พระบรมสารีริกธาตุ – พระอรหันตธาตุ ประดิษฐานในพระเจดีย์ปรุงโดย ช่างสิบหมู่

พระบรมสารีริกธาตุ – พระอรหันตธาตุ ประดิษฐานในพระเจดีย์ปรุงโดย ช่างสิบหมู่

พระบรมสารีริกธาตุ – พระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะอัญเชิญจากประเทศอินเดีย เสด็จประดิษฐานใน ‘พระเจดีย์ทรงกลม’ ฝีมือช่างศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

KEY

POINTS

  • พระบรมสารีริกธาตุ และ พระอรหันตธาตุ ของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ได้รับการอัญเชิญออกนอกประเทศอินเดียเป็นครั้งแรก เพื่อ เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และให้ศาสนิกชนในไทยกราบสักการะเป็นบุญใหญ่
  • การอัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุ และ พระอรหันตธาตุ ของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ สมบัติล้ำค่าและสูงค่าทางจิตใจซึ่งอัญเชิญมาจากประเทศอินเดีย ได้รับการประดิษฐานใน พระเจดีย์ทรงกลม จำนวน 3 องค์ ฝีมือช่างศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ ของไทย
  • การจัดสร้าง พระเจดีย์ทรงกลม ทั้ง 3 องค์ จัดสร้างด้วยงาน หัตถศิลป์ ประกอบกันของ กลุ่มงานช่างแกะสลักและช่างไม้ประณีต, กลุ่มงานช่างปิดทอง ประดับกระจกและช่างสนะไทย, และ กลุ่มงานช่างบุและช่างศิราภรณ์
  • วัน – เวลา และ 4 สถานที่ สักการะพระบรมสารีริกธาตุ และ พระอรหันตธาตุของ 2 อัครสาวกซึ่งอัญเชิญมาจากอินเดียให้ศาสนิกชนในไทยกราบสักการะ ก่อนอัญเชิญคืนสู่สาธารณรัฐอินเดีย 19 มี.ค.2567

พระบรมสารีริกธาตุ – พระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะอัญเชิญจากประเทศอินเดีย เสด็จประดิษฐานใน ‘พระเจดีย์ทรงกลม’ ฝีมือช่างศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย การอัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุ และ พระอรหันตธาตุ ของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ ประเทศไทย 

เพื่อ เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และเปิดให้ศาสนิกชนทั่วโลกได้กราบสักการะเป็นบุญใหญ่เสริมสิริมงคล

การอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และ พระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะจากประเทศอินเดีย มาให้ชาวไทยได้บูชาสักการะ เกิดจากการลงนามความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลไทย รัฐบาลอินเดีย สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย ๙๘๐ และหน่วยงานต่างๆ

พระบรมสารีริกธาตุ – พระอรหันตธาตุ ประดิษฐานในพระเจดีย์ปรุงโดย ช่างสิบหมู่ พระบรมสารีริกธาตุ – พระอรหันตธาตุ อัญเชิญจากอินเดีย (ภาพ : ศุกร์ภมร เฮงประภากร)
 

การนี้ สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดสร้าง พระเจดีย์ทรงกลม เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และประดิษฐานพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ซึ่งได้รับการอัญเชิญมาจากประเทศอินเดียครั้งนี้

โดยมีนายณัฐพงค์  ปิยมาภรณ์ นักวิชาการช่างศิลป์เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านช่างศิลปกรรม (ช่างสิบหมู่))  สังกัด สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบ พระเจดีย์ทรงกลม ขนาดความสูง 50 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางฐาน 25.6 เซนติเมตร จำนวน 1 องค์ สำหรับประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ

รวมทั้งออกแบบ พระเจดีย์ทรงกลม ขนาดความสูง 38 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางฐาน 15.50 เซนติเมตร อีก 2 องค์ เพื่อประดิษฐาน พระอรหันตธาตุ ของ 'พระสารีบุตร' และ 'พระโมคคัลลานะ' สองพระอัครสาวก

พระบรมสารีริกธาตุ – พระอรหันตธาตุ ประดิษฐานในพระเจดีย์ปรุงโดย ช่างสิบหมู่

แบบพระเจดีย์ทรงกลม ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุอัญเชิญจากอินเดีย

พระเจดีย์ทรงกลม ทั้ง 3 องค์ รับผิดชอบดำเนินการจัดสร้างโดย กลุ่มประณีตศิลป์ สำนักช่างสิบหมู่ เป็นความร่วมมือกันในกลุ่มงานต่าง ๆ จัดสร้างงานด้วยเทคนิคอันหลากหลาย ประกอบด้วย  

กลุ่มงานช่างแกะสลักและช่างไม้ประณีต : ดำเนินการขึ้นหุ่นส่วนยอดและส่วนฐานด้วยกระบวนการกลึงไม้ ไม้ที่ใช้สร้างพระเจดีย์เป็น 'ไม้สัก' แกะสลักลวดลายในส่วนยอดและส่วนฐานของพระเจดีย์ทั้ง 3 องค์  

กลุ่มงานช่างปิดทอง ประดับกระจกและช่างสนะไทย : ดำเนินการปิดทองคำเปลวส่วนยอดและส่วนฐาน  

กลุ่มงานช่างบุและช่างศิราภรณ์ : ดำเนินการกระแหนะลายติดประดับส่วนยอดและส่วนฐาน ฉลุแผ่นโลหะเติมปลายของส่วนยอดพระเจดีย์ บุดุนโลหะทำเฟื่องอุบะและระย้าประดับส่วนปลายห้อยลงมาที่องค์พระเจดีย์ ติดประกอบลวดลายบนกระจกที่องค์พระเจดีย์ ประดับพลอยเป็นไส้ลายทั้งส่วนยอดและส่วนฐาน

พระบรมสารีริกธาตุ และ พระอรหันตธาตุ 2 อัครสาวก จากอินเดีย

พระบรมสารีริกธาตุ – พระอรหันตธาตุ ประดิษฐานในพระเจดีย์ปรุงโดย ช่างสิบหมู่ พระบรมสารีริกธาตุ อัญเชิญจากอินเดีย

พระบรมสารีริกธาตุ และ พระอรหันตธาตุ ของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ซึ่งอัญเชิญมาจากอินเดียครั้งนี้ ที่เป็นองค์ดั้งเดิมที่ค้นพบในสถูปโบราณ เมืองกบิลพัสดุ์ และเมืองสาญจี สาธารณรัฐอินเดีย

โดยมีหลักฐานสำคัญที่ทำให้ทราบว่าเป็น พระบรมสารีริกธาตุ คือ ผอบที่พบมีข้อความจารึกด้วยอักษรพราหมี (Brahmi) แปลได้ว่า “ที่บรรจุพระสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้านี้ เป็นของสากยราชสุกิติกับพระภาตา พร้อมทั้งพระภิคินี พระโอรสและพระชายา สร้างขึ้นอุทิศถวาย” 

พระบรมสารีริกธาตุองค์นี้นับเป็นองค์ดั้งเดิมที่ค้นพบที่สถูปโบราณ ปิปราวาห์ เมืองกบิลพัสดุ์ ในสมัยพุทธกาล ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นิวเดลี 

พระบรมสารีริกธาตุ – พระอรหันตธาตุ ประดิษฐานในพระเจดีย์ปรุงโดย ช่างสิบหมู่ พระอรหันตธาตุ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ

ส่วน พระอรหันตธาตุ ของ 'พระสารีบุตร' และ 'พระโมคคัลลานะ' อัญเชิญมาจากเมืองสาญจี รัฐมัธยประเทศ ประเทศสาธารณรัฐอินเดีย ซึ่งห่างจากนิวเดลี 731 กิโลเมตร

ทั้งนี้ หัวหน้าคณะผู้แทนของอินเดียอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เดินทางจากสาธารณรัฐอินเดียถึงสนามบินทหาร ดอนเมือง กองบิน 6 กรุงเทพฯ ประเทศไทย เมื่อวันพฤหัสฯ ที่ 22 ก.พ.2567

จากนั้นเวลา 13.00 น. พระพรหมกวี กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตร ประธานฝ่ายสงฆ์, นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ประธานฝ่ายฆราวาส ประกอบพิธี อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และ พระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ สู่พระที่นั่งอิศราวินิจฉัยภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ก่อนอัญเชิญออกประดิษฐาน ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ในวันที่ 23 ก.พ.2567

 

4 สถานที่สักการะพระบรมสารีริกธาตุ และ พระอรหันตธาตุ จากอินเดีย ในประเทศไทย

พระบรมสารีริกธาตุ – พระอรหันตธาตุ ประดิษฐานในพระเจดีย์ปรุงโดย ช่างสิบหมู่ มหามณฑปประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

กรุงเทพฯ : มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ระหว่างวันที่ 24 ก.พ.-3 มี.ค.2567 เวลา 08.00-21.00 น. (ขยายเวลาจากเดิม 09.00-20.00 น.)

ภาคเหนือ : หอคำหลวง อุทยานหลวงราชราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 5-8 มี.ค.2567 เวลา 09.00-20.00 น.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : วัดมหาวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 10-13 มี.ค.2567 เวลา 09.00-20.00 น.

ภาคใต้ : วัดมหาธาตุวชิรมงคล จังหวัดกระบี่ ระหว่างวันที่ 15-18 มี.ค.2567 เวลา 09.00-20.00 น.

โดยในทุกวันตั้งแต่เวลา 17.00 น.เป็นต้นไป มีการจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์เสริมสิริมงคลให้กับศาสนิกชนที่เข้ากราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุ และ พระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ โดยแต่ละพื้นที่จะมีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ตามอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่อย่างยิ่งใหญ่

หลังจากนั้น วันที่ 19 มีนาคม 2567 จะจัดพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ ส่งมอบคืน ให้แก่สาธารณรัฐอินเดีย

 

ขั้นตอนการจัดสร้างพระเจดีย์ทรงกลม ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ - พระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ  อัญเชิญจากอินเดีย

พระบรมสารีริกธาตุ – พระอรหันตธาตุ ประดิษฐานในพระเจดีย์ปรุงโดย ช่างสิบหมู่

แบบพระเจดีย์ทรงกลม ประดิษฐานพระอรหันตธาตุอัญเชิญจากอินเดีย

พระบรมสารีริกธาตุ – พระอรหันตธาตุ ประดิษฐานในพระเจดีย์ปรุงโดย ช่างสิบหมู่ ฐานไม้สักพระเจดีย์ทรงกลม ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อัญเชิญจากอินเดีย

พระเจดีย์ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ – พระอรหันตธาตุ ปรุงโดย ช่างสิบหมู่ แกะสลักลวดลายในส่วนฐานพระเจดีย์

พระเจดีย์ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ – พระอรหันตธาตุ ปรุงโดย ช่างสิบหมู่ ปิดทองคำเปลวส่วนฐาน

พระเจดีย์ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ – พระอรหันตธาตุ ปรุงโดย ช่างสิบหมู่ ประดับศิราภรณ์

พระเจดีย์ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ – พระอรหันตธาตุ ปรุงโดย ช่างสิบหมู่ กลึงไม้ส่วนยอดพระเจดีย์ทรงกลม

พระเจดีย์ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ – พระอรหันตธาตุ ปรุงโดย ช่างสิบหมู่

ฉลุโลหะประดับส่วนยอดพระเจดีย์ทรงกลม

พระเจดีย์ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ – พระอรหันตธาตุ ปรุงโดย ช่างสิบหมู่ กลุ่มงานช่างบุและช่างศิราภรณ์ 

พระเจดีย์ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ – พระอรหันตธาตุ ปรุงโดย ช่างสิบหมู่ ฉลุแผ่นโลหะดาวเพดาน

พระเจดีย์ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ – พระอรหันตธาตุ ปรุงโดย ช่างสิบหมู่ ดาวเพดานภายในครอบแก้วของพระเจดีย์ทรงกลม

พระเจดีย์ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ – พระอรหันตธาตุ ปรุงโดย ช่างสิบหมู่ พระเจดีย์ทรงกลม ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุอัญเชิญจากอินเดีย

พระเจดีย์ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ – พระอรหันตธาตุ ปรุงโดย ช่างสิบหมู่ พระอรหันตธาตุอัญเชิญจากอินเดียในเจดีย์ทรงกลม
 

ขอขอบคุณข้อมูล/ภาพจาก

  • นายณัฐพงค์ ปิยมาภรณ์  ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านช่างศิลปกรรม (ช่างสิบหมู่), นางอัจฉริยา บุญสุข  ผู้อำนวยการกลุ่มประณีตศิลป์, นายสาโรจน์ แสงสี  หัวหน้ากลุ่มงานช่างแกะสลักและช่างไม้ประณีต และนางปาริด์ชาติ พัฒน์ทอง  หัวหน้ากลุ่มงานช่างปิดทอง ประดับกระจกและช่างสนะไทย
  • กรมการศาสนา
  • สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
  • กรมศิลปากร