ทำไม'เจ้าชายน้อย' วรรณกรรมเล่มสุดท้าย ‘แซ็งเต็กซูเปรี’ ถูกใจคนทั้งโลก

ทำไม'เจ้าชายน้อย' วรรณกรรมเล่มสุดท้าย ‘แซ็งเต็กซูเปรี’ ถูกใจคนทั้งโลก

เคยอ่าน'เจ้าชายน้อย'ไหม... ทำไมวรรณกรรมเรื่องนี้ถูกใจคนทั้งโลก เด็กอ่านก็จินตนาการไปได้ไกล ผู้ใหญ่อ่านก็ได้ขบคิดเรื่องชีวิต

ไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคกี่สมัย เจ้าชายน้อย วรรณกรรมฝรั่งเศสของ อ็องตวน เดอ แซ็งเต็กซูเปรี ก็ยังเป็นเรื่องที่คนทั้งโลกหลงรัก เรื่องราวชีวิต จินตนาการ แฝงด้วยปรัชญา เด็กอ่านก็สนุกแบบเด็ก ผู้ใหญ่อ่านแต่ละช่วงวัยก็ได้แง่คิดไม่เหมือนกัน

เหตุใดเจ้าชายน้อยของ“แซ็งเต็กซูเปรี” จึงมีเสน่ห์ขนาดนี้ ผู้ประพันธ์ผ่านประสบการณ์อะไรมาบ้าง จึงเขียนเรื่องนี้เหมือนนั่งอยู่ในใจคนทั้งโลก

จึงเป็นที่มาการเสวนา "แม่-ภารกิจกลางเวหา หมาจิ้งจอก ของแซ็งเต็กซูเปรี ในวาระครบรอบ 80 ปีเจ้าชายน้อย ณ ร้านคิโนะคูนิยะ เซ็นทรัลเวิลด์  

 

ทำไม\'เจ้าชายน้อย\' วรรณกรรมเล่มสุดท้าย ‘แซ็งเต็กซูเปรี’ ถูกใจคนทั้งโลก สุพจน์ โล่ห์คุณสมบัติ นักสะสมหนังสือเจ้าชายน้อย ,วัลยา วิวัฒน์ศร ผู้แปลเรื่องจดหมายถึงแม่และนักบินรบ และทิพยไลย์ ทวีพาณิชย์ (แพรณัฐ) ผู้แปลเจ้าชายน้อย ที่ร้านคิโนะคูนิยะ เซ็นทรัลเวิลด์

ถ้าอยากเข้าใจมุมคิดของผู้ประพันธ์"เจ้าชายน้อย"มีคำแนะนำว่า ควรกลับไปอ่าน จดหมายถึงแม่ และนักบินรบ ของแซ็งเต็กซูเปรี(แปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร) ที่เขียนทั้งสองเรื่องไว้ก่อนเจ้าชายน้อย

เพื่อฉลองครบรอบ 80 ปีเจ้าชายน้อย "อ่าน101 สำนักพิมพ์" ทำฉบับพิเศษสำหรับนักสะสม แปลจากภาษาฝรั่งเศส โดยแพรณัฐ /บรรณาธิการต้นฉบับโดยวัลยา วิวัฒน์ศร  

กว่าจะเข้าใจแซ็งเต็กซูเปรี

แซ็งเต็กซูเปรี เป็นทั้งนักบินและนักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส มีผลงานนวนิยายหลายเล่ม อาทิ ไปรษณีย์ใต้ (ปีค.ศ. 1929),เที่ยวบินกลางคืน (ปีค.ศ.1931 ),แผ่นดินของเรา (ปีค.ศ.1939 ),นักบินรบ (ปีค.ศ. 1942)  และเจ้าชายน้อย (ปีค.ศ.1943 ) เล่มสุดท้าย

เขาจากไปเมื่อปีค.ศ.1944 ตอนที่ได้รับมอบหมายให้ขับเครื่องบินขึ้นไปถ่ายภาพ เพื่อทำแผนที่แถบหุบเขาแม่น้ำโรน-เมืองอานซี ภูมิภาคโปรว็องซ์ ให้ฝรั่งเศส จากนั้นบินหายไปไม่กลับมาอีกเลย

ตอนที่วัลยา  วิวัฒน์ศร แปลเรื่องจดหมายถึงแม่ และนักบินรบ (จากภาษาฝรั่งเศส) เธอบอกว่า คนรุ่นเราไม่ว่าชาติไหน ไม่มีใครอยากร่วมรบในสงคราม นอกจากจำเป็นถูกทิ้งระเบิด เพราะฉะนั้นความนิยมในแซ็งเต็กซูเปรี ไม่ใช่แค่เขียนภาษาไพเราะงดงาม แต่เขายอมสละชีพเพื่อชาติด้วย

ทำไม\'เจ้าชายน้อย\' วรรณกรรมเล่มสุดท้าย ‘แซ็งเต็กซูเปรี’ ถูกใจคนทั้งโลก

เจ้าชายน้อยในตัวแซ็งเต็กซูเปรี

หากใครได้อ่าน"จดหมายถึงแม่" ที่เขาเขียนตั้งแต่วัยเด็ก ก็จะเข้าใจวิธีการประพันธ์ของเขา และเข้าใจเจ้าชายน้อยมากขึ้น

"จดหมายของแม่ มีศัพท์แสลงของนักเรียนที่บันทึกไว้ ไม่ว่าคำว่า ตัวตุ่น กระบอกสูบ การเรียนการสอนสมัยนี้ไม่เหมือนสมัยแซ็งเต็กซูเปรี คนแปลจึงต้องถามผู้รู้"

กว่าจะเข้าใจเทคนิคการเขียนของแซ็งเต็กซูเปรี  อาจารย์วัลยาใช้เวลาอ่านหลายครั้ง และอ่านเรื่องอื่นๆ ที่นักประพันธ์คนนี้เขียน เพื่อทำความเข้าใจบริบทสังคมและวัฒนธรรมตอนนั้น 

ทำไม\'เจ้าชายน้อย\' วรรณกรรมเล่มสุดท้าย ‘แซ็งเต็กซูเปรี’ ถูกใจคนทั้งโลก เจ้าชายน้อยภาษาถิ่น

"เขามีโวหารเปรียบเทียบเยอะมาก ภาษาสละสลวย ซึ่งเป็นความสามารถนักประพันธ์ จดหมายถึงแม่ที่เขาเขียนตั้งแต่อายุ 10 ขวบ มีคำที่เขาสะกดผิด เวลาแปลเราคงไว้ แต่บอกไว้ในหนังสือ

แม่ของเขาเป็นคนคัดเลือกเพื่อตีพิมพ์ 100 กว่าฉบับ จดหมายทั้งหมดมี 190 ฉบับอยู่ที่หอจดหมายเหตุที่ฝรั่งเศส และไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครจะขอเข้าไปอ่าน"

ส่วน"นักบินรบ" แม้ผู้ประพันธ์จะมีสำนวนและลีลาการเขียนไม่เหมือนใคร ก็ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับผู้แปล แต่อาจารย์วัลยาก็ต้องทำความเข้าใจเรื่องเครื่องบินรบที่แซ็งเต็กซูเปรีขับในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เครื่องบินฝรั่งเศสยุคนั้นไม่ได้มีสมรรถภาพเหมือนเยอรมัน และชุดเครื่องแบบนักบินหนัก 30 กิโลกรัม เป็นชุดหมีเพื่อป้องกันความหนาว

"เราไปถามครูสอนการบิน เพื่อทำความเข้าใจกับเครื่องบินสมัยสงครามโลก หนึ่งปีเต็มสำหรับเตรียมข้อมูล การขับเครื่องบินที่ต้องใช้เข็มทิศไม่ใช่เรื่องง่าย”

หากมองย้อนชีวประวัติแซ็งเต็กซูเปรีที่กำพร้าพ่อ และแม่ของเขาต้องตัดที่ดินขายเพื่อเลี้ยงลูก เขาจึงรักแม่มาก และนี่คือที่มา "จดหมายถึงแม่" 

 "ตอนแซ็งเต็กซูเปรีเรียนหนังสือ วิชาไหนที่เขาไม่ชอบ เขาจะไม่เรียน เขาเรียนในโรงเรียนคาทอลิก พระจะไม่ค่อยสอนวิชาคำนวณ เขาต้องมาเรียนวิชาคำนวณเพิ่มวันละ 10 ชั่วโมง เพื่อสอบเป็นนักบิน แม่จึงต้องส่งค่าเรียนพิเศษมาให้" อาจารย์วัลยา เล่า

ส่วนเรื่องความรักก็ดูเศร้าๆ ผู้หญิงคนแรกที่แซ็งเต็กซูเปรีรักเป็นกวีและจิตรกร รวมถึงเป็นลูกขุนนางที่ร่ำรวย เป็นผู้หญิงสวย จึงมีคนจีบเยอะ 

ทำไม\'เจ้าชายน้อย\' วรรณกรรมเล่มสุดท้าย ‘แซ็งเต็กซูเปรี’ ถูกใจคนทั้งโลก วัลยา วิวัฒน์ศร ผู้แปลนักบินรบ และจดหมายถึงแม่ จากภาษาฝรั่งเศส ผลงานแซ็งเต็กซูเปรี ผู้ประพันธ์เจ้าชายน้อยเล่มสุดท้าย 

"ตอนที่แซ็งเต็กซูเปรีไม่มีเงินซื้อของขวัญแพงๆ ให้คนรัก เขาเขียนกลอนให้เธอ และเธอก็รับรัก แต่พอแซ็งเต็งซูเปรีได้เป็นนักบิน เขาขับเครื่องบินตกได้รับบาดเจ็บ ทางครอบครัวฝ่ายหญิงให้เขาเลิกเป็นนักบิน ทั้งๆ ที่เป็นงานที่มั่นคง แม้แซ็งเต็งซูเปรีจะรักการบิน แต่ก็รักผู้หญิงคนนี้ ยอมทำงานที่ไม่ชอบ เมื่อรายได้ไม่เพียงพอ ผู้หญิงก็หนีไป ทำให้แซ็งเต็งซูเปรีเลิกแต่งกลอน"

เมื่อพูดถึงนวนิยาย "นักบินรบ" อาจารย์วัลยา เล่าต่อว่า ชีวิตแซ็งเต็กซูเปรีมีความผูกพันกับเพื่อนร่วมงานและหน่วยงานที่ทำงานมาก เขารู้ซึ้งว่า เขาเป็นส่วนหนึ่งกองบินของประเทศชาติ การบินทำให้ชีวิตของเขามีคุณค่าและมีความหมายในการทำเพื่อคนอื่น

"ตอนที่เครื่องบินขับไล่เยอรมันไล่ตามเครื่องบินแซ็งเต็กซูเปรี ทำไมเขาบินเข้าไปซ่อนในแสงอาทิตย์ หากเครื่องบินขับไล่ไต่ระดับขึ้นไปยิง ก็ต้องใช้เวลา เพราะแสงจ้า มองไม่เห็น เขาจึงรอดกลับมาได้

ตอนที่เขาบินกลับฐานที่ตั้ง เครื่องบินถูกยิงรูพรุน แต่โชคดีที่คนผลิตเครื่องบินมีแผ่นยางขนาดหนาห่อหุ้มเครื่องยนต์ ทำให้เครื่องบินไม่ระเบิด 

คร้้งสุดท้ายที่แซ็งเต็กซูเปรีบินหายไปและไม่กลับมาอีกเลย กว่าจดหมายจะมาถึงมือแม่ของเขาก็หนึ่งปี และเรื่องเจ้าชายน้อยก็สอนเราว่า เราควรให้คุณค่ากับอะไรบ้าง ทำไมเขายอมสละชีวิตในการออกรบเพื่อฝรั่งเศส จึงเป็นที่ยกย่องเชิดชู”

เจ้าชายน้อยกับช่วงวัยที่อ่าน

"เธอรู้ไหม...ในยามแสนเศร้า คนเราชอบดูอาทิตย์อัสดง?”

“ฉันคิดว่าฉันร่ำรวยด้วยดอกไม้ที่มีเอกลักษณ์และปรากฎว่าฉันมีเพียงดอกกุหลาบธรรมดา”

“เดินเป็นเส้นตรง คุณไม่สามารถไปได้ไกลมาก” ฯลฯ

เหล่านี้เป็นวลีจากเจ้าชายน้อย ซึ่งเรื่องนี้ ทิพยวไลย์ ทวีพาณิชย์ ผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลปรางทิพย์ เจ้าของนามปากกา แพรณัฐ นักเขียนที่มีผลงานนวนิยายหลายเล่ม อาทิ สุภาพบุรุาจุฑาเทพ ตอนคุณชายรณพีร์ ,เล่ห์นางฟ้า ฯลฯ และผลงานแปลเรื่องแรกเจ้าชายน้อย
เธอบอกว่า อ่านเจ้าชายน้อยทุก 5 ปี เสมือนเป็นคัมภีร์ของชีวิต ทำให้ตั้งคำถามกับชีวิตว่า คนเราหลงลืมอะไรไปบ้างหรือเปล่า 

ทำไม\'เจ้าชายน้อย\' วรรณกรรมเล่มสุดท้าย ‘แซ็งเต็กซูเปรี’ ถูกใจคนทั้งโลก

"ลองนึกทบทวน เราทิ้งอะไรในวัยเด็กไปบ้าง มีคนแบบไหนที่เราไม่อยากเป็น จำได้ว่าตอนเป็นนักศึกษาอ่านเจ้าชายน้อยภาษาฝรั่งเศส ก็ไม่ได้เข้าใจเหมือนตอนโต 

เจ้าชายน้อยมีความเป็นเทพนิยาย ขณะเดียวกันมีความเป็นปรัชญา สมัยวัยรุ่นอ่านเจ้าชายน้อยจะเข้าใจแบบหนึ่ง พอโตขึ้นมีประสบการณ์มากขึ้นก็เข้าใจอีกแแบบ

พอมาอ่านเรื่อง"นักบินรบ" ในฐานะนักเขียนนวนิยาย เราชอบตั้งแต่วิธีเล่าเรื่อง เขาเขียนตอนที่ฝรั่งเศสแพ้สงคราม หนังสือเล่มนี้ทำให้คนอเมริกันที่อ่านเข้าใจว่า ทำไมฝรั่งเศสยอมแพ้ เพราะพวกเขาสู้สุดชีวิตแล้ว

เวลาเครื่องบินขับไล่บินขึ้นไปจะมีปัญหาเรื่องความหนาวเย็น แทบจะจับคันบังคับไม่ได้ อ่านแล้วจะเข้าใจเรื่องสงคราม "

ถ้าอ่าน"จดหมายถึงแม่"และ"นักบินรบ" ก็จะเข้าใจว่า ทำไมแซ็งเต็งซูเปรี เขียนเจ้าชายน้อยออกมาแบบนี้  แพรณัฐ บอกว่า เมื่อได้อ่าน"จดหมายถึงแม่" ทำให้เข้าใจเจ้าชายน้อยในวัยเด็ก ส่วนเรื่องนักบินเกี่ยวพันกันทั้งหมด 

"อ่านเพื่อตามหาว่าใครคือหมาจิ้งจอก ใครคือดอกกุหลาบเจ้าชายน้อย ทำไมเจ้าชายน้อยชอบดูพระอาทิตย์ตกดิน มีข้อคิดและคำคมเยอะมาก" 

แพรณัฐ ตั้งข้อสังเกตว่า หากเป็นงานเขียนทั่วไปผ่านมาสิบกว่าปี เรื่องจะแก่ลงเรื่อยๆ(ตกยุค) แต่งานเขียนแซ็งเต็กซูเปรี "เจ้าชายน้อย" ไม่ว่าจะผ่านมานานแค่ไหน เด็กหรือผู้ใหญ่ก็ยังอ่านได้ 

"วิธีการเล่าเรื่องของแซ็งเต็กซูเปรีไม่เหมือนนิยายทั่วไป ยกตัวอย่างเรื่อง"นักบินรบ" ตอนที่เขาบินกลับมาฐานที่ตั้ง รางวัลของเขาก็เดินเข้าไปกินขนมปังในห้องโถงร่วมกับนักบิน แค่นี้พอแล้ว

ถ้าได้อ่าน"จดหมายถึงแม่" เราจะเข้าใจว่า ทำไมเขาเขียนหนังสือเจ้าชายน้อยได้ลึกซึ้ง ถ่ายทอดตัวละครเจ้าชายน้อยออกมาได้ใจทุกคน 

การอ่านจดหมายถึงแม่ เหมือนการต่อจิกซอว์ชีวิตเขาตั้งแต่วัย 10 ขวบ ทั้งเรื่องครอบครัว ความคิด ความสัมพันธ์ การต่อสู้ดิ้นรน การทิ้งความฝัน และความผิดหวัง "

และนี่คือ เจ้าชายน้อยในตัวแซ็งเต็งซูเปรี แม้ผู้แปลจะช่วยต่อจิกซอว์เรื่องนี้ แต่ผู้อ่านก็ต้องค้นหาเจ้าชายน้อยในตัวเอง