนียและฮอลลีวูดทั้งหมด มากกว่าอาคารอื่นๆ”

 

5. การคอลแลปส์ สร้างการดึงดูดไปยังกลุ่มที่กว้างขึ้น

5 ความฝันแบบไหนของ เซอร์ พอล สมิธ พลิกแบรนด์ Paul Smith สู่ตำนานแฟชั่นโลก Paul Smith คอลแลปส์ Anglepoise

การคอลแลปส์ระหว่างแบรนด์เป็นกลยุทธ์การตลาดเพื่อขยายฐานกลุ่มลูกค้า เช่นเดียวกับ แบรนด์ Paul Smith ที่มักสร้างปรากฏการณ์ความแปลกใหม่ด้วยการคอลแลปส์กับแบรนด์ที่ดำเนินธุรกิจต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น Paul Smith + Anglepoise ผู้ผลิตโคมไฟชื่อดัง ซึ่งเซอร์ พอล กล่าวว่า 

“การทำงานร่วมกันกับแบรนด์อื่นๆ แน่นอนว่าเป็นอีกทางที่สร้างรายได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้แบรนด์ Paul Smith ไปปรากฏบนนิตยสารตกแต่งภายใน หรือในนิตยสารเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งแน่นอนว่าแฟชั่นของคุณจะอยู่ในนิตยสารแฟชั่นเท่านั้น จึงเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์อีกทางหนึ่ง”

5 ความฝันแบบไหนของ เซอร์ พอล สมิธ พลิกแบรนด์ Paul Smith สู่ตำนานแฟชั่นโลก Sir Paul Smith ร่วมถ่ายภาพกับผู้เข้าฟังการบรรยายพิเศษ

5 ความฝันแบบไหนของ เซอร์ พอล สมิธ พลิกแบรนด์ Paul Smith สู่ตำนานแฟชั่นโลก สธน ตันตราภรณ์, ผศ.ดร.นัดดาวดี บุญญะเดโช, จิตรฤดี พนิตพล, เซอร์ พอล สมิธ, ภทรฤน พงษ์ประสิทธิ์, ผศ.ดร.รวิเทพ มุสิกะปาน, วรดา วงษ์ขันธ์

การบรรยายพิเศษของ Sir Paul Smith ครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก จิตรฤดี พนิตพล รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มสินค้าแฟชั่นและนาฬิกา บริษัท เซ็นทรัล มาร์เก็ตติ้ง กรุ๊ป จำกัด, วรดา วงษ์ขันธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กลุ่มสินค้าแฟชั่น บริษัท เซ็นทรัล มาร์เก็ตติ้ง กรุ๊ป จำกัด, ผศ.ดร.นัดดาวดี บุญญะเดโช, ผศ.ดร.รวิเทพ มุสิกะปาน ให้การต้อนรับ

พร้อมด้วย สธน ตันตราภรณ์, ภทรฤน พงษ์ประสิทธิ์, พิมพ์ดาว สุขะหุต, มทินา สุขะหุต มาร่วมฟังการบรรยายพิเศษ ณ หอประชุมใหญ่ ชั้น 4 ศูนย์ศิลปกรรมแห่งประเทศไทย อาคารนวัตกรรม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ร่วมค้นหาตัวตนอันมีชีวิตชีวาไปกับ Paul Smith แบรนด์แฟชั่นสัญชาติอังกฤษ ซึ่งนำเข้าและจัดจำหน่ายในประเทศไทย โดยเซ็นทรัล มาร์เก็ตติ้ง กรุ๊ป (CMG) ได้ที่ Paul Smith Flagship Store ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี พร้อมทั้งเคาน์เตอร์อีก 3 สาขา ณ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลชิดลม, เซ็นทรัลลาดพร้าว และเซ็นทรัลภูเก็ต ฟลอเรสต้า